แนวทางการเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับผู้เรียนในหมวดการศึกษาทั่วไประดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ประยุกต์ใช้หลักคิดแอนดราโกจี
Guidelines for Enhancing Self-Directed Learning Abilities for Learners in The General Education Category at The Higher Education Level Kasetsart University that Apply The Andragogy Principle
วันที่ส่งบทความ: 21 เม.ย. 2565
วันที่ตอบรับ: 22 มิ.ย. 2565
วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2567
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้แนวทางการเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับผู้เรียนในหมวดการศึกษาทั่วไประดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ประยุกต์ใช้หลักคิดแอนดราโกจี ผู้วิจัยใช้แผนการทดลองแบบ One-Group Pretest Posttest Design กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการแสวงหาความรู้ ภาคปลาย ปีการศึกษา 2564 จำนวน 676 คน โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้หลักคิดแอนดราโกจี จากการวิจัยเอกสาร และตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา และระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้หลักคิดแอนดราโกจี ที่ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย แบบประเมินความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ผลด้วยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน ด้วยค่าร้อยละ และคะแนนเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักคิดแอนดราโกจี ควรคำนึงถึงมโนทัศน์ในการเรียนรู้ ประสบการณ์ ความต้องการในการเรียนรู้ ความพร้อมในการเรียนรู้ แรงจูงใจในการเรียนรู้ และเป้าหมายในการเรียนรู้ และผลจากการใช้แนวทางดังกล่าวสามารถพัฒนาระดับความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา (2) ผลการใช้แนวทางที่พัฒนาขึ้นพบว่าผู้เรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมที่สูงขึ้นกว่าก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้จัดอยู่ในระดับมาก และภายหลังกิจกรรมการเรียนรู้เสร็จสิ้น คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจัดอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองภายหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
This research aimed to develop and study the effect of using guidelines to enhance self-directed learning abilities for learners in the general education courses at the higher education level Kasetsart University that applies the Andragogy principle. The researcher used the experimental plan of One-Group Pre/Post-test Experimental Design with the target group, namely, bachelor's degree students. Kasetsart University, who were enrolled in Knowledge Acquisition subject, at the end of the academic year 2021, with a total of 676 participants. The research was divided into 2 phases: Phase 1, developing a learning management approach that applied the Andragogy Principle from document research and quality evaluation by qualified persons. Analysis of the data was done by writing a descriptive narrative. Moreover, in Phase 2, the study of the results of using the learning management guidelines that applied the Andragogy principle that evaluates the learning outcomes of the learners with a self-directed learning ability assessment form that has been assessed for the tool quality by invited experts. The results were analyzed by comparing the scores before and after the lessons with percentage and mean score. The results showed that (1) the learning management guidelines based on the Andragogy principle should consider self-concept, experience, need to learn, readiness to learn, motivation to learn, and orientation to learn. Using this guideline approach can improve the self-directed learning abilities of higher education learners and (2) the developed guidelines' results showed that the learners had higher average scores than before starting the learning activities. The average scores before starting the learning activities were at a high level. Furthermore, after the learning activities were completed, the increase in the mean score was rated as the highest. Moreover, comparing the scores before and after the lessons, it was found that the self-directed learning ability score after a study was significantly higher than before at the .05 level.
Keywords
การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ; ผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ; แอนดราโกจี ; หมวดการศึกษาทั่วไป; Self-directed learning; Learners in higher education; Andragogy; General Education
How to cite!
ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย, ภัทรา วยาจุต, เดชศิริ โนภาส, & วลัยนาสภ์ มีพันธุ์. (2567). แนวทางการเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับผู้เรียนในหมวดการศึกษาทั่วไประดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ประยุกต์ใช้หลักคิดแอนดราโกจี
.
วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(1), 113-128
References
ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย. (2563). การพัฒนาต้นแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันแบบพหุวัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กและเยาวชน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 21(3), 24-38.
ดวงจันทร์ แก้วกงพาน, ชิสาพัชร์ ชูทอง, และ เชาว์วุฒิ สิงห์แก้ว. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาการสร้างสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 64-82.
ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน, และ เฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 46(1), 218-253.
นันทน์ธร บรรจงปรุ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(20), 70-84.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2559). คู่มือหมวดวิชาศึกษาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิชาบูรณาการ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป.
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169-176.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ, จิระวรรณ ยืนยั่ง, และ พรชัย พันธุ์วิเศษ. (2564). การศึกษาความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองในแต่ละช่วงอายุของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนสระแก้วผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(1), 98-112.
สุวัฒน์ วัฒนวงศ์, และ อมรรักษ์ สวนชูผล. (2561). การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 7(1), 217-229.
Charlene, T., Chris, V. (2017). Self-Directed Learning Characteristics: Making Learning Personal, Empowering and Successful. Africa Education Review, 14(3), 122-141.
Durnali, M. (2020). The effect of Self-Directed Learning on the relationship between Self-Leadership and Online Learning among university students in Turkey. Tuning Journal for Higher Education, 8(1), 129-165.
Karatas, K., & Arpaci, I. (2021). The role of self-directed learning, metacognitive awareness, and 21st century skills and competences in predicting the readiness for online learning. Contemporary Educational Technology, 13(3), 1-13.
Knowles, M. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learners and Teachers. New York : Association PressFollett.
Knowles, M. (1980). Andragogy in Action. San Francisco: Jossy-Bass.
Knowles, M., Holton, E., & Swanson, R. (2011). The Adult Learner: The definitive classic in adult education and human resource development. USA: Butterworth-Heinemann.
Patterson, C., Crooks, D, & Ola, L.C. (2002). A New Perspective on Competencies for Self-Directed Learning. Journal of Nursing Education, 41(1), 25-31.
Toit-Brits, C., & van Zyl, C. M. (2017). Self-directed learning characteristics: making learning personal, empowering and successful. Africa Education Review, 14(3-4), 122-141.
Indexed in