วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

The study of English Teachers’ Burnout During COVID-19 Pandemic

การศึกษาความเหนื่อยหน่ายของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในช่วงภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


บทคัดย่อ

ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (COVID-19) ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษรายงานถึงผลกระทบที่ส่งตรงทั้งทางด้านจิตใจและสุขภาพ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดประกอบกับภาระงานล้นมือ จุดประสงค์ของการศึกษา ได้แก่ 1) ศึกษาสาเหตุความเหนื่อยหน่ายของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในช่วงภาวะการแพร่ระบาดของโควิด19 และ  2) ศึกษาวิธีลดความเหนื่อยหน่ายของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในช่วงภาวะการแพร่ระบาดของโควิด19 การเก็บข้อมูลในการศึกษานี้ ได้เก็บข้อมูลจากครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่กำลังศึกษาปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและปัจจัยที่มีผลต่อความเหนื่อยหน่ายของครู แนวคำถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย ได้พบถึงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายที่ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกกฤษต้องเผชิญในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้แก่ 1) การขาดอุปกรณ์การสอน และทักษะการสอนออนไลน์ 2)  ความต้องการการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร 3) การติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง 4) ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางบ้าน และเพื่อลดความเหนื่อยหน่ายของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในช่วงภาวะการแพร่ระบาดของโควิด19 จากผลการวิจัยนั้น สามารถลดความเหนื่อยหน่ายของครูได้ดังนี้ 1) รัฐบาลควรให้คำแนะนำปรึกษากับผู้บริหารโรงเรียน และให้ครูมีอุปกรณ์การสอนออนไลน์ที่เหมาะสม 2) ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างครู-นักเรียน ผู้ปกครอง-ครู และ 3) ควรมีการอบรมครูเรื่องการเรียนการสอนออนไลน์ในหัวข้อที่เหมาะสม และครูสนใจเพื่อให้ครูเกิดความมั่นใจในการเรียนการสอน และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นด้วย

Abstract

During the COVID-19 lockdown in Thailand, English teachers were reporting the impact of various stress factors associated with work overload on mental and physical health. The objectives of this study were to 1) explore the reasons behind English teachers’ burnout during the COVID-19 Pandemic, and 2) investigate coping mechanisms used to reduce burnout.  The data were collected from 60 English teachers earning their master’s degree at Sukhothai Thammathirat Open University in Thailand. A questionnaire on personal data and the factors affecting teachers’ burnout guide the questions for focus group interview serve as the research instruments. Statistics employed for the questionnaire data analysis were the mean and standard deviation, while the focus group data were analyzed using Content analysis. The result of this study revealed the challenges that English teachers have faced and lessons that have been learned at this stage of the pandemic which were 1) lack of ICT teaching equipment and competency 2) administrative support 3) parent communication 4) anxiety about their home situations. In order to reduce stress for teachers, the study revealed the following: 1) more government consultation and communication with school leaders is recommended and basic online teaching should be provided 2) positive teacher–student relationships and parent–teacher relationships should be enhanced and, 3) last but not least, online teaching training is the main factor that English teachers need. However, the training topics should match online learning and help teachers gain confidence in online teaching and create effective online curriculum.

Download in PDF (664.57 KB)

How to cite!

Yiemkuntitavorn, S., & Suksawad, W. (2566). การศึกษาความเหนื่อยหน่ายของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในช่วงภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 17(1), 150-161

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in