การศึกษาข้อผิดพลาดในการสื่อสารภาษาจีนด้วยวาจาของผู้เรียนชาวไทย: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
A Study of Common Errors in Chinese Verbal Communication of Thai Learners: A Case Study of the Students in Prince of Songkla University, Pattani Campus
วันที่ส่งบทความ: 8 ส.ค. 2564
วันที่ตอบรับ: 1 พ.ย. 2564
วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2566
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ไขข้อผิดพลาดในการสื่อสารภาษาจีนด้วยวาจาของผู้เรียนชาวไทยที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยเก็บข้อมูลจากการสื่อสารภาษาจีนด้วยวาจาที่ใช้ไม่ถูกต้องในรายวิชาการฟัง-พูดภาษาจีนของกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555-2561 จำนวน 440 คน ในด้านการออกเสียง และด้านคำและโครงสร้างไวยากรณ์ รวม 1,058 ประโยค จากนั้นวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ข้อผิดพลาด (Error Analysis) ในการเรียนรู้ภาษาเป้าหมายและการถ่ายโอนภาษา (Language Transfer)
จากการศึกษาพบข้อผิดพลาดด้านคำและโครงสร้างไวยากรณ์มากกว่าข้อผิดพลาดด้านการออกเสียง เป็นสัดส่วนร้อยละ 89.32 และร้อยละ 10.68 ข้อผิดพลาดด้านคำและโครงสร้างไวยากรณ์ พบการใช้คำแทนที่ไม่ถูกต้องมากที่สุด รองลงมาเป็นพยางค์หรือคำขาด การเรียงลำดับคำในประโยคไม่ถูกต้อง และพยางค์หรือคำเกิน ตามลำดับ ส่วนข้อผิดพลาดด้านการออกเสียง พบการออกเสียงสระผิดมากที่สุด รองลงมาเป็นการออกเสียงพยัญชนะผิด สาเหตุของข้อผิดพลาดเกิดจากอิทธิพลของภาษาแม่ (ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่นใต้) มากที่สุด รองลงมาคืออิทธิพลจากพฤติกรรมการเรียนภาษาจีนของผู้เรียน อิทธิพลของภาษาเป้าหมาย (ภาษาจีน) รวมถึงวิธีการสอนของผู้สอน นอกจากนี้ ยังพบว่า ภาษาอังกฤษ การจำแนกตำแหน่งและอวัยวะการออกเสียงต่างส่งผลต่อข้อผิดพลาดในการสื่อสารภาษาจีนด้วยวาจาของผู้เรียน สำหรับแนวทางแก้ไขผู้สอนควรเปรียบเทียบความเหมือนต่างของภาษาจีนกับภาษาไทย แนะนำการใช้พจนานุกรม และสื่อเทคโนโลยีในการสืบค้นและช่วยแปลที่เหมาะสมและน่าเชื่อถือ ออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเอง รวมถึงผู้เรียนต้องหมั่นศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และเรียนรู้ด้วยตนเอง
Abstract
This research aimed to study, analyze and propose a solution for correcting errors in verbal Chinese communication of the Thai learners who enrolled in Chinese listening-speaking courses from the Academic Years 2012 to 2018, at Prince of Songkla University, Pattani Campus. Data were collected from improperly used verbal Chinese communication of the target group of 440 students in the areas of pronunciation, words and grammatical structure in a total of 1,058 sentences. Descriptive analysis was then used in the process of error analysis to learn the target language and language transfer.
The findings revealed that there were more words and grammatical errors than pronunciation errors, which accounted for 89.32% and 10.68% respectively. In the areas of word and grammatical errors, the most frequent ones were substitution errors followed by the missing syllable or missing word errors, the wrong word order as well as extra unnecessary syllable or word errors, respectively. As for pronunciation errors, the most errors were found in the mispronunciation of vowels followed by the mispronunciation of consonants. The cause of such mistakes was interference from the mother tongue (Standard Thai language and Southern Thai dialect), followed by the learner’s Chinese learning behavior, influence of the target language (Chinese), as well as the lecturer's teaching methods. It was additionally found that the sound origins and the phonological organs used in the English language, also caused errors in verbal Chinese communication among the Thai learners of Chinese. Therefore, it is suggested that teachers should compare the similarities and differences between Chinese and Thai, recommend the appropriate use of dictionaries and media technology for reliable and accurate searching and translating from one language to the other, and finally, design activities that involve students in the process of analyzing their own errors as well as encourage continuous further study and self-directed learning.
