วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนารูปแบบ ATEP MODEL เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยในการจัดการเรียนรู้แบบรวมชั้นเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก

Development of ATEP Model to Enhance the Capabilities of Early Children in Integrated Learning Management of Small Schools


วันที่ส่งบทความ: 19 ม.ค. 2565

วันที่ตอบรับ: 14 มี.ค. 2565

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2566


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1. เพื่อสำรวจข้อมูลและบริบทของสถานศึกษาระดับปฐมวัยสำหรับเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยในการจัดการเรียนรู้แบบรวมชั้นเรียนของโรงเรียนขนาดเล็กตามรูปแบบ ATEP MODEL 2. เพื่อสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบ ATEP MODEL 3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ ATEP MODEL 4. เพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้รูปแบบ ATEP MODEL เป็นการวิจัยและพัฒนากลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 คือครูปฐมวัยที่เป็นโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษา จำนวน 112 คน และกลุ่มที่ 2 คือครูประจำการของโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 20 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงที่จัดกิจกรรมแบบรวมชั้นเรียนของปีการศึกษาที่ผ่านมา เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม รูปแบบการจัดกิจกรรม คู่มือการใช้แผนการจัดกิจกรรม แบบประเมินสมรรถนะครูปฐมวัยและแบบประเมินความพึงพอใจใช้แผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังทำกิจกรรมใช้สถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่า T ในการวิเคราะห์ผล

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลข้อมูลจากการสำรวจบริบทของสถานศึกษาระดับปฐมวัย พบว่ามีข้อมูลที่ครูควรให้พิจารณาเกี่ยวกับ 1) การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบรวมชั้น 2) การจัดกิจกรรมของครู 3) ทักษะและสมรรถนะครูผู้สอน 4) วิธีการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก และ 5) การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ 2. องค์ประกอบของรูปแบบการจัดกิจกรรมมี 6 ข้อ คือ 1) แนวคิด หลักการ 2) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3) เนื้อหา 4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5) สื่อวัสดุและแหล่งเรียนรู้ 6) การวัดและประเมินผลมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.49, SD=0.53) 3. ผลการใช้รูปแบบ ATEP MODEL พบว่าครูหลังได้รับการอบรมมีสมรรถนะด้านการกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการจัดการชั้นเรียน และด้านการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ ภาพรวมสูงขึ้นร้อยละ 40.97 (S.D.=5.50) และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย พบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  4. ผลความพึงพอใจของครูปฐมวัยต่อการใช้รูปแบบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบรวมชั้นเรียนของรูปแบบ ATEP MODEL อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.17, S.D.=0.48) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.38, S.D.=0.48) ด้านกระบวนการอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.01, S.D.=0.47) และด้านผลิตอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.13, S.D.=0.49)

Abstract

This research aimed to 1) survey the situation and context of early childhood schools to enhance teaching competencies of early childhood teachers adopting the learning management of combining all levels in one class at a small-size school based on the ATEP MODEL 2) create and determine the quality of the ATEP MDEL 3) study the results of using the ATEP MODEL 4) assess the satisfaction of using the ATEP MODEL. The goal of this study was for research and development. The sample groups consisted of Group 1 of 112 early childhood teachers in teaching experience training network schools, and Group 2 of 20 regular teachers in teacher professional training network schools. Purposive Sampling Technique was used to select the teachers of the classes of the previous academic year that organized the investigated activities. The research instruments were interview forms, questionnaires, activity management format forms, activity planning manuals, early childhood teacher competency assessment forms, and satisfaction assessment forms using one-group research plans. The test before and after the activity was based on average statistics, percentage and T values in the analysis.

