โปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดเซเฟอร์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล
A Social and Emotional Learning Program Based on SAFER and Cooperative Learning Approaches to Enhance Social Competence of Kindergarteners
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดเซเฟอร์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงพัฒนา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุ 5 - 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแหลมแท่น จำนวน 15 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง ใช้ระยะเวลาในการจัดโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมเป็นจำนวน 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และแบบประเมินความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วยเนื้อหา 5 เรื่อง ได้แก่ การตระหนักรู้ตนเอง การจัดการตนเอง การตระหนักรู้สังคม ทักษะสัมพันธภาพ และการตัดสินใจอย่างรับผิดชอบ โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมพร้อมเรียนรู้ การร่วมมือเรียนรู้ และการสรุปการเรียนรู้ 2) โปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความตรงเชิงเนื้อหาและมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) แบบประเมินความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความตรงเชิงเนื้อหาและมีความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมินอยู่ในระดับสูง 4) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถทางสังคมหลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนการทดลองใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purpose of this research was to develop a social and emotional learning (SEL) program to enhance social competence of kindergarteners by using the R&D methodology. The sample in the study consisted of 15 5- 6-year-old children studying in Kindergarten 3 at Baan Laem Taen School selected by using Purposive Sampling Technique The developed SEL program spanned twelve weeks. The research instruments were an Item-Objective Congruence Index (IOC) form and an assessment of social competence in kindergarteners consisting of 12 items. The statistics used for analyzing the collected data were descriptive statistics, and repeated measures ANOVA.
The results showed that 1) The developed SEM program contained five main themes, that is, Self-awareness, Self-management, Social awareness, Relationship skills, and Responsible decision-making, which composed of three phases of the activity implementation process, namely Check-in, Co-learning, and Conclusion 2) A social and emotional learning program developed by the researcher, had the content validity and appropriateness at the highest level. 3) An assessment of social competence in kindergarteners developed by the researcher, had the content validity and Inter-rater reliability at a high level. 4) The social competence after using the program were higher than before using the program with a .01 level of significance.
Keywords
ความสามารถทางสังคม ; การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม; แนวคิดเซเฟอร์; การเรียนรู้แบบร่วมมือ; Social Competence; Social and Emotional Learning; SAFER; Cooperative Learning
How to cite!
รังสิรัศม์ วงศ์อุปราช, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ, & ชาริณี ตรีวรัญญู. (2566). โปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดเซเฟอร์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(1), 134-149
Indexed in