การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเปิดสามแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
A Research Synthesis of English Curriculum and Instruction of Postgraduates from Three Open Universities in Southeast Asia
วันที่ส่งบทความ: 5 ก.ค. 2566
วันที่ตอบรับ: 11 ส.ค. 2566
วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและจุดประสงค์ของงานวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยเปิด 3 แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ งานวิจัยของนักศึกษาที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทและศึกษาด้วยวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ ระหว่างปี พ.ศ.2555 -2565 จากมหาวิทยาลัยเปิด 3 แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 325 เล่ม โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการสังเคราะห์งานวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า (1) งานวิจัยที่สังเคราะห์มีรูปแบบของงานวิจัย 4 ประเภทประกอบไปด้วย (1.1) การวิจัยกึ่งทดลอง ร้อยละ 83.6 (1.2) งานวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนา ร้อยละ 14.1 (1.3) งานวิจัยเชิงสำรวจ ร้อยละ 0.6 และ (1.4) งานวิจัยเชิงคุณภาพ ร้อยละ 1.5 (2) เมื่อศึกษาจุดประสงค์ของงานวิจัย พบว่า (2.1) งานวิจัยที่มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หรือการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนภาษาอังกฤษในรูปแบบต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 41.8 (2.2) งานวิจัยที่มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หรือการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้สื่อการสอนภาษาอังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 13.8 (2.3) งานวิจัยที่มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หรือการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนโดยบูรณาการวิธีการสอนภาษาอังกฤษกับการใช้สื่อการสอนคิดเป็นร้อยละ 39 (2.4) งานวิจัยที่มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรอื่นๆ ที่มีผลต่อการเรียนภาษาอังกฤษ (Affective filters) คิดเป็นร้อยละ 3.6 และ (2.5) ประเด็นการศึกษาในการวิจัยเชิงคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 1.5 ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้คือ ข้อมูลที่ได้นักวิจัย นักศึกษาหรือผู้สนใจสามารถนำไปพัฒนาหัวข้อวิทยานิพนธ์และค้นคว้าอิสระให้เหมาะสมหลากหลายเพื่อพัฒนาความสามารถภาษาอังกฤษของผู้เรียนได้ในอนาคต
Abstract
The research aims to study the research models and objectives of theses and independent studies of Master’s degree research on English language curriculum and instruction in three open universities in Southeast Asia. The target groups consisted of 325 research studies on English language curriculum and instruction of Master’s degree students who graduated during the 2020–2022 academic years by purposive sampling. The research instrument employed consisted of a research synthesis data record form. The data were analyzed using frequency percentages and content analysis. The results showed that (1) the research models were synthesized into 4 types of research, consisting of (1.1) quasi-experimental research (83.6%), (1.2) research and development research (14.1%), (1.3) survey research (0.6%), and (1.4) qualitative research (1.5%). When studying the research objectives, it was found that (2.1) The research aimed to compare the achievement or development of learners' abilities before and after learning using different English teaching methods accounting for 41.8% (2.2) The research aimed to compare the achievement or development of learners' abilities before and after learning by using English teaching media, accounting for 13.8%. (2.3) The research aimed to compare the achievement or development of learners' abilities before and after learning by integrating English teaching methods with the use of teaching media, accounting for 39%. (2.4) The research aimed to study other variables related to Affective Filters, accounting for 3.6%, and (2.5) the research aimed to study issues in qualitative research, accounting for 1.5%. This study may benefit researchers, graduate students or interested parties in developing a variety of suitable thesis topics and independent studies to develop learners' English language proficiency in the future.
Keywords
การสังเคราะห์งานวิจัย ; การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ; วิทยานิพนธ์ ; หลักสูตรและการสอน ; Research synthesis; English language Instruction; Thesis; Curriculum and instruction
How to cite!
ศิตา เยี่ยมขันติถาวร, & วรรณประภา สุขสวัสดิ์. (2567). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเปิดสามแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.
วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(1), 158-171
References
ฉัตรปวีณ อำภา. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนอ่านภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจากhttp://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000008264.
ชไมภัค เตชัสอนันต์. (2564). จิตวิทยาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ บวรวัฒนเศรษฐ์. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ, 2(2), 183-192.
ดารณี ม่วงโต. (2559). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องโดยการวิเคราะห์อภิมาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นาถยา พรมประศรี, มารศรี กลางประพันธ์, และ สมเกียรติ พละจิตต์.(2565).การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษโดยการวิเคราะห์อภิมาน.วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(85), 12-23.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2529). การสังเคราะห์งานวิจัย. วารสารการวัดผลการศึกษา, 8(7 ), 26–27.
นภารัตน์ กิตติรัตนมงคล. (2558). การเพิ่มจำนวนนักศึกษาและการรักษาจำนวนนักศึกษาไม่ให้ออกกลางคันในการศึกษาระดับปริญญาโทของสาขาวิชารัฐศาสตร์. สืบค้นจาก http://ird.stou.ac.th/Researchlib/ 2558_008
ยุพิน สมงาม. (2549). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้านการอ่าน. ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระหว่างปี พ.ศ. 2531 – 2544 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Bitchener, J. (2010). Writing an applied linguistics thesis and dissertation: a guide to presenting empirical research. NY: Palgrave Macmillan.
Chin, B.A. (2004). How to write a great research paper. New Jersey: Wiley & Sons.
Dittmann, M. (2005). Starting the dissertation : Experts offer tips on picking a topic, conducting a lit review and narrowing your focus. American Psychological Association, 3(1), Retrieved from https://www.apa.org/gradpsych/2005/01/starting
Durst, K.R., Newell, E.G., & Marshall, D.J. (2017). English language arts research and teaching : revisiting and extending Arthur Applebee's contributions. London: Routledge.
Gerber, R.H., Abrams, S., Curwood, S.J., & Magnifico, M.A. (2017). Conducting qualitative research of learning in online spaces. NY: SAGE.
Kumar, R. (2015). Research methodology: A step by step guide for beginners. NY: Sage .
Matthews, A. (2017). Writing through the Pain: An Autoethnographic Exploration of Grief, the Doctoral Process, Dissertation Difficulties, and Doctoral Attrition. Ohio: University of Toledo.
Paltridge, B., & Phakiti, A. (2011). Continuum companion to research methods in applied linguistics. London: Continuum.
Paltridge, B., & Starfield, S. (2007). Thesis and disseration writing in a second language: a handbook for supervisors. London: Routledge.
Phakiti, A. (2015). Experimental research methods in language learning. London: Bloomsbury.
Wallace, M., & Wray, A. (2016). Critical reading and writing for postgraduates. NY: Sage.
Indexed in