การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Phenomenon-Based Learning to Develop Critical Thinking Skills and Problem Solving Skills on Climate Change for 6th Grade Students.
วันที่ส่งบทความ: 12 เม.ย. 2566
วันที่ตอบรับ: 22 พ.ค. 2566
วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหาที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ที่ได้จากการบันทึกของผู้วิจัยและครูผู้ร่วมสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจสิ่งที่นักเรียนตอบคำถามในแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา การตรวจให้คะแนนร่องรอยการบันทึกในใบกิจกรรมของนักเรียนรายบุคคลโดยตรวจคำตอบตามเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค 3 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ควรนำปรากฏการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นจริงเป็นปรากฏกการณ์ใกล้ตัวมีข้อมูลน่าเชื่อถือมากระตุ้นความสนใจเพื่อนำสู่การตั้งคำถามซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาปรากฏการณ์ การใช้คำถามของครูในลักษณะที่เป็นคำถามชวนคิดและยกตัวอย่างคำถามปรากฏการณ์อื่นที่ใกล้เคียงกับปรากฏการณ์ที่กำลังศึกษาช่วยเป็นแนวทางในการตั้งคำถามให้กับนักเรียน ลักษณะคำถามที่ใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์จะต้องเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบชัดเจนหรือเป็นนิยามศัพท์ การชี้แจงเกณฑ์ในการเลือกตัวแทนคำถามเพื่อให้ได้ประเด็นหลักนำสู่การลงมือปฏิบัติค้นหาข้อมูลหลักฐานซึ่งครูต้องออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับประเด็นปรากฏการณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลหลักฐานนำมาวิเคระห์ประเมินและตัดสินใจเชื่อมโยงอธิบายปรากฏการณ์อย่างมีเหตุผลและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาจากปรากฏการณ์ ผลการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหาในภาพรวมสูงขึ้นในแต่ละวงจรปฏิบัติการแยกตามองค์ประกอบ ดังนี้ การประเมินและตัดสินใจ ระดับมากที่สุด ร้อยละ 84.72 รองลงมา คือ การให้เหตุผล ร้อยละ 83.33 การแก้ปัญหา ร้อยละ 81.28 และการคิดอย่างเป็นระบบ ร้อยละ 76.39
Abstract
This research is an action research. The objectives of this research were to 1) investigate the guidelines of Phenomenon-based learning, which can improve students' critical thinking and problem-solving skills in topic of climate change for Secondary 6 students, and 2) study the results of students' critical thinking and problem-solving skills of students by using Phenomenon-based learning in climate change for Secondary 6 students. The sample group consisted of 24 Secondary 6 students who were enrolled in a secondary school in Nan. The research instruments included lesson plans, learning reflection, activity sheets and critical thinking and problem-solving skills assessment. The assessment was checked by experts. Data Analysis learning reflection from researcher and observe teacher’s note taking. Analyzed data from the answer students’ in critical thinking and problem-solving skills assessment and assessed individual students’ work by a scoring rubric 3 rating scale. The statistical methods used to analyze the data were mean, percentage, and content analysis and data triangulation.
The results of this research indicated that the guidelines of Phenomenon-based learning should choose interesting familiar real phenomena. There was reliable information to stimulate the students were exposed to in order for them to ask the question the phenomenon's study. Use questions and give example other phenomena that related to the phenomenon's study in order to be a guide for making question. Explain the criteria in choosing the question refer to practical process to finding information. The teacher should design activity that relate to phenomena for judgments and decisions of them in order connect to the phenomenon's explanation and problem-solving from phenomena reasonably. The results of students' critical thinking and problem-solving skills were found that the overall level of students' critical thinking and problem-solving skills increased respectively. In terms of effective reasoning, judgments and decisions was in highest level 84.72 percent. Following by, reason effectively 83.33 percent, problems solves 81.28 percent and systems thinking 76.39 percent.
Keywords
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน; ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา ; การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ; Phenomenon-based learning; Critical thinking and problem-solving skills; Climate change
How to cite!
พัชราภรณ์ ปินตา, & ธิติยา บงกชเพชร. (2567). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 78-92
References
ทัณฑธร จุ้ยสวัสดิ์. (2564). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเรื่องจลนศาสตร์เคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พงศธร มหาวิจิตร. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเชิงรุกในรายวิชาการประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.วารสารศึกษาศาสตร์.มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(2), 73-90.
ภาสุดา ภาคาผล. (2565). การพัฒนารูปแบบการสอนตามทฤษฎีเชื่อมโยงความรู้ร่วมกับแนวคิดการใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองเข้มแข็งและทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาใระดับอุดมศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีระพงษ์ พิมพ์สาร. (2562). การศึกษาไทยกับการประยุกต์ใช้ Phenomenon-Based Learning. นิตยสาร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์, 47(220), 46-50
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2562). รายงานโครงการอบรมและสัมมนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์สืบค้นจาก https://anyflip.com/iqojn/ghmb
หัสวนัส เพ็งสันเทียะ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของนักเรียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2), 348-365.
Daehler, K., & Folsom, J. (2016). Making Sense of Science: Phenomena-based Learning. Retrieved October 5, 2022, from http://www.WestEd.org/mss.
Kemmis, S., & Mc Taggart, R. (1988). The action research reader. Geelong Victoria: Deakin University Press.
Lahdemaki, J. (2018). Case Study: The Finnish National Curriculum 2016—A Co-created National Education Policy. In J. W. Cook (Ed.) Sustainability, human well-being, and the future of education (pp. 397-422).London: Palgrave Macmillan.
Bercasio, R. R., & Adornado, R. A. (2023). Enriching High School English Lessons with Global Citizenship Education Using Phenomenon-based Learning. Randwick International of Education and Linguistics Science Journal, 4(2), 216-232.
Mattila, P., & Silander, P. (Eds.). (2015). How to Create the School of the Future–Revolutionary thinking and design from Finland. Finland: Multprint.
The Partnership for 21st Century Skill. (2009). Framework for 21st Century Learning Definitions. Retrieved from https://www.battelleforkids.org/wpcontent/uploads/2023/11/P21_Framework_DefinitionsBFK.pdf
Zhukov, T. (2015). Phenomenon-based Learning: What is PBL?. Retrieved July 5, 2016, from https://www.noodle.com/articles/phenomenon-based-learning-what-is-pbl.
Indexed in