วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การวิเคราะห์เปรียบเทียบสาระวิทยาศาสตร์ในหลักสูตรปัจจุบันสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคตของหลักสูตรประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้

Comparative Analysis of Science Strand in the Current Curriculum to the Future Changes of the Thai and South Korean Curriculum


วันที่ส่งบทความ: 25 ธ.ค. 2564

วันที่ตอบรับ: 14 มี.ค. 2565

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2566


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อวิเคราะห์สาระและการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของหลักสูตรประเทศไทยกับประเทศเกาหลีใต้ 2.วิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางด้านวิทยาศาสตร์ของหลักสูตรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการวิจัยนี้เป็นเชิงบรรยายที่ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากเอกสารหลักสูตรของประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้ ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1.การเปรียบเทียบองค์ประกอบของหลักสูตรใน 5 ด้าน 1.1 วิสัยทัศน์ของหลักสูตร พบว่าหลักสูตรของทั้งสองประเทศนั้นต่างมุ่งเน้นไปที่ความเป็นมนุษย์ของคนในชาติที่ควรได้รับการพัฒนา 1.2 เป้าหมายของหลักสูตร พบว่ามีความแตกต่างกันในองค์ประกอบต่าง ๆ ในเป้าหมายของหลักสูตรทั้งสองประเทศ 1.3 เป้าหมายรายวิชาวิทยาศาสตร์ พบว่ามีการกำหนดลักษณะเป้าหมายที่แตกต่างกันของทั้งสองหลักสูตรซึ่งหลักสูตรประเทศเกาหลีใต้มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน 1.4 โครงสร้างเวลาเรียน พบว่าทั้งสองหลักสูตรมีโครงสร้างเวลาเรียนที่มีความแตกต่างกัน 1.5 การจัดการเรียนรู้ พบว่าการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของทั้งสองหลักสูตรมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ส่วนที่ 2. แนวโน้มและทิศทางด้านวิทยาศาสตร์ของหลักสูตรในอนาคตของหลักสูตรทั้งสองประเทศพบว่า ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ประเทศเกาหลีใต้มีการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะมาตั้งแต่ปี 2013 และกำลังมีการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร โดยหลักสูตรที่มีการปรับปรุงของเกาหลีใต้นั้นมีประเด็นสำคัญคือการนำระบบธนาคารหน่วยกิตไปใช้ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมด เพื่อเป็นการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประเทศไทยที่กำลังจะมีการนำหลักสูตรฐานสมรรถนะมาใช้ ก็เป็นสิ่งที่ดีในการที่จะศึกษาข้อค้นพบจากการใช้หลักสูตรที่ผ่านมาแล้วของประเทศเกาหลีใต้

Abstract

This research had two objectives: 1) to analyze the subject matter and management of science learning in the curricula of Thai land and South Korea and 2) to analyze the trends and directions of future science curricula. This descriptive research content analyzed the data from curricular documents from Thailand and South Korea. The research results were divided into two parts. Part 1: Comparison of curriculum components in 5 aspects. 1.1) In the aspect of curriculum vision, it was found that the curricula of both countries focused on the human qualities of their citizens to be developed. 1.2) In the aspect of curricula goals, it was found that there were differences in the various curricula components in the science curricula of both countries.1.3) In the aspect of the objectives of the science course goals, it was found that different targeted characteristics of the two curricula in the study with the South Korean curriculum having clearly defined goals 1.4) In the aspect of the study time structure, it was found that the two curricula had different study time structures. 1.5) In the aspect of learning management, it was found that the management of science learning of the two curricula was clearly different. Part 2: Trends and directions of the future science curricula of both countries--it was found that Thailand has improved and developed the curriculum into a competency-based curriculum, while South Korea has been using a competency-based science curriculum since 2013 and is developing and significantly improving its curriculum. The newly-improved curriculum is centered around the adoption of credit banking in all secondary schools in order to foster a lifelong learning society. As a result, it is a good opportunity for Thailand to learn from the findings from the implementation of the South Korean competency-based science curriculum.

