วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ

ผู้เขียนบทความมีข้อควรพิจารณา ดังนี้

1. ผู้เขียนบทความควรมีระยะเวลาการรอคอยสำหรับกระบวนการตรวจพิจารณาคุณภาพบทความอย่างน้อย 60-75 วัน เนื่องจาก

    -  ระยะเวลาการตรวจประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review) ทั้ง 3 ท่าน ใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน

    -  หากผลการประเมินปรากฏว่าผ่านการอนุมัติ ผู้เขียนบทความต้องมีระยะเวลาในการปรับแก้บทความตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิประมาณ 10-20 วัน

    -  กรณีต้องการหนังสือรับรองการตีพิมพ์ ทางกองบรรณาธิการฯ ใช้เวลาในการออกหนังสือประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากที่ผู้เขียนบทความนำส่งไฟล์บทความที่ปรับแก้เรียบร้อยแล้ว

2. ผู้เขียนบทความไม่สามารถขอแก้ไข/เลื่อนเวลากำหนดการตีพิมพ์ โดยเมื่อกองบรรณาธิการฯ ได้ออกหนังสือรับรองการตีพิมพ์ไปแล้ว กำหนดการตีพิมพ์บทความต้องเป็นไปตามนั้น

3. บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ผู้เขียนบทความนำส่งเข้ารับการพิจารณากับทางวารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต ทั้งบางส่วนหรือทั้งหมด ต้องไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณา หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น

4. เพื่อรักษาคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการ บทความที่ส่งเข้าพิจารณาจะต้องผ่านการตรวจสอบความซ้ำซ้อนด้วยโปรแกรม Turnitin โดยผลการตรวจสอบจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ซึ่งหมายความว่าเนื้อหาของบทความต้องไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับงานวิจัยอื่น ๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อนเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

5. ผู้เขียนบทความต้องไม่กระทำการใดๆ อันอยู่ในขอบข่ายของการละเมิดจรรยาบรรณทางวิชาการ อาทิเช่น การคัดลอกผลงานทางวิชาการของบุคคลอื่น (plagiarism) ทั้งส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด รวมถึงการคัดลอกผลงานทางวิชาการของตนเอง (self-plagiarism) โดยการนำบางส่วนในผลงานครั้งก่อนของตนเองมาใช้ซ้ำให้ดูเสมือนกับเป็นงานที่เขียนใหม่ โดยไม่ระบุว่าเป็นงานที่ปรากฏในที่อื่นมาแล้ว

 

การจัดเตรียมต้นฉบับ

1. เป็นต้นฉบับที่ไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นมาก่อน บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนี้แล้ว ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

2. ต้นฉบับควรมีความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 เนื้อเรื่องมีความสมบูรณ์ในฉบับ และควรพิมพ์หน้าเดียว

3. สามารถตีพิมพ์บทความได้ 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

4. พิมพ์ต้นฉบับด้วยโปรแกรม Microsoft Word และ จัดพิมพ์ด้วยฟอนต์ TH Sarabun New ขนาดตัวอักษร 14pt

5. แจ้งรายละเอียดของ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ ชื่อหน่วยงานหรือสถาบัน ที่สังกัด และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ อย่างครบถ้วนและถูกต้อง 

6. รายละเอียดของต้นฉบับที่เป็นบทความวิจัย ให้เรียงลำดับตามหัวข้อ ต่อไปนี้

    -  บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ ทางภาษาก่อนส่งมายังกองบรรณาธิการ

    -  คำสำคัญ (Keywords) มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ควรเกินอย่างละ 5 คำ

    - บทนำประกอบด้วย ความเป็นมา/ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ในการวิจัย

    - นิยามคำศัพท์เฉพาะ

    - วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วิธีการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ขอบเขตการวิจัย แผนงานและระยะเวลาทำการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้

    - ผลการศึกษา (ถ้าเป็นตารางให้เขียนชื่อตารางกำกับไว้ที่ส่วนบนของตาราง ถ้าเป็นรูปภาพให้เขียนชื่อรูปภาพ กำกับไว้ที่ส่วนล่างของรูปภาพ)

    - อภิปรายผลการศึกษา

    - ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

    - กิตติกรรมประกาศ

    - รายการอ้างอิง

 7. รายละเอียดของต้นฉบับที่เป็นบทความวิชาการ ให้เรียงลำดับตามหัวข้อ ต่อไปนี้

    - บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ ทางภาษาก่อนส่งมายังกองบรรณาธิการ

    - คำสำคัญ (Keywords) มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ควรเกินอย่างละ 5 คำ

