วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาและตรวจสอบโมเดลการวัดพหุระดับความสุขส่วนตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

The development and validation of a multilevel measurement model of undergraduate students’ personal happiness at Vongchavalitkul University


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดพหุระดับความสุขส่วนตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดพหุระดับความสุขส่วนตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ปีการศึกษา 2555 จำนวน 400 คน (แบ่งกลุ่มตามอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละคน จำนวน 24 คน) เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสุขส่วนตน ทำการวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s Product Moment) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ (Multi-Level Confirmatory Factors Analysis : MCFA) โดยใช้โปรแกรม SPSS และใช้โปรแกรม Mplus ผลการวิจัยสรุปได้ว่า

1) การพัฒนาโมเดลการวัดพหุระดับความสุขส่วนตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในระดับนักศึกษาและระดับอาจารย์ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ 4 ตัวแปร ได้แก่ สภาพจิตใจ สมรรถภาพของจิตใจ ความพอใจในชีวิต และความสุขสงบทางใจ โดยในระดับนักศึกษาค่าสัมประสิทธิ์น้ำหนักองค์ประกอบ (ᵦ) ในรูปคะแนนมาตรฐานที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ ความสุขสงบทางใจ (ᵦ=0.77) รองลงมาได้แก่ ความพอใจในชีวิต (ᵦ=0.76) และสภาพจิตใจ (ᵦ=0.52) ตามลำดับ ส่วนในระดับอาจารย์มีความสำคัญมากที่สุดคือ ความพอใจในชีวิต (ᵦ=0.99) รองลงมาได้แก่ ความสุขสงบทางใจ (ᵦ=0.89) และสมรรถภาพของจิตใจ (ᵦ=0.85) ตามลำดับ

2) โมเดลการวัดพหุระดับความสุขส่วนตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมีความตรงเชิงโครงสร้างสามารถวัดได้ทั้งระดับนักศึกษาและระดับอาจารย์ และมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าสถิติไคสแควร์เท่ากับ 16.36, df = 10, p-value = 0.09, CFI = 0.98, TLI = 0.973, RMSEA = 0.040, SRMRw = 0.01, SRMRb = 0.18 และตัวแปรสังเกตมีค่าสหสัมพันธ์ภายในชั้น (ICCS) อยู่ระหว่าง 0.06-0.12

Abstract

This research aimed to develop and validate a multilevel measurement model of undergraduate students’ personal happiness at Vongchavalitkul University. By Multistage Random Sampling, the research samples which comprised of the 400 participants with 24 corresponding teachers were randomly drawn from the undergraduate students at Vongchavalitkul University in the academic year 2013. The research instrument was a personal happiness self-evaluation questionnaire. By using SPSS and Mplus, the collected data were analysed by means of descriptive statistics, Pearson’s product moment correlations, Multilevel confirmatory factor analysis (MCFA). The results showed that
1) The multilevel measurement model of the personal happiness composed of 4 important indicators i.e., mind condition, mind efficiency, life satisfaction, and mind tranquility. For the student level, the factor loadings of the mind tranquility, the life satisfaction, and the mind condition were 0.77, 0.76, and 0.52, respectively, and all of them were statistically significant at the level 0.01. For the teacher level, the factor loadings of the life satisfaction, the mind tranquility, and the mind efficiency were 0.99, 0.89, and 0.85, respectively, and all of them were statistically significant at the level 0.01 as well.
2) The multilevel measurement model had construct validity and was consistent with empirical data in both student and teacher levels: Chi-square goodness of fit=16.36, df=10, p-value=0.09, CFI=0.98, TLI=0.97, RMSEA=0.04, SRMRw=0.01, SRMRb=0.18, and Intraclass correlations (ICCs) located among 0.06-0.12.

 

Download in PDF (303.58 KB)

How to cite!

ณัฐนันท์ วารีเศวตสุวรรณ, เอกพงศ์ แพ่งกุล, ณัฐชัย วงศ์ศุภลักษณ์, & ภัทราวดี มากมี. (2558). การพัฒนาและตรวจสอบโมเดลการวัดพหุระดับความสุขส่วนตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 9(2), 26-43

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in