การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีรื้อสร้างและแนวคิดการโต้แย้ง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิพากษ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต
Development of an Instructional Model Based on Deconstruction Theory and Argumentation Approach to Enhance Critique Abilities of Undergraduate Students
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เสริมสร้างความสามารถในการวิพากษ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต โดยใช้ทฤษฎีรื้อสร้างร่วมกับแนวคิดการโต้แย้ง และเพื่อประเมินคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการสอน การสอนภาษาไทย และการวิพากษ์ รวมจำนวน 6 คน โดยนำรูปแบบการเรียนการสอนที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพไปทดลองนำร่องกับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนรายวิชาภาษาไทยและการสื่อสาร ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2563 ในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความสอดคล้องขององค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน และเอกสารประกอบ 2) แบบวัดและเกณฑ์การให้คะแนนของความสามารถในการวิพากษ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิพากษ์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ชวนคิด ชวนสงสัย 2) รื้อความคิด และจัดลำดับความสำคัญ 3) ตรวจสอบอย่างรอบด้าน 4) แลกเปลี่ยน โต้แย้ง แสดงเหตุผล และ 5) สร้างมุมมองของตนเอง ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.69, SD. = 0.11) ค่าดัชนี ความสอดคล้องของคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน มีช่วงเท่ากับ 0.83 - 1.00 ผลการทดลองสอนนำร่อง พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการวิพากษ์หลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนการทดลอง แสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้และความคิดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอน ผู้เรียนจะวิพากษ์และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลจนนำไปสู่การลงข้อสรุปอย่างเหมาะสมได้
Abstract
The objective of this study was to develop an instructional model based on deconstruction theory and argumentation approach to develop the critique abilities of undergraduate students and evaluate the quality of the instructional model. The sample included 6 experts in the fields of curriculum and instructional design and development, teaching the Thai Language and critiquing to assess the content validity and suitability of the instruments. The participants in the study were selected from a group of 30 students of a Thai Language and Communication undergraduate degree program. Research instruments comprised the consistency index of the instructional model’s suitability and related literature, and the critiquing ability test and scoring rubrics. Data were analyzed using mean and standard deviations. This instruction model consisted of 5 stages, namely, 1) Questioning for cognition and eliminating doubt, 2) Deconstructing ideas and arranging hierarchy, 3) Checking environmental conditions, 4) Sharing, arguing and reasoning, and 5) Creating personal perspectives. The model was found to be appropriate at the highest level (x = 4.69, SD. = 0.11) and the results were verified using an evaluation form (Item-Objective Congruence Index; IOC) was appropriate from 0.83 - 1.00. The results of the pilot study found that the score for critique abilities exceeded that prior to the experiment. This showed that when the students were able to make connections between new ideas and prior knowledge by performing various activities in each step of the instructional model, they could critique and express their opinions rationally, leading to more appropriate conclusions.
Keywords
รูปแบบการเรียนการสอน; ทฤษฎีรื้อสร้าง; แนวคิดการโต้แย้ง; ความสามารถในการวิพากษ์; นักศึกษาปริญญาบัณฑิต; Instructional model; Deconstruction theory; Argumentation approach; Critique abilities; Undergraduate students
How to cite!
สุธิญา พูนเอียด, วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า, & ชาริณี ตรีวรัญญู. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีรื้อสร้างและแนวคิดการโต้แย้ง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิพากษ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(2), 188-205
Indexed in