วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ผลของการสอนทางคลินิกแบบบูรณาการด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโต้แย้งต่อความสามารถในการวินิจฉัยแยกโรคของนักศึกษาพยาบาล

The Effects of Integrated Clinical Teaching with Argumentative Analysis Techniques on Nursing Students’ Ability in Differential Diagnosis
 


วันที่ส่งบทความ: 24 ม.ค. 2566

วันที่ตอบรับ: 31 มี.ค. 2566

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2567


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความสามารถในการวิเคราะห์เชิงโต้แย้งของนักศึกษาพยาบาล 2) ประเมินความสามารถในการวินิจฉัยแยกโรคของนักศึกษาพยาบาล และ 3) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการวินิจฉัยแยกโรคของนักศึกษาพยาบาลที่จำแนกกลุ่มตามคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการวิเคราะห์เชิงโต้แย้งเป็นกลุ่ม ระดับต่ำ ระดับปานกลางและระดับสูง ภายหลังได้รับการสอนทางคลินิกแบบบูรณาการด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโต้แย้ง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่งที่ลงทะเบียนเรียนวิชาปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 48 คน

เครื่องมือวิจัยคือแผนกำกับการสอนด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโต้แย้งตามสถานการณ์โรคระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ และ ระบบหลอดเลือดและการไหลเวียน ผ่านการวิพากษ์จากอาจารย์ผู้ร่วมสอน 3 ท่าน และปรับปรุงตามข้อเสนอแนะจนเห็นพ้องต้องกัน นำไปสอนนักศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโต้แย้ง สัปดาห์ละ 1 สถานการณ์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยแบบบันทึกการให้คะแนนความสามารถในการวินิจฉัยแยกโรค และแบบบันทึกการให้คะแนนความสามารถในการวิเคราะห์เชิงโต้แย้งของนักศึกษาพยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ความสามารถในการวิเคราะห์เชิงโต้แย้งในภาพรวมของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง (M=13.88, SD. = 4.51) 2. ความสามารถในการวินิจฉัยแยกโรคในภาพรวมของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง (M=13.81, SD. = 5.35) 3. นักศึกษาพยาบาลที่มีระดับความสามารถในการวิเคราะห์เชิงโต้แย้งต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการวินิจฉัยแยกโรคต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยกลุ่มที่มีระดับความสามารถในการวิเคราะห์เชิงโต้แย้งสูงกว่า จะมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการวินิจฉัยแยกโรคสูงกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)

Abstract

This research was a quasi-experimental, one-group, posttest-only design. The objectives were to 1) evaluate the ability of nursing students' argumentative analysis, 2) evaluate the ability of nursing students in differential diagnosis, and 3) compare the average scores of nursing students' differential diagnosis ability classified by the average score of the ability of argumentative analysis which was divided into 3 groups: low, moderate, and high levels after clinical teaching integrated with argumentative analysis techniques. The sample group was 48 fourth-year nursing students at an autonomous university enrolled in the course entitled “Introduction to Disease Treatment Practicum” in the first semester of the 2020 academic year. The research tool was a teaching plan using argumentative analysis techniques based on the situation of diseases in the Respiratory system, Digestive system, Urinary system, Vascular, and circulatory systems. The plan was critically analyzed by three co-teachers and improved according to the recommendations until the consensus was reached. The plan was used to teach students with argumentative analysis techniques, 1 situation per week for 4 weeks. Data were collected using the differential diagnosis scoring form, and the argumentative analysis scoring record form created by the researcher. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and one-way analysis of variance.

The research results were as follows: 1.Nursing students' argumentative analysis ability overall was at the ‘moderate’ level (M=13.88, SD. = 4.51). 2.The overall nursing students' differential diagnosis ability was at the ‘moderate’ level (M = 13.81, SD. = 5.35). 3.Nursing students with different argumentative analysis abilities had a statistically significant difference in differential diagnosis ability at p<.001, with the group having a higher level of argumentative analysis ability having a higher ability level to make a differential diagnosis at a statistically significant score of p<.001 as well.

