วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาทักษะการเขียนสารคดีโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรี

Feature Writing Skill-Development by Participatory Action Research in Learning Process for Under Graduated Students


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ ได้ดำเนินการตาม "หลักการวิจัยชั้นเรียน" คือ เน้นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและหาแนวทางที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ซึ่งปัญหาสำคัญที่ต้องการแก้ไขคือ "ผู้เรียนขาดทักษะการนำไปใช้" จึงประยุกต์ใช้ทฤษฎีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ได้แก่ แนวคิดเรื่อง "การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)" มาใช้ในวงการศึกษา โดยนำกระบวนการ PAR ของ Horton และ Zacharakis-Jutz ซึ่งมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ Study > Reflection > Action มาเป็นเครื่องมือในการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนทุกบทเรียน หลังจากนั้น ผู้สอนได้วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นการจากการเรียนการสอนดังกล่าว ใน 3 ด้าน คือ (1) ประเมินผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน ด้วยผลคะแนนจากแบบฝึกหัดท้ายบท (2) วัดความพึงพอใจของผู้เรียนด้วยแบบวัดความพึงพอใจที่เป็นข้อคำถามอัตนัย และ (3)วัดทักษะการนำไปใช้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ใน 5 มิติ ได้แก่ 3.1) วิเคราะห์จากผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน 3.2) วิเคราะห์จากเหตุผลที่ผู้เรียนพึงพอใจ 3.3) วิเคราะห์จากงานที่ผู้เรียนได้รับมอบหมาย 3.4) วิเคราะห์จากโครงการฝึกปฏิบัติ และ 3.5) วิเคราะห์จากการประเมินตนเอง สุดท้ายจึงได้สรุปถึงผลการวิจัยด้านกระบวนการว่า กระบวนการ PAR เหมาะกับการนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือไม่รวมถึงเหมาะกับเนื้อหา ผู้เรียน ผู้สอน และวิธีการสอนลักษณะใดมากที่สุด

ผลการวิจัยพบว่า

(1) ผลการวิจัยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน: หลังจากผ่านการเรียนการสอนด้วยกระบวนการ PAR ผู้เรียนส่วนใหญ่เกิดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนระดับ "ดีมาก"

(2) ผลการวิจัยด้าน ความพึงพอใจ: ผู้เรียนส่วนใหญ่ พึงพอใจการเรียนการสอนด้วยกระบวนการ PAR

(3) ผลการวิจัย ด้านทักษะการนำไปใช้: เมื่อวิเคราะห์จากผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน พบว่าผู้เรียนเกิดทักษะการนำไปใช้ในระดับ "มาก" และเมื่อวิเคราะห์จากเหตุผลที่ผู้เรียนพึงพอใจ พบว่าผู้เรียนเกิดทักษะการนำไปใช้ "มากที่สุด" ในขณะเดียวกัน เมื่อวิเคราะห์จากงานที่ผู้เรียนได้รับมอบหมายพบว่า ผู้เรียนเกิดทักษะการนำไปใช้ในระดับ "ดี" ส่วนผลการวิเคราะห์จากโครงการฝึกปฏิบัติก็พบว่า ผู้เรียน"เกิดทักษะการนำไปใช้ในเชิงลึก" และสุดท้าย เมื่อวิเคราะห์จากการให้ผู้เรียนประเมินตนเอง ปรากฏว่า ผู้เรียน "เกิดทักษะการนำไปใช้อย่างแท้จริง"

