ความพร้อมของนักศึกษาต่อการเรียนระบบ e-Learning
The Students’ Readiness to Study in e - Learning
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความพร้อมของนักศึกษาตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการเรียนการสอนระบบ e-Learning โดยการเก็บข้อมูลจากนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต รวม 21 คณะ จำนวน 1,075 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม Cluster Sampling
ผลการศึกษาพบว่า
มีนักศึกษาตอบแบบสอบถามทั้งหมด จำนวน 993 คน คิดเป็นร้อยละ 92.37 ของประชากรทั้งหมด นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 32.17 ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ e-Learning ผ่านทางเว็บไซต์ ในด้านความสนใจ นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 63.10 สนใจที่จะเรียนในระบบ e-Learning โดยมีการค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์เป็นบางเวลาเท่านั้น และนักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ61.90 มีความสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในระดับปานกลาง นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 30.60 มีการเข้าถึงข้อมูลและพึงพอใจต่อเว็บไซต์ e-Learning อยู่ระดับปานกลางและนักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 38.20 ไม่เคยค้นหาแผนการเรียนทางอินเทอร์เน็ต และพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 78.40 ไม่เคยอ่านสาระสำคัญของวิชาต่างๆ และไม่เคยทำการสอบผ่านทางอินเทอร์เน็ต ด้านความเข้าใจในการเรียนระบบ e-Learning นั้น นักศึกษาส่วนใหญ่มีความเข้าใจระดับปานกลาง จากผลทดสอบความรู้เกี่ยวกับ e-Learning มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.81 จาก 10 คะแนน
ด้านความต้องการและคาดหวังในการเรียนระบบ e-Learning นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 54.50 ยังไม่แน่ใจในความต้องการดังกล่าว ทั้งนี้นักศึกษาร้อยละ 39.90 ต้องการเรียน โดยระบบการเรียนแบบ e-Learning เป็นเพียงช่องทางเพิ่มเติมการเรียนในชั้นเรียนมากกว่าเป็นช่องทางทดแทนการเรียนในชั้นทั้งหมด
ส่วนปัจจัยส่งเสริมในการเรียนระบบ e-Learning นักศึกษาเห็นว่า ลักษณะเนื้อหาและสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสนับสนุนระดับมาก รองลงมาคือ ปัจจัยด้านผู้เรียน ผู้สอนตามลำดับส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อม เช่น จำนวนคอมพิวเตอร์ ประสิทธิภาพของอินเทอร์เน็ต บุคลากรสนับสนุนการเรียนในห้องปฏิบัติการ และการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยได้จากทุกที่นั้น เป็นอุปสรรคในระดับมากเมื่อทำการทดสอบความสัมพันธ์ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้น ผลการวิเคราะห์พบว่า นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในคณะที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอนระบบ e-Learning แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ทราบเรื่องการจัดตั้งศูนย์ และนโยบาย เป็น e-University ผ่านทางเว็บอาจารย์ สารรังสิต เพื่อนและสื่ออื่นๆ เช่น โทรทัศน์ เป็นต้น โดยพบว่า นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์มีความสนใจมากกว่าคณะอื่น ๆ รองลงมา คณะบริหารธุรกิจ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เป็นต้น
ส่วนระดับความเข้าใจในการเรียนระบบ e-Learning อยู่ระดับปานกลาง นักศึกษาแต่ละคณะมีความต้องการและคาดหวังในการเรียนระบบ e-Learning ไม่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่นักศึกษายังไม่แน่ใจในความต้องการเรียนระบบ e-Learning แต่หากจะมีการเรียนการสอนด้วยระบบ e-Learningนักศึกษาส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะใช้การเรียนระบบ e-Learning เป็นเพียงช่องทางเสริม หรือเพิ่มเติมการเรียนในชั้นเท่านั้น
จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอการบริหารจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning โดยแยกเป็น 3 ระดับคือ
(1) ระดับมหาวิทยาลัย ควรให้ความสำคัญในการจัดทำแผนกลยุทธ์อย่างชัดเจน ทั้งนี้จากผลการศึกษา ควรมีการแยกกลุ่มนักศึกษาที่จะเรียนด้วยระบบ e-Learning ออกจากนักศึกษากลุ่มที่ต้องการเรียนในชั้นเรียนอย่างชัดเจน นั่นคือ มุ่งหานักศึกษากลุ่มเป้าหมายใหม่ที่ต้องการเรียนแบบ e-Learning และรับนักศึกษาเหล่านั้นแยกระบบการเรียนการสอนออกจากนักศึกษาปกติ ซึ่งน่าจะเกิดความสะดวกในการบริการการศึกษา และเป็นการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายและจำนวนนักศึกษาได้อีกด้วย
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยควรจัดให้มีผู้รับผิดชอบและทำงานประสานกัน มีกระบวนการที่จะทำให้การสอนด้วยระบบ e-Learning ส่งผลสัมฤทธ์ิ ได้แก่ การกระตุ้นให้คณะและอาจารย์เกิดความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การจัดอบรม เทคนิคต่างๆ ในการออกแบบสื่อการเรียน การกำหนดระยะเวลาที่เป็นเป้าหมายที่จะวัดผลสำเร็จของการเรียนตามแผนกลยุทธ์
(2) ระดับคณะ การสำรวจความเหมาะสมในการเรียนแต่ละวิชา การทดลองใช้กับนักศึกษาจริงและติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
(3) ระดับนักศึกษา มีการกระตุ้นให้นักศึกษาติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษาผ่านทางอินเทอร์เน็ต การรับแผนการเรียน การสอบย่อย ส่งการบ้าน ส่งรายงาน และการศึกษาด้วยตนเองในบางหัวข้อผ่านเว็บไซต์ที่อาจารย์ผู้สอนจัดเตรียมไว้ ทั้งนี้มีการกำหนดเป็นจำนวนสัปดาห์ตามแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย
ในส่วนปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต บุคลากรสนับสนุน และการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยได้อย่างสะดวกและปัจจัยด้านอาจารย์ผู้สอน ได้แก่ ความสามารถจัดทำสื่อ การติดตามการเรียน ความเข้าใจระบบ e-Learning ซึ่งสิ่งเหล่านี้มหาวิทยาลัยควรจะให้ความสำคัญและมีการปรับปรุงอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง รวมถึงส่งเสริมให้อาจารย์มีความเข้าใจการเรียนการสอนระบบ e-Learning ที่จะนำไปสู่การพัฒนาสื่อการสอนในระบบ e-Learning และการก้าวสู่ e-University ตามแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
Abstract
