วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การใช้การสอนเขียนแบบอรรถฐานกระบวนการเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
 

Using Process-Genre Approach for Developing English Writing Ability and Critical Thinking of Grade 12 Students
 


วันที่ส่งบทความ: 9 มิ.ย. 2565

วันที่ตอบรับ: 22 ก.ค. 2565

วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2567


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้การสอนเขียนแบบอรรถฐานกระบวนการ 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้การสอนเขียนแบบอรรถฐานกระบวนการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน (อ33206) จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนเขียนแบบอรรถฐานกระบวนการ โดยใช้รูปแบบเป็นฐาน จำนวน 4 แผน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยใช้เกณฑ์การตรวจให้คะแนนความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษที่กำหนดไว้ และแบบวัดการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าทดสอบสมมติฐาน (Dependent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนมีความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษหลังการใช้การสอนเขียนแบบอรรถฐานกระบวนการผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 60 และมีคุณภาพของงานเขียนระดับดี 2) นักเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการใช้การสอนเขียนแบบอรรถฐานกระบวนอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ และสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were 1) to study English writing ability of the students after using the process-genre approach to teach English writing lessons and 2) to compare critical thinking skill of the students before and after using the approach. The population of the study was 20 grade 12 students who were enrolled in English Reading and Writing Course (E33206) in the first semester of the academic year 2021. The research instruments were four teaching writing lesson plans designed with the process-genre approach, and data-collection instruments which were the English writing ability assessment tests. The written work was assessed with the established English writing criteria. The data obtained was analyzed for mean, standard deviation, percentage and t-test (Dependent samples).The findings of this research were: 1) The students’ English writing ability after using the process-genre approach was higher than the pre-set assessment criteria of 60% and their overall quality of work was at the good level, 2) The students’ critical thinking after learning through the process-genre approach was at the ‘pass’ level and higher than before learning with the statistically significant difference at .01 level.

Download in PDF (751.93 KB)

How to cite!

นาถวดี นิวรรัมย์, นิธิดา อดิภัทรนันท์, & วิไลพร ธนสุวรรณ. (2567). การใช้การสอนเขียนแบบอรรถฐานกระบวนการเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
 . วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(1), 79-94

References

กรกนก สกุลกนกวัฒนา. (2564) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณในวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 34(1), 77.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กัญญารัตน์ โคจร, กันยารัตน์ สอนสุภาพ, และ สมทรง สิทธิ. (2563). การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาด้านการคิดขั้นสูงของนักเรียนโรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26(1), 69-70.

จุฬารัตน์ แสงอรุณ, นภาทรัพย์ เลิศปรีดากร และ วรวุฒิ ตัถย์วิสุทธิ์. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอรรถฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4 (น.827-834). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

พิตรวัลย์ โกวิทวที. (2540). ทักษะและเทคนิคการสอนเขียนภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาลี รุ่งไหรัญ. (2550). การสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ เพื่อพัฒนาความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มันทนา ปิดตาระโพธิ์. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแนวคิด สะเต็มศึกษา (STEM Education) โรงเรียนแหลมรังวิทยาคม จังหวัดพิจิตร. Retrieved from http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25611231_122957_9233.pdf

รณวีร์ พาผล, จารุณี นาคเจริญ และณพัชญาฐ์ สุขพัชราภรณ์. (2564). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดของการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ:กรณีนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. Phimoldhamma Research Institute Journal, 9(1), 4.  

วิรังรอง สำเภาทิพย์, และมาลินี ประพิณวงค์. (2561). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการเขียนแบบร่วมมือ โดยใช้โปรแกรม Google Docs. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4(1), 261-262.

ศศิภา พรหมมินทร์. (2564). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยการใช้เทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก:  มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สาริกา หารประทุม, พิลานุช ภูษาวิโศธน์, และสมเกียรติ ภู่พัฒน์วิบูลย์. (2558). กิจกรรมการสอนเขียนด้วยวิธีอรรถฐานกระบวนการเพื่อพัฒนาการเขียนเรื่องสร้างแรงบันดาลใจของนิสิต. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 58, 812-824.

สรปัญญาสุข สุขกรินทร์. (2560). รายงานผลการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป ชุดบันไดห้าขั้นสร้างสรรค์บทกลอน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในสอย. แม่ฮ่องสอน: โรงเรียนบ้านในสอย.

อภิรยา แก้วสาร. (2562). การใช้แนวการสอนเขียนแบบกระบวนการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษและทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลย-อลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 186.

เอกอรรถพล อินทวิวัฒน์. (2558). การใช้การสอนเขียนโดยใช้รูปแบบเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Ajmal, A. (2015). Process-Genre Approach to Teaching Writing University Foundation Course Students in Pakistan. In The European Conference on Language Learning 2015. Retrieved March 10, 2020, from https://papers.iafor.org/submission17470/.

Badger, R & White, G. (2000). A Process Genre Approach to Teaching Writing. ELT Journal, 54(2), 153-160.

Bloom, B.S. (1961). Taxonomy of education objectives. New York: David Mckay.

Center of Critical Thinking and Moral Critique, (1992). The Twelfth Annual Conference on Critical Thinking and Educational Reform.  CA: Sonoma State University.

Dirgeyasa, I.Wy. (2016). Genre-Based Approach: What and How to Teach and to Learn Writing. English Language Teaching, 9(9), 48-49. Hanusova, S., Navratilova, O., Valisova, M., & Matulova, M. (2020). Process genre approach to L2 academic writing. XLinguae,13(4), 30-51. doi: 10.18355/XL.2020.13.04.03

Hyland, K. (2003). Genre-based pedagogies: A social response to process. Journal of Second Language Writing, 12, 17-29.

Jacobs, H. L., & et al. (1981). ESL Composition Profile, Testing ESL composition: A Practical Approach. Rowley, MA: Newbury House.

Janenoppakarn, C. (2016). Effects of using process-genre approach on the teaching of writing: a case study of higher and lower proficient EFL students (Doctor dissertation). Bangkok: Thammasat  University.

Kurian, D. (2003). SAT Critical Reading Tips and Advice (3rd ed.). New York: McGrow Hill.

Kusumaningrum, W. (2015). Genre-Based Approach to Promote Learners’ Critical Thinking Skills. Transformatika, 11, 97-104.

Neupane, P. (2017). Approaches to Teaching English Writing: A Research Note. Studies in Foreigg Language Education, 39, 141-148.

Nordin, S., & Mohammad.,N. (2016). The Best of Two Approaches: Process/ Genre-Based Approach to Teaching Writing. The English teacher, 35, 75-85. Retrieved from 4https://melta.org.my/journals/TET/downloads/tet35_01_06.pdf.

Sternberg, R.J., Roediger, H.L., & Halpern, D.F. (2007). Critical Thinking in Psychology. New York: Cambridge University Press.

Tudor, E. (2016). The process genre writing approach; an alternative option for modern classroom. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED571522.pdf

White, R., &  Arndt, V. (1991). Process Writing. Harlow, UK: Longman..

 

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in