วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

พฤติกรรมการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรมของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Computer Learning Behaviors of Students at Faculty of Industrial Technology Nakhon Si Thammarat Rajabhat University


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนวิชาคอมพิว-เตอร์ในงานอุตสาหกรรมของนักศึกษาคณะเทคโน-โลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรี-ธรรมราช จำแนกตามเกรดเฉลี่ยสะสม ระดับชั้น เพศรายได้ของครอบครัวต่อเดือน และการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 5 ด้านคือ ด้านความมีวินัยในตนเอง ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน ด้านความรับผิดชอบในการจัดเก็บอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และด้านการศึกษาเพิ่มเติมผ่านอินเทอร์เน็ต เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยหาค่าสถิติคือ ค่าเฉลี่ย ( ÷ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test) และค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว(One-Way ANOVA)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. พฤติกรรมการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรมของนักศึกษาด้านความมีวินัยในตนเอง ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน ด้านความรับผิดชอบในการจัดเก็บอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ด้านการศึกษาเพิ่มเติมผ่านอินเทอร์เน็ต และภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง

2. นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมต่างกันมีพฤติกรรมการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งภาพรวมและรายด้าน

3. นักศึกษาแต่ละสาขาวิชา มีพฤติกรรมการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ทั้งภาพรวมและรายด้าน ยกเว้น ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และด้านการศึกษาเพิ่มเติมผ่านอินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างกัน

4. นักศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีพฤติกรรมการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม ไม่แตกต่างกันทั้งภาพรวมและรายด้าน ยกเว้น ด้านความมีวินัยในตนเอง และด้านการศึกษาเพิ่มเติมผ่านอินเทอร์เน็ต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. นักศึกษาที่มีระดับรายได้ชองครอบครัวต่อเดือนต่างกัน มีพฤติกรรมการเรียนวิชาคอม-พิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม ไม่แตกต่างกันทั้งภาพรวมและรายด้าน

6. นักศึกษาที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านต่างกัน มีพฤติกรรมการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม ไม่แตกต่างกันทั้งภาพรวมและรายด้าน ยกเว้น ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนวิชาดังกล่าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05  ผู้วิจัยได้นำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรมของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาห-กรรมในกลุ่มดังกล่าวและในปีการศึกษาถัดไป

Abstract

This research was aimed to study and compare computer learning behaviors of students at Faculty of Industrial Technology Nakhon Si  Thammarat Rajabhat University classification by  cumulative grade point average(GPA), levels of education, gender, family income and own computer. The samples on this research were 317 students of 1st semester 2007 by stratified random sampling technique. The instrument used in this research was questionnaires. There were classified into five parts which were discipline, participation in classroom, colleague's relationship, arrangement the equipment responsibility and getting knowledge by using internet. The reliability of the questionnaire was 0.85. The data were analyzed by statistical package program with average, standard deviation, t-test and  variance (One-way ANOVA). The results of the

research were the following:

1. Computer learning behaviors of student in discipline, colleague's relationship, arrange the computer equipment responsibility and getting knowledge by using internet and overall were at high level except participation in classroom was at moderate level.

2. The students with different cumulative GPA had computer learning behaviors statistically  significant different on the overall aspect  and each aspect at .05.

3. The students with different level of  education had computer learning behaviors different  on the overall aspect and each aspect; expect participation in classroom and getting  knowledge by using internet not different.

4. The students with different gender had no different computer learning behaviors on the overall aspect and each aspect, expect  discipline and getting knowledge by using internet different.

5. The students with family income had no different computer learning behaviors on the  overall aspect and each aspect, expect.

6. The students with different own computer  had no different computer learning behaviors  on the overall aspect and each aspect,  expect colleague's relationship different.  The result of this research used for managementin classroom

Download in PDF (198.04 KB)

How to cite!

ธรรมสันต์ สุวรรณ์โรจน์ (2552). พฤติกรรมการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรมของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 3(2), 45-59

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in