Download in PDF (889.37 KB)

How to cite!

เพชรรัตน์ เจิมรอด, & ณัฐรพี ใจงาม. (2567). ผลของการสอนทางคลินิกแบบบูรณาการด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโต้แย้งต่อความสามารถในการวินิจฉัยแยกโรคของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 1-16

References

ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2564. (2564, 27 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 53 ง. หน้า 28-38.

ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, และสกุนตลา แซ่เตียว. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนาต่อการเรียนรู้การรักษาโรคเบื้องต้น กลุ่มอาการหายใจเหนื่อยหอบของนักศึกษาพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 74–90.

ปราณี ทู้ไพเราะ. (2558). คู่มือการตรวจวินิจฉัยโรค เล่ม 1. กรุงเทพฯ : N P Press.

ปราณี ทู้ไพเราะ. (2562). คู่มือการตรวจวินิจฉัยโรค เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : N P Press.

พาอีหม๊ะ เจะสา. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะแบบมีการโต้แย้งที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา การคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้รับการตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, สงขลา.

เพชรรัตน์ เจิมรอด, และเพลินตา พิพัฒน์สมบัติ. (2564). การใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงโต้แย้งในการสอนทางคลินิกสำหรับนักศึกษาพยาบาล.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 32 (1), 276-290.

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2562). รายงานการประเมินผลรายวิชาปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น ปีการศึกษา 2560-2562. [เอกสารอัดสำเนา]. ม.ป.ท: ม.ป.พ.

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ.2545. (2545, 31 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 119 ตอนพิเศษ 114 ง.

รายงานการประเมินผลรายวิชาปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น ปีการศึกษา 2560-2562. (2562). [เอกสารอัดสำเนา]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

วันเพ็ญ สุลง. (2561). การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ วิชาการบริหารงานคุณภาพในองค์การ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้รับการตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

วิจิตรา กุสุมภ์, และอรุณี เฮงยศมาก. (2562). ผลของการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานต่อความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(1), 187–196.

สภาการพยาบาล. (2554). การรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้นกันโรค สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศิริยอดการพิมพ์.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 1: แนวทางการตรวจรักษาโรคและการใช้ยา.กรุงเทพฯ: โฮลิสติก.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2: 350โรคกับการดูแลรักษาและการป้องกัน.กรุงเทพฯ: โฮลิสติก.

อนาวิล สินสิงห์. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแปรความหมายข้อมูลและประจักษ์พยาน และความสามารถในการใช้เหตุผลในเชิงวิทยาศาสตร์เรื่องการไทเทรต กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้รับการตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, และชญาภา วันทุม. (2560). การทดสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัย.วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 11(2), 105-111.

เอกภูมิ จันทรขันตี. (2559). การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการโต้แย้งในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(1), 217–232.

Arrue, M., Unanue, S., & Merida, D. (2017). Guided university debate: Effect of a new teaching-learning strategy for undergraduate nursing students. Nursing Education Today, 59, 26–32. doi:10.1016/j.nedt.2017.08.011

Jain, B. (2017). The key role of differential diagnosis in diagnosis. Diagnosis, 4(4), 239-240.Retrieved from https://doi.org/10.1515/dx-2017-0005

Lally, P., Van Jaarsveld ,H.M., Potts, W.W.H., & Wardle,J. (2010). How are habits formed: ModellingHabit formation in the real world. European Journal of Social Psychology, 40(6), 998-1009. doi.org/10.1002/ejsp674

Popil, I. (2011). Promotion of critical thinking by using case studies as teaching method. Nurse Education Today, 31(2), 204–207. doi:10.1016/j.nedt.2010.06.002

Pratiwi, S.N., Cari, C., Aminah, N.S., & Affandy, H. (2019. Problem-Based Learning with Argumentation Skills to Improve Students' Concept Understanding. Journal of Physics: Conf. Series, 1155, 1-7. doi:10.1088/1742-6596/1155/1/012065

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in