ระบบบันทึกการเข้าสอนของอาจารย์และการเข้าเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยี RFID มาพัฒนาร่วมกับระบบฐานข้อมูลโดยผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาระบบบันทึกการเข้าสอนของอาจารย์และการเข้าเรียนของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี โดยระบบจะบันทึกเวลาโดยตรวจสอบกับตารางเรียนและตารางสอนซึ่งเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศของสำนักทะเบียนและประมวลผล จากนั้นระบบทำการบันทึกข้อมูลลงในบัตร RFID Tag Card ของอาจารย์ผู้สอนและของนักศึกษา โดยใช้ความถี่คลื่นสัญญาณย่าน 13.56 MHz หรือในระยะห่าง 10 เซนติเมตร โดยระบบงานเป็นแบบ Client Application และ Web Application สถานที่ที่ติดตั้งระบบ RFID คือ ประตูห้องเรียนตรงทางเข้าและทางออกของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยอาจารย์ผู้สอนสามารถดูการบันทึกเวลาเข้าสอนและเวลาเข้าเรียนของนักศึกษา เมื่อนำระบบไปติดตั้งใช้งานจริงพร้อมทั้งทำการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับดีมาก ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยนักศึกษา พบว่า ระบบมีประสิทธิภาพดี ทำงานได้ถูกต้อง ผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ผู้สอน พบว่า อาจารย์ผู้สอนมีความพึงพอใจในระดับดี และผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจในระดับดีเช่นกัน
Abstract
The objective of the research was to integrate RFID technology to the Attendance Recording System constructed by the researcher, in order to record attendances of both lecturers and students, in Bachelor of Science Program, Department of Computer Technology at Nakorn Sri Thammarat Rajabhat University. The system collected entry and exit times of lecturers and students according to their timetable which was linked to electronic register system of the Registrar Office. At the same time, the system recorded data on their RFID Tag Cords, by using 13.56 MHz frequency or 10 centimeter of distance. Developed as a client and a web application, the RFID system was installed inside and outside the lecture rooms, computer rooms and labs, and was used for monitoring every subject of the faculty. Lecturers were able to view their attendances and those of the students.
In terms of efficiency, the system was evaluated by students who reported that it was efficient and accurate at a good level. And it was found that both lecturers and students were satisfied with the system at a good level.
How to cite!
ธรรมสันต์ สุวรรณ์โรจน์ (2557). ระบบบันทึกการเข้าสอนของอาจารย์และการเข้าเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 8(1), 95-113
Indexed in