การพัฒนาจินตมยปัญญาของเยาวชน ด้วยการตั้งคำถามจาก กิจกรรมชีวิต
Development of Youth Reflective Thinking Wisdom Daily from Life Activities Self - Questioning
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อหาแนวทางพัฒนาจินตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการรู้คิดพิจารณาไตร่ตรองโดยสร้างชุดคำถามกิจกรรมชีวิต และศึกษาผลการใช้ชุดคำถามกิจกรรมชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเยาวชนที่สมัครใจจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 28 คน ใช้การทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Design) แบบ One-Group Pretest-Posttest Design โดยสร้างสิ่งทดลอง (Treatment) คือ ชุดคำถามกิจกรรมชีวิต ซึ่งเป็นคำถามที่ฝึกตนเองให้คิดพิจารณา ไตร่ตรอง โดยให้เยาวชนเป็นผู้ตั้งและตอบคำถามจากกิจกรรมชีวิตจริงของเยาวชนเอง เยาวชนทำชุดคำถามกิจกรรมชีวิตนี้ ในเวลาที่สะดวกของแต่ละวันต่อเนื่องเป็นเวลา 14 วัน เพื่อให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตัวแปรตาม คือ ระดับจินตมยปัญญาของเยาวชน วัดแบบให้เยาวชนประเมินปัญญาที่เกิดจากการคิดด้วยตนเอง (Self -Assessment) โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจินตมยปัญญามีค่าความเชื่อมั่น .78 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคของ Jame H.Millan and Sally Schumacher
ผลการวิจัยพบว่าชุดคำถามกิจกรรมชีวิตส่งผลให้เห็นความแตกต่างของระดับจินตมยปัญญาของเยาวชน ดังข้อมูลที่พบว่าจากกิจกรรมชีวิต 26 กิจกรรม มีถึง 21 กิจกรรมที่ความคิดของเยาวชนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางถูกต้องตามทำนองคลองธรรม และผลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพก็สนับสนุนข้อค้นพบดังกล่าว โดยพบว่าเยาวชนคิดพิจารณาไตร่ตรองในการตั้งคำถาม – คำตอบในกิจกรรมชีวิตตามเนื้อหาการคิดที่กำหนดไว้ตามหลักสัมมาสังกัปปะด้วยตนเอง รู้จักคิดจำแนกถูก – ผิด ดี – ชั่ว คุณ – โทษ ประโยชน์ – มิใช่ประโยชน์ ต่อการดำเนินกิจกรรมชีวิต จึงสรุปได้ว่าชุดคำถามกิจกรรมชีวิตสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาจินตมยปัญญาให้แก่เยาวชน
Abstract
This research aimed 1) to discover a way of developing Jintamayapanya - the reflective thinking wisdom - from daily life activities self-questioning and 2) to study its effects.
The target group was the 28 youth volunteers selected by the technique of purposive sampling from Thammasart University and Rangsit University. The One-Group Pretest-Posttest design was employed for data collection. The research instrument was a set of exploratory daily life activities self-questions which engaged the youth in reflective thinking through considering, questioning, and answering themselves about what was right or wrong, good or bad, moral or immoral, and useful or not useful. Volunteers were expected to do life activities self-questioning at their convenient time during a period of 14 days continually. Dependent variable was the level of reflective thinking wisdom of the youth measured by self-assessment and by using the Jintamayapanya questionnaire with a reliability coefficient equal to 0.78. Quantitative data was analyzed by the method of frequency and percentage, while the qualitative data was analyzed by using the technique of Jame H. Millan and Sally Schumacher.
The research findings revealed that the treatment had an effect on the change of Jintamayapanya of the youth. From 21out of 26 self-questions, improvement of the reflective thinking of the youth were found in the tendency toward self-righteousness and were supported by qualitative analysis. Based on the Buddhist Samma Sankappa, they expressed their profound consideration on the content during practicing the self-questions. They were able to judge about right and wrong, good or bad, moral or immoral, and useful or not useful in their life. Thus, we concluded that daily life activities self-questions could be used as a way to develop reflective thinking wisdom in youth.
How to cite!
อรุณรัตน์ เทพฉิม, สมสุดา ผู้พัฒน์, & ปิยะพงษ์ ไสยโสภณ. (2558). การพัฒนาจินตมยปัญญาของเยาวชน ด้วยการตั้งคำถามจาก กิจกรรมชีวิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 9(2), 80-94
Indexed in