วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

Design and Development of the Experimental Kit for Limiting Reagent Study Using a Smartphone

การออกแบบและพัฒนาชุดการทดลอง เรื่อง การศึกษาสารกำหนดปริมาณโดยใช้สมาร์ทโฟน


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสร้างชุดทดลองและทดสอบประสิทธิภาพของชุดทดลองเรื่อง การศึกษาสารกำหนดปริมาณโดยใช้สมาร์ทโฟน โดยมีกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 2 กลุ่ม คือ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี จำนวน 10 คน และนักศึกษาหลักสูตร
ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 26 คน สำหรับทดสอบประสิทธิภาพของชุดทดลองตามลำดับ โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของชุดการทดลองนี้พบว่า ความเข้มข้นของสารตั้งต้นสองชนิดคือ สารละลายเหล็ก (III) ไนเตรท (Fe(NO3)3) และสารละลายโพแทสเซียมไทโอไซยาเนต (KSCN)มีค่าเท่ากับ 0.0020 โมลาร์ ชนิดความเข้มสีที่เหมาะสมในการวิเคราะห์สารละลายเหล็ก (III) ไทโอไซยาเนต (FeSCN2+) จากภาพถ่ายด้วยโปรแกรมในสมาร์ทโฟนคือ ความเข้มสีน้ำเงิน ระยะห่างที่เหมาะสมจากสมาร์ทโฟนถึงแท่นวางสารในการถ่ายภาพคือ 30-40 เซนติเมตร สำหรับชนิดของสมาร์ทโฟนและชนิดของโปรแกรมวิเคราะห์ความเข้มสีให้ผลการทดลองที่ไม่แตกต่างกัน โดยผลการทดสอบประสิทธิภาพพบว่ากราฟระหว่างความเข้มสีน้ำเงินของ FeSCN2+และปริมาตรของ KSCN ที่เขียนโดยนักศึกษาสามารถใช้ระบุสารกำหนดปริมาณได้ร้อยละ 80 และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักศึกษาต่อชุดทดลองนี้มีค่าเท่ากับ 4.05 ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

Abstract

The objective of this research was to study the optimum condition and the efficiency of the limiting reagent experiment kit using a smartphone. Two groups of the subjects; 10 undergraduate students from chemistry major and 26 undergraduate students from general science education major, selected by purposive sampling technique, were used to determine the developed test kit efficiency, respectively. The data were statistically analyzed by percentage, means and standard deviation.The result for the optimum condition for the experimental kit design presented that the suitable concentration of reactants; Fe(NO3)3 and KSCN, was 0.0020 M. The blue intensity was the best correlation color for product analysis. The suitable distancefrom smartphone to platform holder for the good result picture capture was 30-40 cm. The types of smartphone and color analysis program showed the same result which was not significantly different. For the efficiency results, the percentage of graph between the blue color of FeSCN2+ and volume of KSCN plotted by students that correctly specified the limiting agent was 80 and the learning satisfaction of the students was at 4.05 which was on the very satisfied level.

Download in PDF (478.79 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2020.13

How to cite!

Boonmee, A., NuntapornMoonrungsee, N., & SunisaSuwancharoen, S. (2563). การออกแบบและพัฒนาชุดการทดลอง เรื่อง การศึกษาสารกำหนดปริมาณโดยใช้สมาร์ทโฟน. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 14(1), 177-188

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in