วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การประเมินโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสังคมพหุวัฒนธรรม ล้านนา-รัตนโกสินทร์


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสังคมพหุวัฒนธรรมล้านนา-รัตนโกสินทร์ ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 160 คน ใช้แบบประเมินเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) for Windows โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการประเมินมีดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบประเมิน พบว่า เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่สังกัดคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีสถานภาพเป็นนักศึกษามากที่สุด รองลงมา คือ เจ้าหน้าที่และอาจารย์
2. การประเมินโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสังคมพหุวัฒนธรรม ล้านนา-รัตนโกสินทร์ พบว่า ผู้ตอบแบบประเมินมีความคิดเห็นเกี่ยวโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสังคมพหุวัฒนธรรม ล้านนา-รัตนโกสินทร์ ในทุก ๆ ด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 4.33 เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านบริบทมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.59 รองลงมา คือ ด้านผลผลิต ที่ค่าเฉลี่ย 4.43 และด้านกระบวนการ ที่ค่าเฉลี่ย 4.25 และด้านปัจจัยนำเข้า ที่ค่าเฉลี่ย 4.04 ตามลำดับ

Abstract

This evaluation research aimed to evaluate Lanna-Ruttanakosin multicultural knowledge sharing project by using CIPP model. The sample group was 160 teachers, officials and students from the faculty of Communication Arts of Rangsit University and from the faculty of Mass Communication of Chiang Mai University.
The findings showed that:
1. Most of the respondents were male students from the faculty of Mass Communication of Chiang Mai University, while officials and teachers came secondly.
2.Respondents rated their overall agreement with the projecf at a high level (mean = 4.33). When considering each topic of the questionnaire, respondents reported their highest satisfaction with the environment where the project took place (mean = 4.59). Secondly and thirdly, they were satisfied with products and process of the project, respectively (mean = 4.43, 4.25), while input items were among those for which they expressed least satisfaction (mean = 4.04).

Download in PDF (354.97 KB)

How to cite!

จิระศักดิ์ สาระรัตน์, & ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์. (2557). การประเมินโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสังคมพหุวัฒนธรรม ล้านนา-รัตนโกสินทร์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 8(1), 25-36

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in