ผลการทดลองใช้กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการส่งเสริมความรู้ ความอ่อนไหว และการตระหนักทางวัฒนธรรมชุมชนสำหรับเยาวชนในจังหวัดชลบุรีโดยใช้แนวคิดแอนดราโกจี
Effects of the Experimental Non-formal Educational Activities Based on Andragogy Theory to Promote Community Cultural Knowledge, Sensitivity, and Awareness of Youth in Chonburi Province
วันที่ส่งบทความ: 1 ก.ย. 2564
วันที่ตอบรับ: 14 ต.ค. 2564
วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจระดับการเห็นคุณค่าด้านความรู้ ความอ่อนไหว และการตระหนักทางวัฒนธรรมชุมชนของเยาวชนในชุมชน 2) ออกแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการส่งเสริมความรู้ ความอ่อนไหวและการตระหนักทางวัฒนธรรมชุมชนสำหรับเยาวชนจังหวัดชลบุรีโดยใช้แนวคิดแอนดราโกจี และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูล คือ เยาวชนในอำเภอศรีราชาที่มีอายุ 14-18 ปี จำนวน 535 คน กลุ่มตัวอย่างในการทดลองกิจกรรม คือ เยาวชนในอำเภอศรีราชา ที่มีอายุ 14-18 ปี จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดระดับการเห็นคุณค่าวัฒนธรรมชุมชนของเยาวชน แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนฯ แบบประเมินระดับความรู้ ความอ่อนไหว และการตระหนักทางวัฒนธรรมชุมชน (ประเพณีแห่พญายม) และแบบสะท้อนผลการทดลองใช้กิจกรรมฯ มีสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ dependent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ α=0.05
ผลการวิจัยพบว่า 1) การวัดระดับการเห็นคุณค่าวัฒนธรรมชุมชนอำเภอศรีราชาทั้ง 3 วัฒนธรรม พบว่า เยาวชนมีระดับค่าเฉลี่ยการเห็นคุณค่าของประเพณีแห่พญายมต่ำที่สุด (x = 3.15, S.D. = 0.10) จึงนำมาใช้เป็นเนื้อหาในการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ 2) การออกแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนฯ ประกอบไปด้วย 8 ขั้นตอน ตามแนวคิดแอนดราโกจี โดยมีการจัดการสนทนากลุ่มให้ผู้เรียนและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกิจกรรมได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยร่วมกัน 3) ผลการทดลองกิจกรรม พบว่า เยาวชนจังหวัดชลบุรีมีระดับค่าเฉลี่ยการเห็นคุณค่าวัฒนธรรมชุมชนทั้งด้านของความรู้ ความอ่อนไหว และการตระหนักทางวัฒนธรรมชุมชนหลังทดลองเท่ากับ 4.69 สูงกว่าก่อนการทดลองกิจกรรมเท่ากับ 3.05 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) โดยผู้เรียนมีการสะท้อนผลการจัดกิจกรรมว่า กิจกรรมการเรียนรู้นี้มีเนื้อหา รูปแบบการจัดกิจกรรม และกระบวนการถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสมในการส่งเสริมผู้เรียนให้ตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
Abstract
This study adopted a quasi-experimental research approach aimed to 1) survey the levels of community cultural knowledge, sensitivity, and awareness of Chonburi Province's youth, 2) design non-formal educational activities based on Andragogy Theory to promote community cultural knowledge, sensitivity, and awareness of Chonburi Province's youth and 3) study the effects of non-formal educational activities. The sample group for quantitative data collection were 535 youths with the age range between 14-18 years old in Sriracha District. The sample group for the activity experiment consisted of 25 youths with the age range between 14-18 years old in Sriracha District. The instruments used in this study were appreciation of community culture scale, focus group discussion, non-formal educational activities plan, appreciation of Hae Phaya Yom Festival scale and reflective learning form. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and dependent t-test at the statistic significant level of α=0.05.
The results were: 1) Levels of appreciation of the three community cultures in Sriracha District, Chonburi province were reported. It was found that youth had appreciation of Hae Phaya Yom Festival at the lowest average (x = 3.15, S.D. = 0.10). Then, the topic was used as content of the activities. 2) The non-formal educational activities plan developed based Andragogy Theory consisted of 8 levels, implemented as a focus group that allowed learners and activity specialists to participate in the design of self-learning activities. 3) The results of the experimental non-formal educational activities based on Andragogy Theory to promote community cultural knowledge, sensitivity, and awareness of Chonburi Province's youth revealed that after the experiment the mean score was 4.69, which was higher than the mean before the experiment which was 3.05 at the p-value of 0.01. Moreover, the learners’ reflection on their learning indicated that the activities appropriately included content, while the learning activity style and the process efficiently supported increasing awareness and appreciation for the importance of community culture.
Keywords
กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ; แอนดราโกจี ; การส่งเสริมความรู้ ; ความอ่อนไหวและการตระหนักทางวัฒนธรรมชุมชน
How to cite!
ปนัสยา เมฆพักตร์, & วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. (2566). ผลการทดลองใช้กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการส่งเสริมความรู้ ความอ่อนไหว และการตระหนักทางวัฒนธรรมชุมชนสำหรับเยาวชนในจังหวัดชลบุรีโดยใช้แนวคิดแอนดราโกจี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 61-76
References
กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). ร่างกรอบทิศทางยุทธศาสตร์ 20ปี ด้านวัฒนธรรม ตามกรอบทิศทางยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด, สำนักงานพัฒนาจังหวัดชลบุรี. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดชลบุรี (พ.ศ. 2561-2565). ชลบุรี: ผู้แต่ง.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2534). วัฒนธรรมไทยกับการเปลี่ยนแปลงสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
---------. (2537). วัฒนธรรมไทยกับขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชมพูนุช ลลิตมงคล. (2556). กระบวนการเรียนรู้ของเยาวชนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. (2544). การศึกษาผู้ใหญ่ : ปรัชญาตะวันตกและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์. (2559). ศาสตร์และศิลป์การสอนผู้ใหญ่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14(2), 40-53.
บรมัตถ์ ท้าวแก่นสาร. (2555). ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดแอนดราโกจีที่มีต่อความสามารถในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของเยาวชนไทใหญ่ . กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพิมพ์พรรณ สุวรรณกูฏ. (2557). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกของเด็กและเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พึงรัก ริยะขัน. (ม.ป.ป.). วัฒนธรรมไทย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม .
วงเดือน นาราสัจจ์, และชมพูนุท นาคีรักษ์. (2551). ประวัติศาสตร์ ม.1. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (4 กรกฎาคม 2562). ภาพรวม อีอีซี. สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th/th/government-initiative
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี. (4 กรกฎาคม 2562). ข้อมูลวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://chonburi.m-culture.go.th/th/db_7_ChonBuri_34
อรพินทร์ ชูชม. (2552). การวิจัยกึ่งทดลอง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1), 1-15.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2559). การเรียนรู้ของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kidd, J.R. (1973). How Adults Learn. New York: Association Press.
Knowles, M.S. (1980). The modern practice of adult education: From pedagogy to andragogy. Englewood Cliffs, NJ: Cambridge Adult Education
---------. (1998). The Adult Learner: The Definitive Classic in Adult Education and Human Resource Development. San Diego, CA: Elsevier.
Malmo, J. R. (2013). Development of the Cultural Appreciation of Martial Arts Scale. Fayetteville: University of Arkansas.
Indexed in