วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา บุคลิกภาพประชาธิปไตย และทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ฯ แบบการใช้การวิจัยเป็นฐานและแบบปกติ

A Comparative Study of Social Studies Achievement, Democratic Personality and Group Process Skills of Mathayom Suksa One Students Among Three Groups Using Storyline, Research-Based and Conventional Instruction


บทคัดย่อ

รายงานการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้วิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์วิธีการสอนแบบการใช้การวิจัยเป็นฐาน และวิธีการสอนแบบปกติ (2) เปรียบเทียบบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ วิธีการสอนแบบการใช้การวิจัยเป็นฐาน และวิธีการสอนแบบปกติ (3) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ วิธีการสอนแบบการใช้การวิจัยเป็นฐานและวิธีการสอนแบบปกติ ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 115 คน โดยใช้แผนการสอน 3 แบบ คือ แผนการสอนสำหรับการเรียนแบบสตอรี่ไลน์ จำนวน 9 แผน แผนการสอนสำหรับการเรียนแบบการใช้การวิจัยเป็นฐาน จำนวน 10 แผน และแผนการสอนสำหรับการเรียนแบบปกติจำนวน 12 แผน ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 คาบ คาบละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพประชาธิปไตย ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.77 และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการกลุ่มซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.78 เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างจากนักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีการใช้การวิจัยเป็นฐาน มีคะแนนผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างจากนักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053. นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ มีคะแนนบุคลิกภาพประชาธิปไตยสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีการใช้การวิจัยเป็นฐาน มีคะแนนบุคลิกภาพประชาธิปไตยสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ มีคะแนนทักษะกระบวนการกลุ่มไม่แตกต่างจากนักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีการใช้วิจัยเป็นฐาน มีคะแนนทักษะกระบวนการกลุ่มไม่แตกต่างจากนักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

This study was a quasi - experimental research. The purposes of this research were (1) to compare social studies achievement of mathayom suksa one students between the group using Storyline Instruction, the group using Research - Based Instruction and the group using Conventional Instruction. (2) to compare democratic personality of mathayom suksa one students between the group using Storyline Instruction, the group using Research - Based Instruction and the group using Conventional Instruction. (3) to compare group process skills of mathayom suksa one students between the group using Storyline Instruction, the group using Research - Based Instruction and the group using Conventional Instruction. The samples were 115 of mathayom suksa one students from Chulalongkorn University Demonstration School. There were 3 sets of lesson plans : 9 daily lesson plans for Storyline Instruction, 10 daily lesson plans for Research - Based Instruction and 12 daily lesson plans for Conventional Instruction. Duration of Experiment were 6 weeks, consisted of 3 periods per week and 50 minutes per period. There were 3 sets of research instruments : Social Studies Achievement test which had reliabilities of 0.81, Democratic Personality test which had reliabilities of 0.77 and Group Process Skills test which had reliabilities of 0.78. Then, The data were compared by using t-test.

The results of this research were as follows :

1. There were no statistical differences in achievement scores at .05 level of significance between the groups of students who learned social studies by Storyline Instruction and those who learned social studies by Conventional Instruction. 
2. There were no statistical differences in achievement scores at .05 level of significance between the groups of students who learned social studies by Research - Based Instruction and those who learned social studies by Conventional Instruction.
3. The democratic personality scores of the groups of students who learned social studies by Storyline Instruction were significantly higher than the groups of students who learned social studies by Conventional Instruction at the .05 level.
4. The democratic personality scores of the groups of students who learned social studies by Research -Based Instruction were significantly higher than the groups of students who learned social studies by Conventional Instruction at the .05 level.
5. There were no statistical differences in group process skills scores at .05 level of significance between the groups of students who learned social studies by Storyline Instruction and those who learned social studies by Conventional Instruction.
6. There were no statistical differences in group process skills scores at .05 level of significance between the groups of students who learned social studies by Research- Based Instruction and those who learned social studies by Conventional Instruction.

Download in PDF (296.83 KB)

How to cite!

สมนึก ปฏิปทานนท์ (2551). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา บุคลิกภาพประชาธิปไตย และทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ฯ แบบการใช้การวิจัยเป็นฐานและแบบปกติ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 2(1), 4-26

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in