The research findings were 1) The data from the context survey of early childhood education institutions found that there was information that teachers should consider: first, combined level classroom management; second, teacher activity management, third, skills and teacher competencies; fourth, methods of organizing activities for children, and fifth, creating a learning atmosphere. 2) The components of the activity format consisted of 6 items: first, concepts and principles; second, learning objectives; third, content; fourth, process of activities; fifth, materials and learning resources, and sixth, quality measurement and evaluation. All these were ranked at the high level (average=4.49, SD=0.53). 3) The results of using the ATEP MODEL showed that teachers after receiving the training had higher competencies in learning activities, classroom management, and professional self-development. The overall picture was 40.97 percent higher (S.D.=5.50) and when the average scores of both before and after the training were compared, the post-training score was found to be significantly higher at the .05 level. 4) The satisfaction level of early childhood teachers on the use of the ATEP MODEL format for combined learning activities was at the high level (average=4.17, S.D.=0.48). Considering each aspect, it was found that the input factor was at the high level (average=4.38, S.D.=0.48), the process aspect was at the high level (average=4.01, S.D.=0.47) and the production side was at the high level (average=4.13, S.D.=0.49).

Download in PDF (883 KB)

How to cite!

สรวงพร กุศลส่ง (2566). การพัฒนารูปแบบ ATEP MODEL เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยในการจัดการเรียนรู้แบบรวมชั้นเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 173-191

References

กมลวรรณ ทิพยเนตร. (2561). การพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning community: PLC). (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.

ชัชวีร์ แก้วมณี. (2564). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 6(3).

ทิศนา แขมมณี. (2555). บัณฑิตศึกษาในศตวรรษที่ 21: การปรับหลักสูตรการสอน. [เอกสารอัดสำเนา

---------. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤตยรำภา ทรัพย์ไพบูลย์. (2556). การพัฒนาตัวแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ประจักษ์ ทรัพย์อุดม. (2550). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ :
ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

วันทนา สิงห์นา. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เสริมด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ต่อ มโนมติลม ฟ้า อากาศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 7 (ฉบับพิเศษ), 82.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สรวงพร กุศลส่ง. (2557). วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). เพชรบูรณ์: ดีดีการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แผนการจัดการเรียนรู้คละชั้นสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก (Multigrade Lesson Plan for Small School). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 3. (2562). คุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานศึกษาธิการภาค 3.

อริยา คูหา, และหริรักษ์ แก้วกับทอง. (2559). สมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (รายงานผลการวิจัย). ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Bellanca, J. & Brandt, R. (2010). 21th Century Skills: Rethinking How Students Learn. Indiana : Solution Tree Press.

Beukes.,Florida C G. (2006). Managing The Effects of Multi-Grade Teaching on Learner Performance in Namibia. Retrieve from http://ete.rau. ac.za/theses/available/ete-03132007-105315/ restricted/MEd-Florida-Beukes.pdf.

Cupp, L., et al. (2005).Chimacum intermediate multiage Program. Retrieved from http : //www. Chimacum.wednet.edu/multiage/

Inclusive-Philosophy of Inclusive Education. (2006).(1)“Inclusive Education: What It Means, Proven Strategies, and a Case Study” By Lilla Dale Retrieved from http://www.uni.edu/coe/inclusion/ philosophy/ Philosophy.html

Kim, J.S. (2005).The Effects of a Constructivist Teaching Approach on Student. Academic Achievement, Self-concept, and Learning Strategies.Asia Pacific.

Neamhom, N. (2006). Process development for the enhancement of teachers' behaviors in Promoting preschoolers' self-discipline using reflection and internalization concepts (Doctoral dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University.

Perner, D. & Port, L. (1998). Creating inclusive school : Changing strategies. Best and promising practices developmental disabilities. Austin, Texas: Pro-ed.

Piyasri, B. & Nillapun, M. (2015). The professional development model to enhance teaching competency of teachers through differentiated instruction. Silpakorn Educational Research Journal, 7(1),97-109.

Stainback, S., &Stainback, W. (1996).Curriculum consideration in inclusive classroom: Facilitating learning for all students. Baltimore: Paul H. Brooks.

Suwannapal, A. (2006). The learning experience for developing thinking of early childhood. In Learning experience for early childhood subject unit 1-6. Nonthaburi: SukhothaiThammathirat Open University.

Thambaworn, N. (1999). The story analysis: teaching and learning at early childhood level. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in