การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาทางด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Using Forensic Case Studies to Promote Health Literacy in the Topic of the Human Body Systems for Eighth Grade Students
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาทางด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในระหว่างและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ วิจัยนี้เป็นวิจัยปฏิบัติการ 3 วงจรปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สำหรับสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ควรให้ความสำคัญกับการเลือกสถานการณ์ที่มีความน่าสนใจ เป็นเรื่องที่อ้างอิงจากความเป็นจริง มีตัวละครหลักที่ใช้ดำเนินเรื่อง มีข้อขัดแย้งหรือประเด็นให้ถกเถียง กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการอภิปราย และสถานการณ์จะต้องสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน สำหรับผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพพบว่า นักเรียนมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นตามลำดับจากวงจรปฏิบัติการที่ 1 ถึง 3 โดยองค์ประกอบความรอบรู้ด้านสุขภาพที่นักเรียนพัฒนามากที่สุด คือ การเข้าถึงข้อมูลและบริการ ความรู้ความเข้าใจ ทักษะการจัดการตนเอง รองลงมา คือ การรู้เท่าทันสื่อ การตัดสินใจเพื่อการปฏิบัติ และลำดับสุดท้าย คือ ทักษะการสื่อสาร
Abstract
The purposes of this study were to 1) investigate the ways of using forensic case studies to promote health literacy in the human body systems topic, 2) study the results of the development of health literacy by using forensic case studies in the human body systems topic.This study was designed as a classroom-based action research, through 3 continuous cycles. The participants were eighth grade students at a secondary school in Phitsanulok province, selected by purposive sampling technique. The research instruments consisted of the lesson plans, reflective journals, students’ worksheets and health literacy evaluation forms. Data were analyzed by using descriptive statistics for mean and percentage. The content analysis approach was employed and the reliability of the collected data was verified by data triangulation. The results indicated that the effective ways to develop students’ health literacy based on forensic case studies should focus on choosing interesting and real-life situations with main characters running the story in the situation. The situation should have conflicts or issues to be discussed and the situation must be consistent with the content learned. For the effect of this learning management on students’ health literacy, it was found that students’ health literacy was improved continuously from the first to the third cycle of the classroom action research. The students mostly developed access skill, cognitive skill and self-management skill, followed by media literary skill and decision skill Communication skill was the last in the development list.
Keywords
การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน; ความรอบรู้ด้านสุขภาพ; นิติวิทยาศาสตร์; ระบบร่างกายมนุษย์ ; Case-Based Learning; Heath Literacy; Forensic Science; Human Body Systems
How to cite!
ลินละดา จันทนะชาติ, & ธิติยา บงกชเพชร. (2566). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาทางด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(1), 179-197
Indexed in