การออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐาน TQF สำหรับการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาในระบบทางไกล
บทคัดย่อ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้กำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (THAI QUALIFICATIONS FRAMEWORK FOR HIGHER EDUCATION-TQF : HEd) เพื่อแสดงถึงคุณภาพ ของบัณฑิตเมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ให้มีคุณภาพเทียบเคียงกัน ทั้งในสถาบัน การศึกษาที่จัดการศึกษาแบบปกติ และสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาระบบทางไกล สาระสำคัญส่วนหนึ่งที่มีการกำหนดไว้ ในกรอบมาตรฐานฯ คือ คุณสมบัติด้านการเรียนรู้และมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้านของบัณฑิต ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ 5) ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในคุณสมบัติด้านการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านนี้ การเรียนรู้ ด้านทักษะทางปัญญา มีลักษณะเป็นทักษะกระบวนการจึงมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจาก การเรียนรู้ ด้านความรู้ การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะทางปัญญา จึงมีลักษณะเฉพาะที่ผู้สอนจำเป็นต้อง ทำความเข้าใจเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และ จัดการวัดและประเมนิผลได้อย่างถูกต้อง
ผู้สอนสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางปัญญาของผู้เรียนได้ โดยเริ่มต้นจากการ ทำความเข้าใจคำที่แสดงพฤติกรรมทักษะทางปัญญาหรือทักษะ การคิดซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นคำว่า คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง คิดอย่างมีวิสัยทัศน์และอื่นๆ ผู้สอนต้อง ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ขั้นตอนการปฏิบัติ และตัวบ่งชี้พฤติกรรมของการคิดแต่ละประเภท เพื่อนำขึ้นตอน การปฏิบัติมาเป็นแนวทางออกแบบกิจกรรม คำสั่ง/คำถามให้ผู้เรียน ได้ลงมือปฏิบัติและใช้ตัวบ่งชี้พฤติกรรมของการคิด เป็นแนวทางในการกำหนดเกณฑ์การประเมนิพฤติกรรม หรือผลงานของผู้เรียนที่แสดงพฤติกรรมการคิดนั้น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบทางไกล มีความตระหนักในความสำคัญ ของการจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติตามกรอบมาตรฐานฯ ได้ใช้ช่องทางในการจัดกิจกรรมหลายช่องทาง ได้แก่ กิจกรรมที่เป็นเอกสาร กิจกรรมการปฏิบัติเมื่อมีการเผชิญหน้า และกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ รวมถึงการใช้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษาได้รับการฝึกฝน เพื่อให้มีคุณภาพการเรียนรู้ด้าน ทักษะปัญญาอย่างเต็มที่
Abstract
Office of higher Education Commission has designed Thai Qualifications framework 2008 for higher education (TQF: HEd) to present the standard of students after graduated from various educational insti- tutes. Even though they study from different universities but the standards of the universities are almost equivalent. Thai Qualifications framework has divided learning qualification and the standard study result of the graduates into 5 domains which are 1) Ethical and moral development 2) knowledge 3)cognitive skill 4) interpersonal skill and responsibility and 5) analytical and communication skill. Among 5 domains above, cognitive skill is a process skill, so it is different from the others. The management of teaching and learning in this skill is very unique and teachers have to learn until they understand clearly and will be able to use it as a guideline to do classrooms activities designed along with measurement and evaluation process.
Till teachers are capable to design classroom activities to support cognitive skill, they have to begin by learning the definitions of the words which are related to cognitive skill and thinking skill. Those words are analytical thinking, synthesis - type thinking, critical thinking, creative thinking, reflective thinking and vision- ary thinking and so on. Teachers also have to be able to understand the meaning, operating processes and behavior Indicator of each thinking skill. Therefore, teachers will be able to apply the processes to design classroom activities and exercises for the students by using behavior Indicator to do the evaluation and to observe the students' behavior according to each thinking skill.
Sukhothai Thammathirat Open University is a distance learning system University. The main objective of the university is to produce qualified graduates according to the qualification framework through a number of integrated media such as visual and, reading materials (textbooks-workbooks), face-to-face instruction and guidance, radio and television programs and computer-assisted instruction and e-learning. So students can practice through a variety of instructional activities to achieve the cognitive skill effectively.
How to cite!
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ (2555). การออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐาน TQF สำหรับการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาในระบบทางไกล. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 6(2), 7-28
Indexed in