ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ ON-HAND ร่วมกับ ON-LINE เรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ
Results of the Development of Science Learning Activities Series that Promote Basic Scientific Process Skills and an Attitude Towards Science with ON-HAND and ON-LINE Teaching-Learning Model on Water Resources and Weather
วันที่ส่งบทความ: 11 ก.พ. 2565
วันที่ตอบรับ: 5 พ.ค. 2565
วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานเรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานเรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ โดยการเรียนรู้แบบการเรียนการสอนแบบ ON-HAND ร่วมกับ ON-LINE 3) ศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานเรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ โดยการเรียนรู้แบบการเรียนการสอนแบบ ON-HAND ร่วมกับ ON-LINE 4) ศึกษาความคิดเห็นเชิงคุณภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ที่สอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานเรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์สอนจำนวน 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงซึ่งเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ผู้วิจัยมีหน้าที่นิเทศก์ในปีการศึกษา 2564 และเข้าร่วมวิจัยด้วยความสมัครใจ และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 จำนวน 71 คน ซึ่งเป็นการเลือกแบบเจาะจงโดยใช้นักเรียนในห้องที่นักศึกษาฝึกประสบการณ์เป็นผู้สอน สถิติที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ, แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน, แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานเรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการเรียนรู้แบบการเรียนการสอนแบบ ON-HAND ร่วมกับ ON-LINE มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.80/85.00 ซึ่งมีค่าใกล้เคียง 80/80 แสดงว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้มีประสิทธิภาพ 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก 4) การใช้ชุดกิจกรรมในสถานการณ์โควิค-19 ทำให้ผู้สอนการจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ และทำให้การจัดการเรียนการสอนราบรื่นไปด้วยดี
Abstract
This study aimed to 1) develop a science instructional package that promotes basic scientific process skills on water resources and weather using the 80/80 criteria, 2) compare basic scientific process skills before and after studying the package with a series of science learning activities that promote basic scientific process skills in water resources and weather through a model of teaching and learning combination of ON-HAND and ON-LINE methods. 3) study the students' attitudes towards science after using the science learning activities series that promote basic science process skills on water resources and weather through a model of teaching and learning combination of ON-HAND and ON-LINE methods, 4) study the qualitative data from the opinions of the teacher students in the practicum course. The samples in this research were three teacher students selected with the Purposive Sampling Technique, who were doing their practicum course with the researcher as their supervisor. They voluntarily participated in the study. Another participating group were 71 Primary 5 students, selected based on Purposive Sampling Technique as they were the students taught by the three teacher students in their teaching practice. The statistics used in the experiment were mean, percentage, standard deviation, and t-test. The instruments used in the research were: a science learning activity series promoting basic science process skills in Grade 5, on Water Resources and Weather through a model of teaching and learning combination of ON-HAND and ON-LINE methods, a Basic Science Process Skill Test, a Student Attitude towards Science Test, and a semi-structured interview.
The results of the research were 1) Developing a set of learning activities for Primary 5 students to develop basic scientific process skills on “Water Resources and Weather through a model of teaching and learning combination of ON-HAND and ON-LINE methods with efficiency (E1/E2) of 84.80/85.00, which was close to 80/80. Indicating that this learning activity set was effective, 2) comparison of the science process skills of Primary 5 students revealed that they had a higher mean score at the end of the course at a statistically significant level of 0.05. 3) Students who have been taught with a set of activities had positive attitudes towards science in all 5 areas at the high level. 4) Using the activity pack in the Covid-19 situation makes teaching and learning management of the teacher students more efficient. They were able to manage teaching and learning according to the specified objectives and make teaching and learning management go smoothly.
Keywords
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ; เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ; การจัดการเรียนรู้แบบ ON-HAND ร่วมกับ ON-LINE ; ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์; Basic scientific process skills; Attitude towards Science; ON-HAND learning management in combination with ON-LINE; A series of science learning activities
How to cite!
ภารวี จงไกรจักร (2566). ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ ON-HAND ร่วมกับ ON-LINE เรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 237-250
References
ตรียาภรณ์ อินลี. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง สารรอบตัวเราชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สกลนคร:มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: เดอมาสเตอร์กรุ๊ป.
มยุรา ลีหัวสระ. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
มารียะห์ มะเซ็ง. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2547). ปรัชญาทั่วไป มนุษย์ โลก และความหมายชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟค.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวตักรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุวิทย์ มูลคํา, และอรทัย มูลคํา. (2545). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์
อุทัย วัฒนคีรี. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
Indexed in