วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาและการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาวิชาชีพครู

The Development of Instructional Model Based on Cooperative Learning Theory and Critical Thinking Process to Enhance the Ability to Analyze Language Strategies and Media Literacy of Teacher-Professional Students.


วันที่ส่งบทความ: 20 ก.พ. 2566

วันที่ตอบรับ: 31 มี.ค. 2566

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2567


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาและการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาวิชาชีพครู และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาและการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาวิชาชีพครู วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development: R&D) โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน 26 คน ในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ใช้เวลาในการทดลอง 37 ชั่วโมง 30 นาที ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ส่วนของการพัฒนารูปแบบและเอกสารประกอบรูปแบบการเรียนการสอน  และเครื่องมือในการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน (R1 และ D1)  และ 2) ส่วนของการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน (R2 และ D2) ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบการสนทนากลุ่ม แบบวัดความสามารถในการวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษา แบบวัดความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบที (t-test dependent)

ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) การวัดและการประเมินผล  และ 5) ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จของการใช้รูปแบบฯ ซึ่งขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ (Preparing) ขั้นที่ 2 ขั้นให้ประสบการณ์ความรู้ (Providing Knowledge)  ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม (Practicing Group Work Experience) ประกอบด้วย 3.1 ระบุประเด็นที่สนใจ (Identify issues) 3.2 รวบรวมและทำความเข้าใจข้อมูล (Collecting and Understanding) 3.3 วิเคราะห์และตีความข้อมูล (Analyzing and Interpreting) 3.4 สรุปข้อมูล (Summarizing information) 3.5 ประเมินตัดสินคุณค่าของข้อมูล (Appraising)  ขั้นที่ 4 ขั้นสร้างสรรค์ผลงาน (Productive Creating) ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอผลงาน (Presenting) และ 6 ขั้นสรุปผลกิจกรรม (Conclusion) โดยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.67, SD = 0.54) และให้ชื่อว่า PC Model

2. ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า 2.1) ความสามารถในการวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยก่อนเรียนมีความสามารถอยู่ในระดับพอใช้และหลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก 2.2) ความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยก่อนเรียนมีความสามารถอยู่ในระดับปานกลางและหลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก และ 2.3) ความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this research were to 1) develop and determine the quality of the Instructional Model based on the cooperative learning theory and critical thinking process and 2) study the effectiveness of the Instructional Model based on the cooperative learning theory with the critical thinking process to promote the ability to analyze language strategies and media literacy in teacher-professional students. The research method is Research and Development (Research & Development: R&D) with a sample group of 26 first-year teacher-professional students in a classroom at a higher education institution. They were derived from cluster sampling using the classroom as a random unit. The time spent in the experiment was 37 hours and 30 minutes. The research process was divided into 2 phases: 1) the development of the model and supporting documentation of the instructional model with tools for evaluating the effectiveness of the instructional model (R1 and D1) and 2) the period of the study of the effectiveness of the instructional model (R2 and D2), which consisted of research tools, namely, a document analysis form, an interview form, a focus group discussion form, an assessment form to measure the ability to analyze language strategies, a media literacy ability assessment form and a satisfaction assessment form. Data were analyzed using content analysis, the arithmetic mean (M), standard deviation (SD), and t-test (dependent).     

The results showed that:

1. The developed instructional model consisted of five elements: 1) the principles of the instructional model 2) the objectives of the instructional model 3) the process of instruction 4) measurement and evaluation, and 5) factors contributing to the success of the instructional model in relation to six stages of the instructional model, which were Stage 1--Preparing, Stage 2--Providing Knowledge, Stage 3--Practicing Group Work Experience including 3.1) Identifying issues, 3.2) Collecting and Understanding,  3.3) Analyzing and Interpreting, 3.4) Summarizing information, and 3.5) Appraising, Stage 4-- Productive Creating, Stage 5--Presenting and Stage 6--Conclusion. The developed instructional model was at the highest level of appropriateness (M = 4.67, SD = 0.54), named ‘the PC Model’.

2. The results of the study of Instructional Model effectiveness showed that 2.1) the ability to analyze language strategies of teacher-professional students at the end of the course was higher than before at the statistically significant level of .05. The ability before studying was at an acceptable level and after studying was at an excellent level. 2.2) the ability of media literacy of teacher-professional students after studying was higher than before studying at the statistically significant level of .05. The ability before studying was at a reasonable level and after studying at an excellent level, and 2.3) the satisfaction of teacher-professional students after studying with the developed Instructional Model was at a superior level.

Download in PDF (1.02 MB)

How to cite!

