วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ผลของการจัดการให้นักศึกษามีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยการทำโครงงานในวิชาปฎิบัติการเคมีอินทรีย์ 2

Self Study by Project Based Learning in Organic Chemistry Laboratory 2


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีารศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยการทำโครงงานในวิชาปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ 2 ศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อการพัฒนาของนักศึกษาที่ผ่านการทำโครงงานในวิชานี้กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ 2 ในภาคเรียนที่ 1/2550 จำนวน 237 คนโดยการใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่ผ่านการทำโครงงานแล้วซึ่งได้ทำการประเมิน 2 ด้านได้แก่ 1.การพัฒนาด้านความรู้ 2. การพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมและศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อการพัฒนาของนักศึกษาที่ผ่านการทำโครงงาน 4 ด้านได้แก่ 1. ด้านความรู้ 2. ด้านความคิด 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและ 4. ด้านการพัฒนาตนเองของนักศึกษาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ จากผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการพัฒนาด้านความรู้โดยมีค่าระดับเฉลี่ยรวม 4.14(S.D.0.64) อยู่ในระดับพึงพอใจมากและในการศึกษาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของความพึงพอใจในการพัฒนาความรู้แต่ละข้อโดยใช้ค่าไคสแควร์พบว่า ข้อ 1 การทำโครงงานทำให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้จากวิชาเคมีอินทรีย์มีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันกับข้ออื่นๆได้แก่ความสามารถในการตั้งสมมุติฐานการคิดและวิเคราะห์ปัญหาการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการทดลองรวมทั้งการนำเสนอปัญหาและแนวคิดในการพัฒนาต่อยอดโครงงานและพบว่า ข้อ 2 การทำโครงงานทำให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้จากวิชาปฏิบัติการเคมีอินทรีย์มีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันกับข้ออื่นๆได้แก่ความสามารถในการออกแบบการทดลองเพื่อหาคำตอบจากสมมุติฐานที่ตั้งไว้การใช้อุปกรณ์สารเคมีและเครื่องมือที่เหมาะสมในการทดลองการนำเสนอปัญหาและแนวคิดในการพัฒนาต่อยอดโครงงานความสามารถนำพืชหรือสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทางวิชาการและความสามารถในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นหรือจากภูมิปัญญาชาวบ้านได้สำหรับการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาในด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมพบว่ามีค่าระดับเฉลี่ยรวม 4.29(S.D.0.69) ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ในการศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์ผู้สอนที่มีต่อพัฒนาการของนักศึกษาที่ได้ผ่านการทำโครงงานแล้วพบว่าในการพัฒนาด้านความรู้มีค่าระดับเฉลี่ยรวม 4.52(S.D.0.69) อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดในการพัฒนาด้านความคิดมีค่าระดับเฉลี่ยรวม 4.38(S.D.0.65) อยู่ในระดับพึงพอใจมากในการพัฒนาด้านคุณธรรมและจริยธรรมมีค่าระดับเฉลี่ยรวม4.70(S.D.0.62) อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดและในด้านการพัฒนาตนเองของนักศึกษามีค่าระดับเฉลี่ยรวม 4.70(S.D.0.62) อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดเช่นกันจากผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่าการทำโครงงานในวิชาปฏิบัติการเคมีอินทรีย์2 ทำให้นักศึกษามีความพึงพอใจมากต่อการพัฒนาตนเองทั้งในด้านความรู้และด้านคุณธรรมจริยธรรมและโดยภาพรวมอาจารย์ผู้สอนมีความพึงพอใจมากถึงมากที่สุดต่อการพัฒนาของนักศึกษาดังนั้นจะเห็นได้ว่าการพัฒนานักศึกษาโดยการทำโครงงานเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพดียิ่งทำให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาได้รอบด้านทั้งความรู้และคุณธรรม

Abstract

The aims of this research were to study the satisfaction of undergraduate students towards their project-based learning in organic chemistry laboratory and to study the lecturer satisfaction towards students' development through this experiment. The sample was the 237 of the second year of pharmaceutical students that registered this course in the first semester of 2007. Method of study was carried out through appreciate feedback of the satisfaction poll from the student who already undertaken the project based on two categories, including 1) the knowledge development system and 2) the moral and ethics improvements. Meanwhile, four main categories of their 1) knowledge, 2) initiative, 3) moral and ethics, and 4) selfdevelopment were tools for the evaluation of the lecturer satisfaction. The resulting data was statistically analyzed in terms of percentage (%), mean , standard deviation (SD), and chi-square.

The results from this study revealed that the students were high satisfied fortheir knowledge  development with χ = 4.14 (SD = 0.64). The study of the knowledge that, firstly, the chemistry project aided the students could build their science themes, i.e. write a hypothesis, thinks and solve problems, analysis and summary the resulting data, as well as make some useful suggestions for further works in the future.Secondly, the chemistry project earned directly experience to students. They could be use this experience in a number of ways, i.e. the ability to rational design of laboratory experiment in order to test the hypothesis, the ability to employ the chemicals and/or instruments appropriately, able to use the present experience for the future, to expend the local natural product for the technology applications as well as improve the local product to be valuable. The study of the satisfaction of students on their moral and ethics improvements provided a high mean value with χ = 4.29 (SD= 0.69).

In case of the study of the lecture satisfaction, the student development on their knowledge was given in a highest result with χ of 4.52 and SD of 0.69. The idea-development was in high satisfaction with χ of 4.38 and SD of 0.65. The morality and ethics improvements were also in high level with χ of 4.70 and SD of 0.62. Finally, self-development was resulted also similarly in high satisfied with χ of 4.70 and SD of 0.62. In summary, this project, however, so called "learning by doing", was very successfully for the students in terms of knowledge, morality, and ethics developments. The project was also in agreement and satisfaction for the lecturers.

Download in PDF (198.31 KB)

How to cite!

อรพรรณ ทองประสงค์, & หฤทัย ฐานนันท์. (2553). ผลของการจัดการให้นักศึกษามีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยการทำโครงงานในวิชาปฎิบัติการเคมีอินทรีย์ 2. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 4(1), 5-17

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in