วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ผลการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

The Effect of Collaborative Instructional on Web-Based Instruction for Graduate Diploma in Teaching Certification Students of Ubon Ratchathani Rajabhat University


วันที่ส่งบทความ: 26 พ.ย. 2564

วันที่ตอบรับ: 11 ก.พ. 2565

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2566


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพบทเรียนตามการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2) ศึกษาประสิทธิภาพบทเรียนตามการเรียนการสอนแบบร่วมมือ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนตามการเรียนการสอนแบบร่วมมือ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนตามการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทเรียนตามการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบสอบถาม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.23 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 ถึง 0.70 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.912 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกแบบเจาะจงที่สอนในสถาบันอุดมศึกษา มีประสบการณ์สอนไม่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 8 คน และกลุ่มนักศึกษา คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จำนวน 60 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบประสิทธิภาพบทเรียนตามเกณฑ์เมกุยแกนส์ ผลการวิจัยสรุปได้ 1) ผลการศึกษาคุณภาพบทเรียนตามการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.55 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50) 2) ผลการศึกษาประสิทธิภาพบทเรียนตามการเรียนการสอนแบบร่วมมือ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 1.45 ซึ่งสูงกว่า 1.00 ตามเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หลังเรียนด้วยบทเรียนตามการเรียนการสอนแบบร่วมมือ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนตามการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.66 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.36)

Abstract

The objectives of this research were 1) to study the quality of the collaborative instruction on web-based computer network for graduate diploma in teaching certification students of Ubon Ratchathani Rajabhat University, 2) to study the effectiveness of the course content with collaborative instruction design, 3) to compare the academic achievement of students before and after the web-based course instruction, and 4) to study the students’ satisfaction of the course. The research instruments comprised the course content of the collaborative instructional model on web-based computer network, the questionnaires, and an achievement test of which the difficulty was between 0.23 and 0.80, discrimination was between 0.20 and 0.80, and reliability was 0.912. The samples consisted of 8 experts who have taught at the higher education institution for more than 10 years selected with the purposive sampling technique, and 60 students were selected with the cluster random sampling technique. In this study, the classroom was a sampling unit. Data for the study were collected in the first semester of Academic Year 2021. The statistics used were mean, standard deviation, t-test dependent, and course efficiency test based on Meguigans.

The research results were as follows: 1) the quality of the collaborative instruction assessed by experts was at the highest level of holistic appropriateness (mean = 4.55 and the standard deviation = 0.50); 2) the effectiveness of the collaborative web-based instruction reached 1.45, which was higher than Meguigans’ standard value at 1.00; 3) the learning achievement of students after the collaborative web-based instruction was significantly higher than before studying at 0.05 level; and 4) the students' satisfaction of the collaborative instructional web-based course exhibited the highest holistic appropriateness (mean=4.66 and the standard deviation=0.36).

Download in PDF (860.37 KB)

How to cite!

อัจฉรีย์ พิมพิมูล, & อิสรีย์ พิมพิมูล. (2566). ผลการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 107-122

References

กมลรัตน์ สมใจ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเว็บที่มระบบพี่เลี้ยงสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณในระดับอุดมศึกษ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เกศรินทร์ หมื่นจำนงค์. (2562). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประจวบ ทองใส. (2558). ผลการเรียนแบบร่วมกันผ่านระบบจัดการเรียนการสอนบนเว็บที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประวิทย์ สิมมาทัน. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เพ็ญศรี ศรีสวัสดิ์. (2556). การเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟไวท์บอร์ดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 3(6), 51-62.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2556). นวัตกรรม : การเรียนและการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ Innovation : computer-based learning and teaching. กรุงเทพ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

รัชฎาวรรณ นิ่มนวล. (2554). การเรียรู้แบบร่วมมือบนระบบเครือข่าย สำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงและการจัดการเรียนรู้ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

รัชดากร พลภักดี. (2563). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID-19. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง, 19(1). 1–5.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วีณา คงพิษ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีการช่วยเสริมศักยภาพทางการเรียนตามการเรียนรู้แบบ VARK  (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สนิท ตีเมืองซ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีการช่วยเสริมศักยภาพทางการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อัจฉรีย์ พิมพิมูล. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันแบบออนไลน์จิ๊กซอว์ที่มีประสิทธิภาพ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อัจฉรีย์ พิมพิมูล, และวชิระ โมราชาติ. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนรู้บนเว็บโดยใช้เทคนิคทีมสัมฤทธิ์ สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ในสถานการณ์โควิด-19.  อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in