วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การส่งเสริมความสามารถในการสะท้อนคิดของนิสิตครูที่มีระดับความรู้พื้นฐานในการออกแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันโดยใช้แนวทางการศึกษาผ่านบทเรียน

Fostering Reflective Thinking Skills of Preservice Teachers with Different Levels of Learning Design Basic Knowledge through Lesson Study Guidelines


บทคัดย่อ

การสะท้อนคิดเป็นอีกสิ่งที่สำคัญที่ต้องฝึกฝนสำหรับนิสิตครูเพราะการสะท้อนคิดเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพครูจากประสบการณ์ตนเอง การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับคุณภาพความสามารถในการสะท้อนคิดของนิสิตครูที่มีระดับความรู้พื้นฐานในการออกแบบการเรียนรู้แตกต่างกันที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการศึกษาผ่านบทเรียน โดยเป็นการศึกษาการสะท้อนคิดแบบร่วมมือร่วมใจซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือการสะท้อนคิดตนเองและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเป็นนิสิตครู ชั้นปีที่ 4 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการศึกษาผ่านบทเรียน แบบสัมภาษณ์แบบกี่งโครงสร้าง แบบบันทึกอนุทิน และแบบทดสอบความรู้พื้นฐานในการออกแบบการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพของความสามารถในการสะท้อนคิดตนเองและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อนของนิสิตครูที่มีระดับความรู้พื้นฐานในการออกแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันนั้นไม่มีความแตกต่างกันโดยมีคุณภาพระดับที่ 3 การให้ข้อคิดเห็นเชิงลึกพร้อมข้อเสนอแนะ โดยมีคะแนนเฉลี่ยการสะท้อนคิดตนเองของนิสิตครูกลุ่มสูง ปานกลาง และต่ำ เป็น 13.25 13.16 และ 11.40 ตามลำดับ และความสามารถในการให้ข้อมูลย้อนกลับมีคะแนนเฉลี่ยเป็น 10.50 10.75 และ 10.20 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพยังชี้ให้เห็นว่าความรู้ความเข้าใจเชิงลึกและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการสะท้อนคิดด้วย

 

Abstract

            Reflective practice is acknowledged as a significant component in the process of teaching professional development since it is a self-development process. This study aimed to identify the levels of how the implementation of lesson study guidelines for preservice teachers with different essential knowledge backgrounds for learning design facilitated by the quality of reflection in its participants. The collaborative reflection was embedded in the lesson study guidelines. Self-reflection and peer feedback were investigated in this study. The study sample consisted of 29 fourth year science teacher students selected by purposive sampling technique. The research instruments were lesson study guidelines, semi-structured interviews, the learning journals, and the multiple-choice test of essential basic knowledge for learning design. The qualitative data were content analyzed into categories and themes. On the other hand, the quantitative data were analyzed with descriptive statistics for mean, and standard deviation. The findings revealed that the quality of both self-reflection and peer feedback of preservice teachers who had different levels of basic knowledge for learning design were not statistically different. All of them were defined to the third level (Level 3: Insightful Comments and Suggestions) of reflective thinking. The mean scores of the self-reflection teacher-student groups of high, medium and low were 13.25, 13.16, and 11.40 respectively. Meanwhile, the peer feedback’s mean scores of three groups, high, medium and low in self-reflective ability levels were 10.50, 10.75, and 10.20 respectively. Moreover, the qualitative data indicated that the in-depth understanding and prior experience related to the learning design had noticeable effects on the quality of reflective thinking.

Download in PDF (780.36 KB)

How to cite!

กัญญารัตน์ โคจร (2566). การส่งเสริมความสามารถในการสะท้อนคิดของนิสิตครูที่มีระดับความรู้พื้นฐานในการออกแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันโดยใช้แนวทางการศึกษาผ่านบทเรียน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(1), 1-16

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in