วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชา MTH353: เทคนิคทางปรสิตวิทยาการแพทย์

Development of E-learning Courseware Media of MTH 353 : Techniques in Parasitology


บทคัดย่อ

การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชา MTH353 : เทคนิคทางปรสิตวิทยาการแพทย์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชา MTH353 เทคนิคทางปรสิตวิทยาซึ่งออกแบบ สำหรับนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิตใน 12 เรื่องแบ่งเป็น 2 ตอน (2ซีดี) โดยใช้โปรแกรม Adobe Presenter 6 และมีวีซีดีซึ่งตัดต่อโดยโปรแกรมU-leadและได้นำไปทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาปี 4 คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิตโดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ (ตอนที่ 1 จำนวน 71 คนและตอนที่ 2 จำนวน 77 คน)และประเมินความพึงพอใจต่อสื่อโดยนักศึกษาทั้งหมดและผู้ทรงคุณวุฒิทางปรสิตวิทยา5ท่านจากผลการประเมินสื่อหลังชมสื่อตอนที่ 1 ( คะแนนเฉลี่ย = 48.7 ) และตอนที่ 2 ( คะแนนเฉลี่ย = 36.0 )ซึ่งสูงกว่าก่อนการชมสื่อตอนที่ 1 ( คะแนนเฉลี่ย = 23.8) และตอนที่ 2 ( คะแนนเฉลี่ย = 14.4 )อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.05 )

 

ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาตอนที่ 1 พบว่าความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมากในเรื่องของสื่อสามารถช่วยให้มีความเข้าใจได้มากขึ้น ( ค่าเฉลี่ย = 4.81 ) ตอนที่ 2 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมากในด้านขั้นตอนการนำเสนอที่เข้าใจง่ายทันสมัย ( ค่าเฉลี่ย = 5 ) ส่วนความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญในตอนที่1พบว่าพึงพอใจในด้านการออกแบบหน้าจอสีพื้นภาพเคลื่อนไหววีซีดี ( ค่าเฉลี่ย = 4.2 ) ในตอนที่ 2 พึงพอใจมากที่สุดในเรื่องความครบถ้วนของเนื้อหาสามารถใช้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ( ค่าเฉลี่ย = 4.6 ) และพบว่ายังต้องปรับปรุงสื่อในด้านความถูกต้องของตัวหนังสือ ( ค่าเฉลี่ย = 3.76 ) ความชัดเจนของเสียงบรรยายการให้น้ำเสียงเน้นความสำคัญของเนื้อหาและความน่าสนใจของเสียงประกอบ ( ค่าเฉลี่ย = 3.4 )

Abstract

 The purposes of the study were to develop and evaluate the efficiency of computer assisted instruction lesson for the course "Techniques in Parasitology" (MTH 353), as alter- native of instructional media for the Medical Technology students of Rangsit University. The content, including 12 topics, was divided into 2 parts (2 CDs). Adobe presenter version 6 and U-lead were used in the developing process before implementing the media with the subjects, fourth-year Medical Technology students of Rangsit University.  The effectiveness of the courseware were evaluated through pre-test and post-test (n = 71 for the first part and n = 77 for the second part), and the satisfaction was also evaluated by both the

subjects and 5 parasitological experts.

 

         The result showed that the post-test mean scores of the first part (23.8) were higher than those of the pre-test (48.7). Also, the post-test mean scores of the second part (14.4) were higher than those of the pre-test (36.0) with a statistically significant difference at 0.05. The students' satisfaction towards the first part of the treatment was very high in terms of "facilitating understanding" (mean = 4.81). And for the second part, the subjects rated the item "up-to-date presenting technique" the highest (mean = 5.0).  The five experts were very satisfied with "screen design" in part one as they rated it the highest (mean = 4.2). And the item receiving the highest scores from the expert group was "completeness of content" (mean = 4.6). The second and third highest items were "literal correctness" (mean = 3.76) and "clarity of sound" (mean = 3.4) respectively. 

 

Download in PDF (124.24 KB)

How to cite!

สิริมา กิจวัฒนชัย (2554). การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชา MTH353: เทคนิคทางปรสิตวิทยาการแพทย์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 5(1), 29-39

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in