Keywords
ข้อผิดพลาด ; ภาษาจีน ; การสื่อสารด้วยวาจา ; ผู้เรียนชาวไทย ; มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; Learning errors; The Chinese Language; Verbal communication; Thai learners; Prince of Songkla University
How to cite!
นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ, ปิยวรรณ ปิยะกาญจน์, & ฟ่านหมิงซิน. (2566). การศึกษาข้อผิดพลาดในการสื่อสารภาษาจีนด้วยวาจาของผู้เรียนชาวไทย: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 91-106
References
กวินกรณ์ ชัยเจริญ, และสุกัญญา ทองแห้ว. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะความสามารถด้านการพูดภาษาจีนโดยการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. Journal of Modern Learning Development, 5(6), 16-25.
ทอร์นบอรี, สก็อต. (2546). วิธีสอนศัพท์ ชุดการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ [How to teach Vocabulary] (อมตา เวชพฤติ, นิภาวรรณ ชูรัตนสิทธิ และวีณา เกียรติ์อนุพงศ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
นัสยา ปาติยเสวี. (2561). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในการเขียนอีเมล์ธุรกิจของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 815-833.
ปิยจิตร สังข์พานิช. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยการแสดงบทบาทสมมติสำหรับนักศึกษาวิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ. วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ, 40(134), 41-54.
เยาวพร ศรีระษา. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ประกอบชุดสื่อประสมเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิวริน แสงอาวุธ. (2560). วิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนสาขาภาษาไทยในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 133-143.
ศุภิกา นิรัติศัย. (2561). ทัศนคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 138-170.
สุพิชญา ชัยโชติรานันท์. (2558). การศึกษาข้อผิดพลาดการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจในมิติด้านไวยากรณ์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(1), 116-126.
Brown, H. D. (2000). Principles of Language Learning and Teaching (4th ed). New York: Addison Wesley Longman.
Cowan, R. (2008). The teacher’s grammar of English with answers: A course book and reference guide. Cambridge University Press.
Du, Y.Q. (2006). Error Analysis of Korean Students’ Chinese Vocabulary. Journal of Anyang Normal University, (1), 102-104.
Feng, Y.Y. (2014). Error Analysis of Vocabulary in Compositions of South Korean Students (Master’ s Thesis). Tianjin: Tianjin Foreign Studies University.
James, C. (1998). Errors in Language Learning and Use. New York: Addison Wesley Longman. Larsen-Freeman, D., & Long, M. H. (2014). An introduction to second language acquisition research. Routledge.
Larsen-Freeman, D., & Long, M. H. (2014). An introduction to second language acquisition research. Routledge.
Li, T.Y. (2010). Investigation and Research on Error Analysis of Chinese Learning among Students of Prince of Songkla University in Thailand (Master’ s Thesis). Yunan: Yunnan University.
Lu, J.J. (1999). Thoughts on Teaching Chinese as a Foreign Language. Beijing: Beijing Language and Culture University Press.
Odlin, T. (1989). Language Transfer: Cross-Linguistic Influence in Language Learning. Cambridge: Cambridge University Press.
Selinker, L. (1972). Interlanguage. International Review of Applied Linguistics in Language Teaching, 10(3), 209-231.
Zhang, R.F. (2010). Error Analysis of Mongolian Students’ Use of Chinese Verbs. Journal of Inner Mongolia Normal University (Education Science), 23(9), 91-93.
Zhao, J.M. (2013). Introduction to Teaching Chinese as a Foreign Language. Beijing: The Commercial Press.
Indexed in