(4) ผลการวิจัยด้านกระบวนการ: กระบวนการ PAR สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเพิ่ม "ทักษะการนำไปใช้" ให้กับผู้เรียนได้ดี โดยลักษณะเนื้อหาที่เหมาะสมกับกระบวนการ PAR คือไม่ซับซ้อน หรือรวบรัดเกินไป และหากมีเนื้อหาเชื่อมโยงกัน ต้องทำให้ผู้เรียนเข้าใจตั้งแต่ต้น ส่วนลักษณะผู้เรียนที่เหมาะสมกับกระบวนการPAR คือ เข้าเรียนสม่ำเสมอ รู้จักการทำงานเป็นทีม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมถึงมีวินัย และมีความรับผิดชอบสูง ทั้งนี้จำนวนผู้เรียนในชั้นเรียนต้องไม่มากเกินไป สำหรับลักษณะกิจกรรมในช่วง “ศึกษา”(Study) ที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน ได้แก่ การศึกษาจากเอกสารก่อนแล้วค่อยสรุปบทเรียน เป็นวิธีการที่ผู้เรียนชื่นชอบ และยังทำให้เกิดผลสัมฤทธ์ิค่อนข้างดี และหากมีบางบทเรียนที่ต้องเรียนซ้ำ ผู้สอนจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเนื้อหาและเอกสารบ้าง ผู้เรียนจึงจะพึงพอใจ สุดท้าย ข้อควรคำนึงสำหรับผู้สอนที่จะนำกระบวนการ PAR ไปใช้ในชั้นเรียน คือ ทำความเข้าใจหลักการของกระบวนการ PAR ก่อนแล้วค่อยนำไปใช้ให้บรรลุเป้าหมายที่เหมาะสม การวางแผนกิจกรรมต้องสอดคล้องกับปัญหาที่ต้องการแก้ไข และสอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียน นอกจากนี้ จะต้องมีความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียน อีกทั้ง การกำหนดเครื่องมือในการประเมินผลด้านต่างๆต้องชัดเจนและควรจะทำทุกระยะ เพื่อจะได้เห็นพัฒนาการของผู้เรียน รวมถึงต้องเป็นคนช่างสังเกตและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดเวลา

Abstract

This research combined both social sciences' research theories called "Participatory Action Research (PAR)" with educational field that's "Classroom Research" which emphasized on problem solving systematically and finding the path to develop a better learning process. The main problem which needed to be solved was students’ lack of "Applied Skill". PAR process (Study-Reflection-Action) was used as a tool to form a new learning formation for each and every lesson. After that, the instructor analyzed the results in 3 issues; (1) assess students' achievement by ranking the score from end-of-lesson exercise (2) evaluate students' satisfaction by questionnaires (3) evaluate students' applied skill in 5 different dimensions which were 3.1) the result from students' achievement assessment 3.2) the result from students' satisfaction evaluation 3.3) the score from assignments 3.4) the result from field trip assessment 3.5) the result from self-assessment. Finally, the research found out whether PAR process is suitable for learning as well as kind of the students, instructor and contents of lessons.

The results of this research were

(1) Students' achievement: After they participated in Learning Process by PAR method, most of their achievement was in the rank of "excellent".

(2) Students' satisfaction: Most of the students were quite satisfied by PAR Learning Process.

(3) Students' applied skills: The research discovered that their applied skills were in the rank of "good" which analyzed from students' achievement assessments. In case of analysis from students' satisfaction questionnaires, most of the students have their applied skills in the rank of "excellent". Moreover their skills were in the rank of "good" in case of assignments' scores. Finally, most students could develop their applied skills "deeply" and "practically" according to field trip assessments and self-assessments.

(4) Learning process results: PAR method could be used in learning process to increase students' applied skills. The content of lesson which suited for PAR shouldn't be too complex or too short. In case of contents’ relation between two lessons the instructor had to make the students understand the previous lesson so clearly before going to the next lesson. Moreover, the students who suited for PAR method should have high responsibility, discipline, and be a good team-worker. In addition, the activity in "Study" step which suited for learning process by PAR method was document-learning before making conclusion of the lesson because most of the students were satisfied by this activity and it brought about their high achievement. However, if some lessons needed to be re-learned, the instructor should makea change in documents or activities so that the student’s would be satisfied. Finally, there were 5 consideration points for the instructor who would like to use PAR in classroom; (1) make a clear understanding in the principle of PAR before planning learning process, (2) be sure that learning activity in "Study" step should go along with objective of the lesson and be flexible (3) be ready to adjust the activity to suit most of the students, (4) tools and evaluation form should be precise (5) be a good observant person and motivator.

Download in PDF (291.26 KB)

How to cite!

ศิริพร กิตติวรากูล (2551). การพัฒนาทักษะการเขียนสารคดีโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 2(1), 63-81

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in