Download in PDF (749.28 KB)

How to cite!

กิตติพศ โกนสันเทียะ, ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง, & เอกรัตน์ ทานาค. (2566). การวิเคราะห์เปรียบเทียบสาระวิทยาศาสตร์ในหลักสูตรปัจจุบันสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคตของหลักสูตรประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 36-49

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

---------. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

---------. (2564). คู่มือการใช้ร่างกรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นจาก https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/กรอบหลักสูตร/ช่วงชั้นที่-1/ดาวน์โหลดเอกสารหลักสูต/

---------. (2564). ร่างกรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นจาก https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/กรอบหลักสูตร/ดาวน์โหลด-ร่าง-กรอบหลัก%2F

วรินทร บุญยิ่ง. (2556). การวิเคราะห์จุดเน้นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของสาธารณรัฐเกาหลี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 97-107

ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สสวท.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). นักเรียนเกาหลีใต้เขาเรียนหนังสือกันอย่างไร. FOCUS  ประเด็นจาก PIZA [จุลสาร]. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/0BwqFSkq5b7zSa2FpdDBkZ3V1OU0/view?resourcekey=0-6NSCkWcDsnON8otZerbaFg

---------. (2559). รายงานวิจัยผลโครงการ TIMSS. กรุงเทพฯ: สสวท.

---------. (2560). การสร้างนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต. FOCUS ประเด็นจาก PIZA [จุลสาร].  สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2017-23/

---------. (2560). PISA กับประเทศไทย: ความจริงที่ต้องยอมรับ. FOCUS ประเด็นจาก PIZA [จุลสาร]. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2017-18/

---------. (2560). วิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยกับนักเรียนในภูมิภาคเอเชีย. FOCUS ประเด็นจาก PIZA [จุลสาร]. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2017-22/

---------. (2561). เบื้องหลังความสำเร็จใน PISA ของบางประเทศ. FOCUS ประเด็นจาก PIZA [จุลสาร]. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2018-36/

---------. (2562). ระบบการศึกษาที่ดีเป็นอย่างไร. FOCUS ประเด็นจาก PIZA [จุลสาร]. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-45/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2563 (IMD 2020). สืบค้นจาก http://www.onec.go.th/th.php/book/BookView/1836

---------. (2562). รายงานผลการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นสำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นจากhttp://www.onec.go.th/th.php/book/BookView/1687

---------. (2562). รายงานพันธกิจ ของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/1iXQf97QA44_gPWLpYu11LeRlj-9MKjc8/view

Cho, J., & Huh, J. (2015). New Education Policies and Practices in South Korea. Retrieved from https://neqmap.bangkok.unesco.org/new-education-policies-and-practices-in-south-korea/

Gantumur, G., Kwak, Y., & Cha, H. (2020). A Comparative Study on the Contents of Secondary Earth Science Curriculum between Mongolia and South Korea. Journal of the Korean Association for Science Education, 40(6), 621-630.

Lee, II., & Kwak, Y. (2021). Ways to Restructure Science Elective Courses in Preparation for the High School Credit System and the 2022 Revised Curriculum.  Journal of the Korean Association for Science Education, 41(2), 145-155.

Ministry of Education. (2015). The National Curriculum for the Primary and Secondary Schools. Seoul: NCIC.

---------. (2015). The Science curriculum. Seoul: NCIC.

OECD. (2014). Lessons form PISA for Korea, Strong Performers and Successful Reformers in Education. Paris: OECD.

---------. (2019). TALIS 2018 Results (Volume I): Teachers and School Leaders as Lifelong Learners Paris: OECD.

---------. (2020). TALIS 2018 Results (Volume II): Teachers and School Leaders as Valued ProfessionalsParis: OECD.

---------. (2021). Teachers Getting the Best out of Their Students: From Primary to Upper Secondary Education. Paris: OECD.

Presidential Council on Education. (2021). Public participation in curriculum revision discussionSeoul: NCIC.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in