วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การใช้สื่อการสอนของอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ ศึกษาสำหรับกรณีสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Instructional Media Used by Lecturers of The Faculty of Business Administration, Case Study of Human Resource Management Program, Rangsit University


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการใช้สื่อการสอนของอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ ศึกษาสำหรับกรณีสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อ 1.ประเภทของสื่อที่ใช้ในการสอนของอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ ศึกษาเฉพาะกรณีสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์   มหาวิทยาลัยรังสิต 2.การใช้สื่อการสอนของอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ ศึกษาเฉพาะกรณี สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์   มหาวิทยาลัยรังสิต 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของนักศึกษาที่มีต่อการใช้สื่อการสอนของอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ ศึกษาสำหรับกรณีสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์   มหาวิทยาลัยรังสิต  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี  คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 132 คน  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ข้อมูลร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วย t-test และ การวิเคราะห์ความความแปรปรวนทางเดียว (Anova) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของตัวแปรตลอดจนข้อเสนอแนะของนักศึกษา แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตารางประกอบการบรรยาย

            ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อการสอนประเภทวัสดุและสื่อประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์โดยรวม ว่าเป็นสื่อที่ทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจมาก  ส่วนสื่อประเภทวิธีการสอนและเทคนิคการสอนโดยรวม นักศึกษามีความเห็นว่าเป็นสื่อที่ทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจมากที่สุด  นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อการสอนของอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ  สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์  มหาวิทยาลัยรังสิตมากที่สุด  ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประเภทของสื่อการ

สอนที่นักศึกษามีความคิดเห็นว่าทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจโดยภาพรวม เมื่อจำแนกตามเพศ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ประเภทของสื่อการสอนที่นักศึกษามีความคิดเห็นว่าทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจโดยภาพรวม เมื่อจำแนกตามเพศ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนประเภทของสื่อการสอนที่ทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจ โดยภาพรวม เมื่อจำแนกตามระดับชั้นปีการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และประเภทของสื่อที่ใช้ในการสอนของอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ  สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์  มหาวิทยาลัยรังสิต กับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้สื่อการสอนของอาจารย์ มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

 The purposes of this research were: (1) to study the students’ opinion toward the types of instructional media of lecturers of Business Administration : a case study  of Human Resource Management Major, Rangsit University; (2)  to examine the students’ opinion toward instructional media of  lecturers of Business Administration, : a case study  of Human Resource Management Major, Rangsit University; (3) to find students’ recommendation on instructional media of lecturers of Business Administration, : a case study  of Human Resource Management Major, Rangsit University. The sample of this study was 132 undergraduate students majoring in Human Resource Management, Faculty of Business Administration, Rangsit University. The data were analyzed by SPSS/PC+  to find statistics, e.g., percentage, means, standard deviation, T-test  and One-Way Anova data analysis of variance for significant test. The data were presented in table with description.

 

The findings revealed students’ opinion toward materials and equipment media usage; overall, those media help  facilitate learning to be more interesting. The students perceived method teaching and in-class activities the most interesting media. Besides, they were most satisfied with instructional media used by lecturers of Human Resource Management Major, Faculty of Business Administration, Rangsit University. For hypothesis testing, there was  no significant difference at 0.5 between genders in terms of instructional media which students perceived as it could promote leaning by making it be more interesting.

The analysis of data hypothesis has shown that, overall, there is no significant difference at 0.5 between genders in terms of media perceived to help facilitate learning to be more interesting. There was significant difference at 0.5 among students with different year levels in terms of media that support learning to be more interesting.  Moreover, there is significant relationship at 0.1 between types of media used by lecturers of Human Resource Management Major, Faculty of Business Administration, Rangsit University, and students’ satisfaction toward instructional media used by the lecturers.

Download in PDF (251.05 KB)

How to cite!

สมิตา กลิ่นพงศ์ (2558). การใช้สื่อการสอนของอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ ศึกษาสำหรับกรณีสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 9(1), 121-135

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in