วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์วิชาหลักสถิติ เรื่อง การวัดค่าแนวโน้มสู่ส่วนกลางและการวัดการกระจายโดยใช้การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
 

Developing an Online Active Learning Management Plan in the Principle of Statistics Course on the Chapter of Measurements of the Central Tendency and Variation by Using Collaborative Learning Groups for Students of Rajamangala University of Technology Srivijaya, Nakhonsrithammarat Campus
 


วันที่ส่งบทความ: 13 พ.ค. 2565

วันที่ตอบรับ: 30 มิ.ย. 2565

วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2567


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์วิชาหลักสถิติ เรื่องการวัดค่าแนวโน้มสู่ส่วนกลางและการวัดการกระจาย ให้มีประสิทธิภาพ 2) ศึกษาประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์วิชาหลักสถิติ เรื่องการวัดค่าแนวโน้มสู่ส่วนกลางและการวัดการกระจาย 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักสถิติ เรื่องการวัดค่าแนวโน้มสู่ส่วนกลางและการวัดการกระจาย ก่อนและหลังการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาหลักสถิติ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564  จำนวนหนึ่งกลุ่ม  ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เป็นนักศึกษาสาขาการแพทย์แผนไทย จำนวน 17 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์  ในรายวิชาหลักสถิติ เรื่องการวัดค่าแนวโน้มสู่ส่วนกลางและการวัดการกระจาย จำนวน 2 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการวัดค่าแนวโน้มสู่ส่วนกลางและการวัดการกระจาย มีลักษณะเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีระดับความยากของข้อสอบทั้งฉบับอยู่ในช่วง 0.38–0.55  อำนาจจำแนกของข้อสอบทั้งฉบับอยู่ในช่วง 0.42–0.53 ความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล สถิติทดสอบที (t-test: Paired Two Sample for Means) ผลการวิจัยพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์วิชาหลักสถิติ เรื่องการวัดค่าแนวโน้มสู่ส่วนกลางและการวัดการกระจาย ที่มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้คือ ขั้นนำ ขั้นดำเนินการสอนและจัดกิจกรรมการเรียน  โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ   ขั้นสรุป  และขั้นประเมินผล มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และมีประสิทธิภาพ  เท่ากับ 86.03/87.84  โดยมีค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้เท่ากับร้อยละ 68.84 และผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยแผนจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์วิชาหลักสถิติ เรื่องการวัดค่าแนวโน้มสู่ส่วนกลางและการวัดการกระจาย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=24.71, P<0.01)

Abstract

The purposes of this study were 1) to develop an online active learning management plan on the Principle of Statistics course for the chapter of Measures of Central Tendency and Variation to be effective, 2) to investigate the effectiveness of the learning management plan on the Principle of Statistics course for the chapter of Measures of Central Tendency and Variation, and 3) to compare the learning achievements of the Principle Statistics course for the chapter of Measures of Central Tendency and Variation by testing a pretest and a post-test. The samples were seventeen Thai Traditional Medicine Program students enrolled in the Principle of Statistics course of Semester 1, Academic Year 2021. The samples were randomized by cluster sampling. of 0.42-0.53, and the confidence of the whole test was 0.88. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, effectiveness index, and t-test (Paired Two Sample for Means). The tools were two online active learning management plans on the Principle of Statistics course for the chapter of Measures of Central Tendency and Variation. The achievement test was a multiple-choice type with four-choice answers to thirty questions with difficulty levels of 0.38-0.55. The discriminating power was in the range. The findings revealed that the online active learning management plan consisting of introduction, teaching and learning activities with steps of collaborative learning groups, conclusion, and evaluation.  The quality was identified at an excellent level with the effectiveness of 86.03/87.84 and the effectiveness index was 68.84 percent. The students who learned with the online active learning management plan had post-test scores significantly higher than the pretest at the .01 level (t=24.71, P<0.01).

Download in PDF (1.06 MB)

How to cite!

รุ่งโรจน์ เอียดเกิด (2567). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์วิชาหลักสถิติ เรื่อง การวัดค่าแนวโน้มสู่ส่วนกลางและการวัดการกระจายโดยใช้การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
 . วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(1), 143-157

References

กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2563). ประกาศกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์

วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ฉบับที่ 3. สืบค้น27 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/content_page/item/3033-2019-covid-19-1-6.html    

กิตติธร กิจจนศิริ. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิงเพื่อพัฒนา

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้ปัญหาและขั้นตอนวิธี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 10(2), 44-54.

ชมพู สัจจวาณิชย์. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้ชุดการเรียน เรื่องบรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. สืบค้นจากhttp://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2553/96162/abstract.pdf

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์. (2563).  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบบูรณาการบนห้องเรียนเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมวิธีคิดแบบเติบโตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 10(2), 146-156.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2564). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาและประยุกต์วิชาการ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (E1/E2). วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7, 46-50.

เผชิญ กิจระการ, และสมนึก ภัททิยธนี. (2545). ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.). วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8, 31-35.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559).  วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2561). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ระยะปานกลาง 5 ปี พ.ศ. 2561-2565. สืบค้นจากhttp://plan.rmutsv.ac.th/content/2018/10/29-356         

ยืน ภู่วรวรรณ. (2563). การเปลี่ยนแปลงการศึกษายุคโควิด -19. สืบค้นจาก      https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/877251?fbclid=IwAR2nypFkZCtKqvJUX-nxBb0d_gRB8PLiIlPHu8M3j0QRhRQLOFDS6N1ER38

ยุพดี ไชยปัญญา. (2551). การพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น  

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้รับการตีพิมพ์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.  

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551).  วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

อริยา  คูหา, สรินฎา ปุติม, และ  ฮานานมูฮิบบะตุดดีน นอจีน, (2562). โลกที่เปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ที่ผ่านสู่ Active Learning. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(2), 1-13.

Balkcom, S. (1992). Cooperative learning. Education Research Consumer Guide, 1. Retrieved from https://eric.ed.gov/?id=ED346999

Burgess, S., & Sievertsen, H.H. (2020). Schools, Skills, and Learning: The impact of COVID-19 on education. Retrieved from https://voxeu.org/article/impact-covid-19-education

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in