วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรีตามการรับรู้ของครูผู้สอน

Factors Affecting Creative Thinking in Primary Students as Perceived by Teachers in Chonburi Province


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนในจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยตัวแปรด้านนักเรียนได้แก่ ความจำและสติปัญญา แรงจูงใจ อารมณ์ บุคลิกภาพ ด้านโรงเรียนได้แก่ วิธีการสอนของครู บรรยากาศที่ดีในโรงเรียน กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้านครอบครัว ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูประถมศึกษาที่สอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ในสังกัดการประถมศึกษาขั้นพื้นฐาน จ. ชลบุรี และสังกัดโรงเรียนเมืองพัทยา รวม 296 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถามความคิดสร้างสรรค์สำหรับครูที่สอนชั้นประถมศึกษา เพื่อสร้างสมการถดถอยพหุคูณทำนายความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าสมการถดถอยพหุคูณที่สร้างได้สามารถทำนายความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอนในจังหวัดชลบุรีได้ถึงร้อยละ 79.2 ตัวแปรอารมณ์ (EMO) ตัวแปรบุคลิกภาพ (PER) ตัวแปรวิธีการสอนของครู (TET) ตัวแปรบรรยากาศที่ดีในโรงเรียน (SEN) และตัวแปรกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ (CTA) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ (CTA) สามารถทำนายได้มากที่สุดเท่ากับ .205 รองลงมาคือ ตัวแปรวิธีการสอนของครู (TET) เท่ากับ .204 ตัวแปรอารมณ์ (EMO)  เท่ากับ .156 และตัวแปรบุคลิกภาพ (PER) เท่ากับ .152 ตัวแปรบรรยากาศที่ดีในโรงเรียน (SEN) เท่ากับ .13

Abstract

The purpose of this research were (1) to study factors affecting creative thinking in primary students as perceived by teachers; and (2) to formulate multiple regression equation for students creative thinking. The factors consisted of 3 aspects: a) student aspect including four variables, Memory and Intelligent (MEI), Motivation (MOT), Emotion (EMO), Personality (PER); b) school aspect including 2 variables, Teaching Technique (TET), School Environment (SEN), Creative Thinking Activity (CTA) and c) family aspect including Democratic parenting (DEP).  By Multistage Random Sampling, the samples which comprised of the 296 primary teachers were randomly drawn from the teachers under the supervision of Basic Education Commission of Chonburi Province and Pattaya primary schools, in the second semester of the academic year 2013. The research instrument was a questionnaire in order to collect data necessary for formulating multiple regression equation to predict the students’ creative thinking.  
    The result indicated that, the regression equation could predict creative thinking of primary students as perceived by teachers up to 79.2 %. The statistical significance level of the Emotion, Personality, Teaching Technique, School Environment, and Creative Thinking Activity were at 0.01. The two first variables that affected students’ creative thinking according to priority of significance were as follows: Creative Thinking Activity (.205), followed by Teaching Technique (.204), while Emotion, Personality, and School Environment were significant at .156,.152,  and .137 respectively.

Download in PDF (271.82 KB)

How to cite!

ภัทราวดี มากมี, วิริยะ ผดาศรี, & Seesamai Douangmany. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรีตามการรับรู้ของครูผู้สอน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 9(2), 44-55

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in