วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนากิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อม หัวข้อ วิกฤตขยะอาหาร ผลกระทบและแนวทางแก้ไขในรูปแบบออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

The Development of Environmental Online Camp Activity for Junior High School  Students: Food Waste Crisis, Impacts and Solutions


วันที่ส่งบทความ: 28 มี.ค. 2566

วันที่ตอบรับ: 22 พ.ค. 2566

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2567


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อม หัวข้อ “วิกฤตขยะอาหาร ผลกระทบและแนวทางแก้ไข” ในรูปแบบออนไลน์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สร้างและประเมินกิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อม หัวข้อ “วิกฤตขยะอาหาร ผลกระทบและแนวทางแก้ไข” ในรูปแบบอออนไลน์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ขั้นตอนที่ 2 ทดลองใช้กิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อมฯ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินและปรับปรุงแก้ไขกิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อมฯ ผู้เข้าร่วมการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้ทรงคุณวุฒิ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อมฯ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะอาหาร แบบประเมินความตระหนักต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากขยะอาหาร และแบบประเมินคุณภาพของกิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อมฯ ด้านความถูกต้อง(accuracy) ความเป็นไปได้(feasibility) ความเหมาะสม(propriety) และอรรถประโยชน์ (utility) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเนื้อหาเป็นการบูรณาการความรู้ระหว่างวิทยาศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ กิจกรรมการเรียนรู้กระทำผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยโปรแกรม zoom จำนวนทั้งสิ้น 3 วัน ดำเนินกิจกรรมจากสื่อการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยได้จัดเตรียมไว้บนช่องทางออนไลน์ ร่วมกับชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยจัดใส่กล่องส่งไปรษณีย์ไปให้นักเรียนที่บ้าน  มีกิจกรรม 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมวิชาการ และ กิจกรรมนันทนาการ

ผลการวิจัยพบว่า 1.กิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อมฯ มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) กิจกรรมและวัตถุประสงค์ของกิจกรรม 2) กระบวนการในการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย วงจรการเรียนรู้ กิจกรรม/พฤติกรรมที่นักเรียนปฏิบัติหน้าที่และบทบาทของทีมงานจัดค่าย 3) แหล่งทัพยากรในการเรียนรู้/สื่อการเรียนรู้ และ 4) การวัดและประเมินผล 2.กิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อมฯ ก่อนทดลองใช้มีความเป็นไปได้และความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด 3.นักเรียนมีความตระหนักต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากขยะอาหารอยู่ในระดับสูงมาก มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะอาหารฯ ในระดับดีมาก 14 คน และระดับดี 16 คน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อมฯ ระดับสูงมาก และ 4.กิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อมฯ หลังทดลองใช้มีความเหมาะสมและอรรถประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purpose of this study was to develop an environmental online camp activity for junior high school students based on the topic "Food Waste Crisis, Impacts, and Solutions."  The research was conducted using the research and development process design and was divided into three research steps: the first step was creating and evaluating the environmental online camp activity for junior high school students on the topic of "Food Waste Crisis, Impacts, and Solutions"; the second step, implementing the environmental online camp activity; and the third, validate and assessing the environmental online camp activity. The research participants were junior high school students, experts, and teachers in the subject areas of science, social science, religion, and culture. The research instruments consisted of the semi-structured interview, the satisfaction questionnaire, and the evaluation form to assess the participants’ awareness on the environmental effects caused by food waste as well as the evaluation form for assessment of the quality if the activities adopted by the camp in the aspects of accuracy, feasibility, propriety and /utility. The data collected were analyzed quantitatively by descriptive statistics, that is, percentage, mean, standard deviation, while qualitative data were analyzed by using content analysis. The content of the materials was an integration between science and economics. The learning activity was carried out via the Internet network using the Zoom application for three days in total. The activity from learning media prepared by the researcher on the online channel was carried out together with a set of activities package, which had been posted to the students at their homes. Thus, there were two types of activities in total, i.e. academic activity and recreation activity. 

The research findings revealed the following: 1. Four elements of the environmental online camp activities for junior high school students in the topic of “Food Waste Crisis, Impacts, and Solutions:” were 1) the activities and their objectives, 2) the activity process which included the learning cycle, activity/behavior of the students’ duty performance and the roles of the camp’s organizing team, 3) the learning resources and learning media, and 4) the measurement and assessment. 2. Prior to the implementation, the environmental online camp activities for junior high students on the topic of "Food Waste Crisis, Impacts, and Solutions" had the highest level of feasibility and accuracy. 3. The students displayed a high degree of awareness of the effects of food waste. 14 and 16 students, had a very high level and a good level of knowledge regarding knowledge and understanding of food waste, respectively. In addition, the students showed a very high degree of satisfaction with the environmental online camp activity for junior high school students on the topic of “Food Waste Crisis, Impacts, and Solutions.” 4. After the implementation, the environmental online camp activities for junior high school students on the topic of “Food Waste Crisis, Impacts, and Solutions” had the highest level of propriety and utility.

Download in PDF (1001.23 KB)

How to cite!

น้ำเพชร นาสารีย์ (2567). การพัฒนากิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อม หัวข้อ วิกฤตขยะอาหาร ผลกระทบและแนวทางแก้ไขในรูปแบบออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 93-112

References

ทัณฑธร จุ้ยสวัสดิ์. (2564). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเรื่องจลนศาสตร์เคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พงศธร มหาวิจิตร. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเชิงรุกในรายวิชาการประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(2), 73-90.

ภาสุดา ภาคาผล. (2565). การพัฒนารูปแบบการสอนตามทฤษฎีเชื่อมโยงความรู้ร่วมกับแนวคิดการใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองเข้มแข็งและทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีระพงษ์ พิมพ์สาร. (2562). การศึกษาไทยกับการประยุกต์ใช้ Phenomenon-Based Learning.  นิตยสาร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์, 47(220), 46-50

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2562). รายงานโครงการอบรมและสัมมนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์. สืบค้นจาก https://anyflip.com/iqojn/ghmb

หัสวนัส เพ็งสันเทียะ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของนักเรียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2), 348-365.

Daehler, K., & Folsom, J. (2016). Making Sense of Science: Phenomena-based Learning. Retrieved October 5, 2022, from http://www.WestEd.org/mss.

Kemmis, S., & Mc Taggart, R. (1988). The action research reader. Geelong Victoria: Deakin University Press.

Lahdemaki, J. (2018). Case Study: The Finnish National Curriculum 2016—A Co-created National Education Policy. In J. W. Cook (Ed.) Sustainability, human well-being, and the future of education (pp. 397-422). London: Palgrave Macmillan.

Rebecca. (2020). What is Phenomena based teaching & learning University of California. Retrieved December 10, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/371923600_Enriching_High_Scool_English_Lessons_with_Global_Citizenship_Education_Using_Phenomenon-based_Learning.

Mattila, P., & Silander, P. (Eds.). (2015). How to Create the School of the Future–Revolutionary thinking and design from Finland. Finland: Multprint.

The Partnership for 21st Century Skill. (2009). Framework for 21st Century Learning Definitions.  Retrieved  from  https://www.battelleforkids.org/wpcontent/uploads/2023/11/P21_Framework_DefinitionsBFK.pdf

Zhukov, T. (2015). Phenomenon-based Learning: What is PBL?. Retrieved July 5, 2016, from https://www.noodle.com/articles/phenomenon-based-learning-what-is-pbl.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in