กีรติ นันทพงษ์, & อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2567). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาและการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 196-219

References

กมลพร ทองธิยะ, และกิตติชัย สุธาสิโนบล. (2564). การพัฒนาการคิดขั้นสูง : ความสามารถทางสติปัญญาที่สำคัญในโลกยุค New Normal. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 28-44.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). ขอความร่วมมือในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรโดยคำนึงถึงการสร้างเสริมความรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กิตติพันธ์  อุดมเศรษฐ์. (2565). การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดขั้นสูง. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.prc.ac.th/wp-content/uploads/2022/05/%E0%B8 %94-new.pdf

จินตนา ศิริธัญญารัตน์, และวัชรา เล่าเรียนดี. (2563). การออกแบบระบบการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร. 

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์. (2556). การอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

จุฬารัตน์ บุษบงก์. (2561). การพัฒนารูปแบบการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (รายงานผลการวิจัย). ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ชมพูนุช จันทร์แสง. (2557). ผลของการประเมินตนเองโดยใช้วิธีสะท้อนคิดที่แตกต่างที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2564). การจัดการเรียนรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลง. นนทบุรี: เอ็มดี ออล กราฟฟิก.

ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหาและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง. (2557). การรู้เท่าทันสื่อ: ทักษะสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสารสนเทศศาสตร์,32(3), 74-91.

ธารีรัตน์ มูลเครือคำ. (2560).  การวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ที่ใช้ในพาดหัวโฆษณารถยนต์ทางหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นภาภรณ์ ยอดสิน. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาสาขาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 10(2), 168-180.

บุบผา เมฆศรีทองคำ, และดนุลดา จามจุรี. (2559). การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อ : วิถีทางในการสร้างพลังการรู้เท่าทันสื่อ.สืบค้น 23 ตุลาคม 2564, จาก www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/april.../pdf/aw8.pdf.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. (2562, 6 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง. หน้า 12.  

ภารตี โพธิ์ราม. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคตั้งคำถามตามแนวคิดของบลูม ในการส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

เรวดี ศรีสุข. (2562). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning) ในการออกแบบจัดการเรียนการสอน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี, 2(1), 5-16.

ลัดดาวัลย์ กงพลี. (2560). กระบวนการคิด. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://ge.vru.ac.th/gevru/wp-content/uploads/2017/06/3-94.pdf

วรัชญ์ ครุจิต. (2555). รู้ทันสื่อ: แนวทาง 10 ประการในการบูรณาการ “ความรู้เท่าทันสื่อ” เข้ากับการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ออฟเซ็ท พลัส.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2558). เอกสารประกอบการสอนการออกแบบการเรียนการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิภาพรรณ พินลา, และวิภาดา พินลา. (2564). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศในการสร้างพลเมืองตื่นรู้สำหรับครูสังคม. วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 16(1), 25-51.

สมจิต จันทร์ฉาย. (2557). การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง.

สมศักดิ์  ดลประสิทธิ์. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 2(1), 1-15.

สริญญา มารศรี. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์3(2), 105-122.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ:ไอเดียสแควร์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. สืบค้น20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb01.pdf

สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) เพื่อเตรียมการพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัยรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ของโลกศตวรรษที่ 21: ผลการศึกษาและแนวทางการส่งเสริม. กรุงเทพฯ: เพชรเกษมพริ้นติ้ง.  

สุรศักดิ์ ปาเฮ (2558). กระบวนทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาในยุคดิจิทัล. ขอนแก่น: แพร่ไทยอุตสาหการพิมพ์.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อุลิชษา ครุฑะเสน. (2556). แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 276-285.

อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2556). การพัฒนาทักษะการคิดระดับสูง. กรุงเทพฯ: ไอ.คิว.บุ๊คเซ็นเตอร์.

Ennis, R. H. (2011). The nature of critical thinking: An outline of critical thinking dispositions and abilities. Retrieved from https://education.illinois.edu/docs/default-source/faculty-documents/robert-ennis/thenatureofcriticalthinking_51711_000.pdf

Gagne, R. M., Wager, W. W., Golas, K. C., & Keller, J. M. (2005). Principles of instructional design (5th ed.). Connecticut: Thomson Wadsworth.

Johnson, D.W., & Johnson, F.P. (2003). Joining Together: Group Theory and Group Skills. (7th ed). New York: Peason Education.

Joyce, B., & Weil, M. (2009). Models of teaching (8th ed.). London: Pearson Education.

Paul, R., & Elder, L. (2006). The Miniature Guide to Critical Thinking. The Foundation Critical Thinking.

Slavin. (1995). Cooperative Learning (2nd ed). London: Allyn and bacon.

The national Council for Excellence in Critical Thinking. (2021). Critical Thinking. Retrieved November 2, 2021, from https://www.criticalthinking.org/pages/the-national-council-for-excellence-in- critical-thinking/406

UNESCO. (2010). Media and information literacy. Retrieved November 2, 2021, from http://www.unesco.org/webworld/en/information-literacy.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in