การศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษของโรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2549
The Study of Special Children's Behavior at Mahasarakham University Demonstration Primary School 2006
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กออทิสติก และเด็กสมาธิสั้น และเพื่อศึกษาแนวทาง การให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มตัวอย่างได้มาแบบเจาะจง จากผลการประชุมกลุ่มและระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างกรณีศึกษาของ นักเรียนโรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบทดสอบความสามารถในการรับและแปลผล (2) แบบสำรวจปัญหาการเรียนรู้เฉพาะด้าน (3) แบบจำแนกพฤติกรรมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กออทิสติกและเด็กสมาธิสั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต สัมภาษณ์ และการใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลประกอบกับการระดมสมอง (Brainstorming) การสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) การประชุมกลุ่ม (Group Meeting) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงในเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
จากการทำแบบทดสอบความสามารถในการรับและแปลผล มีนักเรียนที่มีแนวโน้มพฤติกรรมของเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD: Learning Disability) จำนวน 7 คน และ จากการทำแบบสำรวจปัญหาการเรียนรู้เฉพาะด้าน พบว่ามีนักเรียนมีปัญหาด้านการอ่าน 14 คน ด้านการเขียน 17 คน และด้านคณิตศาสตร์ 7 คน ทั้งนี้ครูผู้สอนได้ช่วยเหลือโดยจัดสอนเสริมให้นักเรียนเป็นรายบุคคลในสาระการเรียนรู้ที่นักเรียนมีความบกพร่องหลังเลิกเรียน และจัดสอนเสริมในช่วงปิดภาคให้แก่เด็กออทิสติกส่วนเด็กที่มีแนวโน้มพฤติกรรมกลุ่มเด็กออทิสติก (Autism) จากการทำแบบจำแนกพฤติกรรมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ พบว่ามีจำนวน 2 คน ในการช่วยเหลือเด็กนั้น ครูผู้สอนพยายามปรับพฤติกรรมของนักเรียนโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากขึ้น นอกจากนี้เด็กที่มีแนวโน้มพฤติกรรมกลุ่มเด็กสมาธิสั้น (ADHD: Attention Deficit Hyperactivity Disorder) จากการทำแบบจำแนกพฤติกรรมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ พบว่ามีจำนวน 15 คน ในการช่วยเหลือเด็กนั้นครูได้ช่วยเหลือเด็กให้สามารถเรียนรู้ในห้องเรียน โดยให้เด็กมานั่งใกล้ครูเพื่อจะได้ดูแลอย่างใกล้ชิดและย้ายที่นั่งไม่ให้เด็กนั่งใกล้หน้าต่างหรือประตู และยังมอบหมายให้เด็กช่วยกิจกรรมในห้องเรียนในส่วนของผู้ปกครอง หลังจากครูได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน ผู้ปกครองที่ยอมรับฟังปัญหาพฤติกรรมดังกล่าวได้พาเด็กไปให้แพทย์ตรวจสอบและ วินิจฉัย
Abstract
This study investigated behaviours of students with special needs. They were divided into three different groups, including learning disability, autism, and attention deficit hyperactivity disorder. In addition, the study explored basic ways in which these students could be assisted. The samples under the investigation were purposively selected according to the report stemming from group discussion. The report provided basic information for the preanalysis stage. The samples for this case study included twenty-four students of different grades ranging between kindergarten and sixth grade at Mahasarakham University Demonstration Primary School. The instruments were (1) a test to measure students' receptive as well as interpretive ability; (2) a survey questionnaire to examine students' with specific learning problems; (3) a form to classify behaviours of students' with special needs, including learning disability, autism, and attention deficit hyperactivity disorder. Qualitative data were gathered through observation, interview, brainstorming, group interview, and group meeting.
Through the test with emphasis on measuring students' receptive as well as interpretive ability, the findings showed that seven students were found to develop learning disability. From the survey questionnaire to examine students' specific learning problems, it was found that fourteen students had reading problem and seventeen students had writing problem. Additionally, seven students were found to have learning problem concerning mathematics. The teachers took action in assisting students individually by adding extra hours after school hours. Additional school sessions were also provided during summer to support those with autism. Two students, according to the form to classify behaviors of students with special needs, were found to develop autism and attention deficit hyperactivity disorder. The teachers arranged activities emphasizing the student's adjustment of behaviors. The activities allowed opportunities for students to facilitate students' interaction with teachers and their classmates. Based on the form to classify behaviors of students with special needs, it was found that fifteen students had attention deficit hyperactivity disorder. The results also indicated that there was cooperation between teachers and parents. The teacher, at the same time, assisted students by having them seated near the teachers, not allowing them to sit close to the window or door, and assigning them to help with classroom activities. The parents along with their children met doctors for diagnosis.
How to cite!
จตุพร เพ็งชัย, กฤตยาณี กองอิ้ม, & พรวีนัส นุ่มท้วม. (2551). การศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษของโรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2549. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 2(1), 27-37
Indexed in