การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนโดยใช้หลักธรรมาภิบาล
Development of Private Primary School Management Model by Implementing Good Governance Principles
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจความคิดเห็นการใช้หลัก ธรรมาภิบาลในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน (2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนโดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านหลักความโปร่งใส และหลักความคุ้มค่าและ (3) นำเสนอรูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนโดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านหลักความโปร่งใสและหลักความคุ้ม ค่าในการปฏิบัติงานของโรงเรียน การออกแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่สถิติพื้นฐานคือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้จัดการหรือผู้รับใบอนุญาต หัวหน้าฝ่ายและครูของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จากการเลือกแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 28 โรงเรียน จำนวน 108 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์และ 3) แบบสังเกตผลการวิจัย จากการสำรวจความคิดเห็นพบว่าการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลสามารถนำมาใช้ในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนได้ หลักที่มีความสำคัญมากที่สุดคือหลักความโปร่งใส และ หลักความคุ้มค่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนโดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านหลักความโปร่งใสและความคุ้มค่าประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า กล่าวคือ แผนกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาตัวบ่งชี้หลักธรรมาภิบาลด้านความโปร่งใสและความคุ้มค่าและเกณฑ์ในการดำเนินภารกิจของโรงเรียน 4 ด้านได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบริหารทั่วไป ด้านการเงิน งบประมาณ และด้านบุคคล ส่วนปัจจัยด้านกระบวนการ ประกอบด้วยกิจกรรม 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมให้ความรู้ กิจกรรมมอบหมายงาน กิจกรรมติดตามช่วยเหลือ และกิจกรรมประเมินผล
Abstract
The objectives of this study were (1) to survey opinions towards the implementation of good governance principles in the management of private primary schools (2) to develop a private school management model using good governance principles of transparency and value for money, and (3) to present a school management model by implementing good governance principles of transparency and value for money in the operation of private primary schools. The research design was a mixed method of quantitative and qualitative. Descriptive statistics was used in analyzing data. The informants in this study consisted of school managers or licensees, heads of departments, and teachers in private primary schools under Office of the Private Education Commission, Office of Pathumthani Primary Educational Service Area 1, who were selected by purposive sampling, totaling 108 participants. The four instruments used in collecting data were 1) questionnaire 2) interview questions 3) observation form, and 4) the developed private primary school management model implementing good governance principles of transparency and value for money.
The results of the data analysis revealed that the good governance principles could be implemented in private primary schools management, especially the Transparency and Value for Money principles. The developed private primary school management model implementing the Transparency and Value for Money principles could be explained by system model which consisted of two factors: input and process. Input comprised strategic plan, indicators of Transparency and Value for Money principles and criteria for the four main functions of the school, i.e., academic, finance and budget, general management, and personnel: And process comprised four activities, namely Training, Assignment, Mentoring and Evaluation.
How to cite!
ศิริพันธ์ เกตุไชโย, & มานิต บุญประเสริฐ. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนโดยใช้หลักธรรมาภิบาล. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 8(2), 27-34
Indexed in