แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้เชิงภาพ
เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
The Guideline of Model-Based Learning to Promote Visual Literacy in Topic of Nervous System for Twelfth Grade Students
วันที่ส่งบทความ: 8 เม.ย. 2565
วันที่ตอบรับ: 24 พ.ค. 2565
วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2567
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้เชิงภาพและผลการพัฒนาความฉลาดรู้เชิงภาพด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก ผู้เข้าร่วมวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 45 คน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรมและแบบวัดความฉลาดรู้เชิงภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา และการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ผลการศึกษาพบว่าแนวทางการจัดการเรียนรู้มีลักษณะดังนี้ 1) การกระตุ้นความสนใจและการสร้างแบบจำลองทางความคิดเดิมของนักเรียนโดยใช้สื่อวิดีโอที่เกี่ยวข้องเรื่องระบบประสาทในชีวิตประจำวันของนักเรียน 2) การประเมินและทบทวนแนวความคิดเดิมที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท โดยใช้สื่อวิดีโอที่นักเรียนสามารถศึกษาและทบทวนคำศัพท์ทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท 3) การสร้างแบบจำลองภาพโดยให้นักเรียนฝึกวาดภาพองค์ประกอบการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องก่อนเพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างแบบจำลองภาพจากข้อมูลที่สืบค้นและเรียนรู้ได้ดีขึ้น 4) การประเมินแบบจำลองผ่านตั้งคำถามข้อดีข้อเสียของแบบจำลองภาพที่สร้างขึ้นและกำหนดเวลาในการแก้ไขแบบจำลองภาพให้สมบูรณ์ 5) การขยายแบบจำลอง โดยใช้คำถามปลายเปิดในสถานการณ์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ให้นักเรียนได้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างแบบจำลองภาพและเชื่อมโยงแบบจำลองภาพกับสถานการณ์ใหม่ได้ และผลจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีความฉลาดรู้เชิงภาพเรื่องระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึกจากระดับต่ำ (ร้อยละ 21.3) ไปสู่ระดับสูง (ร้อยละ 87.5)
Abstract
This study aimed to explore the guidelines of model-based learning to promote visual literacy and the effect of implementing model-based instruction on visual literacy in the topic of the nervous system and sensory organs. The participants were 45 twelfth grade students selected by purposive sampling from one secondary school in Supanburi province in Academic Year 2564 B.E. The research instruments consisted of the 3 lesson plans, the learning reflection form, activity handouts and the visual literacy assessment form. The data were analyzed by content analysis, mean and percentage. The results showed that the guidelines of model-based learning to promote visual literacy were as follows: 1) engagement of students’ attention and prior conceptual model construction through instructional videos about the nervous system in daily life, 2) assessment and revision of students’ prior conceptual model regarding the nervous system topic by utilizing instructional videos which students can study and review for technical terms related to the nervous system, 3) student support by practicing of drawing relevant scientific illustration components in order to enhance better conceptual model construction from retrieved information, 4) evaluation of conceptual model through asking questions regarding benefits and disadvantages of the model constructed and allocating time for model revision, and 5) elaboration of the conceptual model by using open-ended questions with new situations related to nervous system topic and highlight the relationship between conceptual model and new situations. The results of using the model-based learning can promote visual literacy in topic of nervous system and sensory organs from low level (21.3%) to high level (87.5%).
Keywords
ความฉลาดรู้เชิงภาพ ; แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน; ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก ; มัธยมศึกษา; Visual literacy; Guidelines of model-based learning; Nervous system and sensory organs; Secondary school
How to cite!
ธัญจิรา ทองมาก, & สุรีย์พร สว่างเมฆ. (2567). แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้เชิงภาพ
เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
.
วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(1), 48-64
References
โชคอนันต์ จึงเจริญรัตน์, ดนุลดา จามจุรี, มารุต พัฒผล และมนตรี แย้มกสิกร (2563). การศึกษาคุณลักษณะความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณสําหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 16(2), 180-189.
โชติภรณ์ ลีเวียง และไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17, 963-974.
ณัฐพล กวดไทย, และสุมาลี ชูกำแพง. (2564). ศึกษาการพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาชีวิทยา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 14(2), 63-71.
นราลักษณ์ ผ่องปัญญา, และ ยศวีร์ สายฟ้า. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(2), 264-274.
รวีวรรณ เมืองรามัญ, และศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2556). การส่งเสริมความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกของเราของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 4(1), 38-45.
รัฐสภา แก่นแก้ว. (2561). การใช้เทคนิควิธีการฝึกทักษะและทำแบบฝึกหัดบนระบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม. ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 13 ประจำปี 2561 (น.1-10). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ศิริเพ็ญ ภู่มหภิญโญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์เพื่อเสริมสร้างการรู้ทัศนะและการสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาศิลปศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ด., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
อมรรัตน์ วิริขิตกุล, และ เบญจพร สว่างศรี. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ, 5, 63-75.