    - บทนำ     

    - เนื้อเรื่อง

    - บทสรุป

    - รายการอ้างอิง

 8. การเขียนรายการอ้างอิงในเนื้อหาและรายการอ้างอิงท้ายบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้ใช้รูปแบบของ APA 7th Edition (American Psychological Association)

    *  โดยรายการอ้างอิงท้ายเรื่องจะต้องเป็นรายการถูกต้องตรงกันและมีปรากฏอยู่ในส่วนการอ้างอิงในเนื้อหาเท่านั้น

 9. กรณีที่มีการกล่าวอ้าง คัดลอก ข้อความ คำพูด รูปภาพ หรือข้อมูลอื่น ๆ ไม่ว่าตอนหนึ่งตอนใดหรือทั้งหมด มาจากแหล่งใด ๆ ก็ตาม โดยไม่ระบุหรืออ้างอิงถึงที่มาอย่างถูกต้องชัดเจน เจ้าของบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบในผลงานของตนเอง

 

ช่องทางการส่งต้นฉบับเพื่อรับการพิจารณา

        ผู้เขียนสามารถส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ เพื่อเข้ารับการพิจารณาลงตีพิมพ์เผยแพร่ โดยใช้วิธีการส่งผ่านระบบ online submission ทางเว็บไซต์ jrtl.rsu.ac.th เท่านั้น โดยมีขั้นตอน ดังนี้

       1. เข้าไปที่เมนู Submissions > ส่งบทความใหม่ และทำการสมัครสมาชิกผ่าน Create a new account (กรณีเคยสมัครสมาชิกแล้ว สามารถ login เข้าสู่ระบบได้เลย)

       2. ดำเนินการการ attach file บทความ (ทั้ง ไฟล์ Microsoft Word และ ไฟล์ PDF) เข้าไปในระบบ 

           **ทั้งนี้ ผู้เขียนบทความต้องกรอกรายละเอียด ชื่อ นามสกุล สังกัด อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ ให้ครบถ้วนและถูกต้อง

       3. รอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ของกองบรรณาธิการฯ หรือ โทรแจ้งการส่งบทความต้นฉบับที่ 02-7915689 หากไม่ได้รับการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ภายใน 3 วันทำการ

       4. ห้ามมิให้ดำเนินการโอนเงินค่าธรรมเนียมใดๆ ก่อนได้รับการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

 

ค่าธรรมเนียมการตรวจพิจารณาบทความ

ค่าธรรมเนียมรวม 6,000 บาท ต่อ 1 บทความ

[มีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสถาบันและไม่ได้อยู่ในสังกัดเดียวกันกับเจ้าของบทความ เป็นผู้ตรวจพิจารณาคุณภาพบทความ (double-blind peer review)  จำนวน 3 คน]

โดยแบ่งชำระเป็น 2 งวด  ดังนี้

งวดที่ 1 จ่ายค่าธรรมเนียมการตรวจพิจารณาคุณภาพบทความ เป็นจำนวนเงิน 4,000 บาท

            * หากผลปรากฏว่าถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ (rejected) ผู้เขียนบทความไม่สามารถเรียกร้องขอค่าธรรมเนียมคืนจากทางกองบรรณาธิการฯ

            หมายเหตุ : อย่าโอนเงินค่าธรรมเนียม จนกว่าจะได้ติดต่อสอบถามรายละเอียดการตีพิมพ์และคิวการตีพิมพ์กับกองบรรณาธิการฯ มิเช่นนั้นหากต้องโอนเงินคืน กองบรรณาธิการฯ จะหักค่าธรรมเนียมในการโอนคืน

งวดที่ 2 จ่ายค่าธรรมเนียมการลงตีพิมพ์เผยแพร่ หลังจากบทความผ่านการพิจารณาอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ได้ เป็นจำนวนเงิน 2,000 บาท

            กรณีที่บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ (rejected) เจ้าของบทความไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในส่วนนี้

บัญชีรับโอนเงินค่าธรรมเนียม :

            บัญชีสะสมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขามหาวิทยาลัยรังสิต

           ชื่อบัญชี: โครงการค่าบริการวิชาการสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต เลขที่บัญชี: 020-079144-0

           หลังการโอนเงิน โปรดแจ้งแก่ทางกองบรรณาธิการฯ ผ่านทางโทรศัพท์หมายเลข 02-7915689 (นางสาวการันตี ยะแสง)

           พร้อมทั้งส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่ E-mail : jrtl@rsu.ac.th (จำเป็นต้องส่งหลักฐานการโอน)

 

การตรวจพิจารณาคุณภาพบทความเพื่อลงตีพิมพ์

           บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่นำลงตีพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review) จำนวน 3 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน และไม่ได้อยู่ในสังกัดสถาบันเดียวกับผู้เขียนบทความ

 

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in