The objectives of the research were to explore the readiness of Rangsit University's students to study in the e-Learning system and also to study on their opinions on the problems and obstacle factors to the e-Learning system. The data of this survey research has been collected from 1075 students of 21 faculties of Rangsit University. The sampling technique was the cluster sampling. The sample number was 993 students or equal to 92.37% of the whole population.
The research results were as follow:
There were 32.17% of the samples who knew about the establishment of the e-Learning Center via the website. 63.10% of samples were interested in studying in the e-Learning system and usually searched out some information about their subject's registered via the website. 61.90% has capability to use the internet at a fair level. 30.60% of samples had access to the e-Learning website and had been fairly satisfied by the e-Learning website.
The research found that 38.20% of samples never searched out information about the course syllabus via the internet. 78.40% of samples neither read the subjects' contents nor conducted the test via the internet.
Moreover, the research result pointed out that most of the samples only fairly understood the e-Learning system. The evaluation mean score was at 7.81.
According to the need and the expectation on the e-Learning system, 54.50% of samples were not sure to study with e-Learning system. Due to this number, 39.90% desired to study via e-Learning as an additional channel to the in-class system rather than to study with e-Learning system as a whole system.
The research also found that the most important support factors were subjects’ contents and the possibility to have good access to the internet, including a sufficient quantity of computers and computers labs. The second support factor was the students and the instructors.
The research found many obstacles (1) environmental factors such as a sufficient quantity of computers and computer labs, (2) the efficiency of internet system, (3) The lack of labs' staffs and (4) the anywhere and anytime access to the internet.
Based on the hypothesis testing, the research found relationship between the research variables as follow.
Students studying in different faculties had different access to the information about the e-Learning. Additionally, students from the faculty of arts had the highest level rate of interest to study with the e-Leaning system, the following is the students from the faculty of business administration, faculty of nurse and faculty of pharmacy. However, there were no statistical difference in the need and the expectation to study in the e-Learning system. The research suggestions on the administration of e-Learning system are as follow:
To conduct the e-Learning system, the university should provide a three-dimensions administration. First dimension is the university, second dimension is the faculties and colleges and the last dimension is the students’ level.
1) At the university level: Rangsit University should conduct the strategic plan in order to seperate the target groups into two sections. The first group is the students in the e-Learning program and the second is the ones in the in-class system with additional of e-Learning system as a support device. To seperate the students target groups is easier to conduct the marketing plan for the new enrollments. Moreover, the university can provide educational facilities coping with the students targets.
This strategic plan should lead to the action plan to encourage all of the lecturers to understand the e-Learning mission of the university. In addition, the university should conduct the training programs to support lecturers in making e-Learning program.
2) At the faculty level, all faculties should explore how many subjects can be executed in the e-Learning system. If all subjects in the whole curriculum are concerned, the faculty can provide the e-Learning system for the new enrollments as a separate group of students. On the contrary, if there are only some subjects that can be executed in the e-Learning system, the faculty can only apply the e-Learning as the support device for the in-class system.
To administrate the e-Learning system, the faculty should implement the whole cycle: explore the subjects, conduct the supplementary for the on-line courses, conduct the pilot test, and evaluate the programs.
3) To conduct the e-Learning programs, the present students should be encouraged to contact with advisors via internet. Moreover, they must be required to take the examinations, hand- in reports and homework via the internet.
In case of new enrollments who require to study in the e-Learning system, students should interact with the lecturers and their classmates to have access to the knowledge and achieve the course objectives.
Based on the research findings, there are some problems and obstacles such as (1) The insufficiency of computers, (2) the efficiency of the internet and (3) the supporting staffs. Rangsit University should improve these infrastructures. Some problems come from lecturers; Rangsit University must organise e-Learning intensive training for the lecturers.
How to cite!
วิภาดา คุปตานนท์, & มุกดา โควหกุล. (2551). ความพร้อมของนักศึกษาต่อการเรียนระบบ e-Learning. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 2(1), 82-99
Indexed in