The ACRL Board of Directors. (2011). ACRL Visual Literacy Competency Standards for Higher Education. Retrieved April, 18, 2020, from http://www.ala.org/acrl/standards/visualliteracy.
Bell, J.C. (2014). Visual Literacy Skills of Students in College-Level Biology: Learning Outcomes following Digital or Hand-Drawing Activities. The Canadian Journal for the Scholarship of Teaching and Learning, 5(1), 1-14.
Blair, Risa. & Serafini, M. Tina. (2014). Integration of Education: Using Social Media Networks to Engage Students. Journal on Systemics, Cybernetics and Informatics, 12, 28-31.
Buckley, B.C., & et al. (2004). Model-Based Teaching and Learning With BioLogicaTM: What Do They Learn? How Do They Learn? How Do We Know?. Journal of Science Education and Technology. 13(1), 23-41.
Cano, F., Garcia, A., Berben, A, & Justicia, F. (2014). Science Learning: A path analysis of its links with reading comprehension, question-asking in class and science achievement. International Journal of Science Education, 36(10), 1710-1732.
Dempsey, B.C. & Betz, B.J. (2009). Biological Drawing A Scientific Tool For Learning. The American Biology Teacher. 217-279
Emaliana, I. (2017). Teacher-centered or Student-centered Learning Approach to Promote Learning?. Jurnal Sosial Humaniora, 10(2), 59-70.
Gilbert, J.K. (2005). Visualization: A Metacognitive Skill in Science and Science Education. In J.K. Gilbert, (Ed), Visualization in Science Education (p.9-27). Netherlands: Springer.
Gilbert, J. K., & Boulter, C.J. (2000). Developing models in science education. Netherlands: Kluwer Academic.
Gilbert, S.W. (2011). Models-Based Science Teaching. USA: National Science Teachers Association.
Letrud, K. (2012). A rebuttal of NTL Institute's learning pyramid. Education, 133(1), 117-124.
Lundy, A.D., & Stephens, A. E. (2015). Beyond the literal: Teaching visual literacy in the 21st century classroom. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 174, 1057-1060.
McTigue, E.M. (2011). Science Visual Literacy: Learners’ Perceptions and Knowledge of Diagrams. The Reading Teacher, 64(8), 578-589.
Moreno, R., Ozogul, G., & Reisslein, M. (2011). Teaching with concrete and abstract visual representations: Effects on students' problem solving, problem representations, and learning perceptions. Journal of Educational Psychology, 103(1), 32–47.
Pem, K. (2019). Enhancing High Order Science Visual Literacy Skills in Biology Learners. Retrieved from chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED594127.pdf
Phillips, L.M., Norris, S.P., & Macnab, J.S. (2010). Visualization in Mathematics, Reading and Science Education. New York : Springer.
Raiyn, J. (2016). The Role of Visual Learning in Improving Students’ High-Order Thinking Skills. Journal of Education and Practice, 7(24), 115-121.
Rapp, N. D. (2005). Mental Models: Theoretical Issues for Visualizations in Science Education. In J.K. Gilbert (Ed.), Visualization in Science Education (p.43-60). Natherlands: Springer.
Reiner, M. (2018). The Nature and Development of Visualization: A Review of what is Known. In J.K. Gilbertetal. (Ed.), Visualization Theory and Practicein Science Education (p.25–27). New York: Springer.
Rodriguez Estrada, F.C., & Davis, L. (2015). Improving Visual Communication of Science Through the Incorporation of Graphic Design Theories and Practices Into Science. Science Communication, 37(1), 140-148.
Sukmawati, D., Sopandi, W., & Sujana, A. (2020). The Application of Read-Answer-Discuss-Explain-and Create (Radec) Models to Improve Student Learning Outcomes in Class V Elementary School on Human Respiratory System. Proceedings The 2nd International Conference on Elementary Education, 2(1), 1734-1742.
Tibell, L. A. E. & Rundgren, C. J. (2010). Educational challenges of molecular life science: characteristics and implications for education and research. CBE-Life Sciences Education, 9, 25-33.
Tversky, B. (2005). Prolecomenon to Scientific Visualizations. In J.K. Gilbert (Ed.), Visualization:Theory and Practicein Science Education (p.29–42). New York: Springer.
Vale, C. M. & Leder, G. C. (2004). Student Views of Computer-Based Mathematics in The Middle Years: Does Gender Make a Difference?. Educational Studies in Mathematics, 56, 287–312.
Wu Sally P.W. & Rau, M. A. (2018). Effectiveness and efficiency of adding drawing prompts to an interactive educational technology when learning with visual representations. Learning and Instruction, 55, 93-104.
Yeh, Hsin-Te & Cheng, Yi-Chia. (2009). The influence of the instruction of visual design principles on improving pre-service teachers’ visual literacy. Computers & Education, 54(1), 244-252.
Yerlikaya, A., & Yerlikaya, M. (2016). Models Usage in Teaching Astronomy and Visual Literacy. Participatory Educational Research (PER), 3, 77-94.
Indexed in