การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ พัฒนาการวรรณกรรมไทย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
The Learning Process Model Development in Thai Literature Development by Using the 5 STEPs Instructional Model to Enhance Critical Thinking Skills for Thai Language Teacher Students, Faculty of Education, Lampang Rajabhat University
วันที่ส่งบทความ: 30 ม.ค. 2565
วันที่ตอบรับ: 14 มี.ค. 2565
วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้พัฒนาการวรรณกรรมไทย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการวรรณกรรมไทยโดยใช้ กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาของภาษาไทย ที่มีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 2)เปรียบเทียบความสามารถด้านการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชาพัฒนาการวรรณกรรมไทยก่อนใช้ ขณะใช้และหลังใช้รูปแบบการเรียนรู้ พัฒนาการของวรรณกรรมไทย โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วิชาพัฒนการวรรณกรรมไทย แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมกลุ่มตามกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ในรายวิชาพัฒนาการวรรณกรรมไทย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ การหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ E1 /E2 ที่ 80/80 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) รูปแบบการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการของวรรณกรรมไทยโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 76.55 / 80.41 2) ความสามารถด้านการเรียนรู้ของนักศึกษาด้านการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการของวรรณกรรมไทยหลังใช้รูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยการทดสอบก่อนเรียนมีค่าร้อยละของค่าคะแนนเฉลี่ย คือ 64.10 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 9.51 อยู่ในระดับพอใช้ การทดสอบระหว่างเรียนและการประเมินคะแนนการทำงานกลุ่มมีผลค่าร้อยละของค่าคะแนนเฉลี่ย คือ 74.90 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 22.26 อยู่ในระดับดี และ การทดสอบหลังเรียนมีค่าร้อยละของค่าคะแนนเฉลี่ยคือ 80.67 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ 8.34 อยู่ในระดับดีมาก ส่วนพฤติกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.19 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.96 เมื่อพิจารณาพฤติกรรมเป็นรายด้าน พบว่า การให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นทีมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 3.28 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.92 รองลงมา คือ การร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.92 ส่วนความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 3.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.00
Abstract
This research aimed to 1) develop the learning process model in Thai literature development by using the 5-STEP instructional model to enhance critical thinking skills for Thai language teacher students and 2) compare students’ learning ability in learning Thai literature development before using, while using, and after using the 5-STEP instructional model. The target groups selected in this study were fifty-nine, second year Thai language teacher students, studying in the Faculty of Education, Lampang Rajabhat University. The research instruments were 1) the achievement test in the Thai Literature Development course and 2) the group work assessment form focusing on 5-STEP instructional model assessment in Thai Literature Development course. The quantitative data were analyzed by using the E1/E2 80/80 efficiency criteria, mean, and standard deviation. The students’ learning ability in Thai Literature Development by using the 5-STEP instructional model to enhance students’ thinking skill showed that the mean after using the instructional model was higher than before using the instructional model. Before using the instructional model, while using the instructional model and after using the instructional model obtained the mean scores of 64.10, 74.90, and 80.67 respectively. The efficiency criteria of the instructional model in Thai literature development by using 5-STEP instructional model was 76.55/80.41. The group work assessment results were at the good level with the average mean of 3.19, and the standard deviation of 0.96. Focusing on each element, the team collaboration had the highest mean scores of 3.28, standard deviation of 0.92. Sharing opinion in group work had the mean scores of 3.23, standard deviation of 0.92, and the students’ responsibility had the mean scores of 3.06, standard deviation of 1.00, respectively.
Keywords
การเรียนรู้ ; วรรณกรรมไทย ; กระบวนการเรียนรู้ ; ทักษะการคิด; Learning ; Literature ; Learning process; Thinking skills
How to cite!
ดารุณี นิพัทธ์ศานต์ (2566). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ พัฒนาการวรรณกรรมไทย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 137-154
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546) . การคิดเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: มีเดีย.
เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2559). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนาธิป พรกุล. (2555).การออกแบบการสอน การบูรณาการ การอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริมความสามารถด้าน
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมณี. (2560) . ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
---------, และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด . กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปเมจเม้นท์.
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ . (2539). แว่นวรรณกรรม รวมบทความ (พืมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อ่านไทย
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556).การพัฒนาการคิด. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
พรทิพย์ แข็งขัน, เฉลิมลาภ ทองอาจ, และนวพร สุรนาคะ. (2545). “วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย” ใน ภาษาไทยระดับมัธยมปลาย คู่มือฝึกอบรมครู. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาจารุพงษ์ จึงประยูร.(2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรี ยนวรรณคดีไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือแบบ CIRC กับวิธีการสอนตามคู่มือครู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์, และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2549). ภาษาส่องสังคม วรรณคดีส่องชีวิต. ใน ธเนศ เวศร์ภาดา (บ.ก.), รวมบทความประชุมวิชาการภาษาส่องสังคม วรรณคดีส่องชีวิต (น.17 – 47). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ล้อม เพ็งแก้ว (2549). ว่ายเวิ้งวรรณคดี . กรุงเทพฯ : พิมพ์คำ
วัชรพล วิบูลยศริน. (2561). วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย..
วัชราภรณ์ ศรีสิทธิยานนท์, อภิรักษ์ อนะมาน และสุวรรณี ยหกร.(2560). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการตอนสนองของผู้อ่านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และเจตคติในการเรียนสาระวรรณคดีและวรรณกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี. ในการประชุมระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2560 (RSU National Conference 2017) (น.1226-1235). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุคนธ์ สินธพานนท์, และคณะ.(2562). หลากหลายวิธีสอน...เพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
Indexed in