ผลการบูรณาการองค์ความรู้แบบสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา
The Results of Cognitive Integration by STEM Education in Schools
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาตามรูปแบบสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา 2) ศึกษาผลจากการบูรณาการองค์ความรู้แบบสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาที่เกิดกับผู้เรียน และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินงานโครงการสะเต็มศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้แทนศูนย์สะเต็มศึกษา อาจารย์จากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง และผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ รวม 750 คน เครื่องมือที่ใช้การเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษาตามรูปแบบสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา พบว่า ด้านการบริหารจัดการและงบประมาณ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู ด้านสื่อ เทคโนโลยี และแหล่งเรีนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล มีระดับการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 4.14 4.03 และ 4.17 ตามลำดับ 2) ผลจากการบูรณาการองค์ความรู้แบบสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาที่เกิดกับผู้เรียน พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 4.09 4.09 และ 3.93 ตามลำดับ 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินงานโครงการสะเต็มศึกษาแก่ทุกระดับ ได้แก่ การกำหนดนโยบายที่ชัดเจน การปรับโครงสร้างหลักสูตร การผลิตและพัฒนาครู การสร้างเครือข่าย การสนับสนุนปัจจัยทางการศึกษา และการกำกับ ติดตาม และประเมินผล
Abstract
This research aims to 1) study STEM education management conditions in schools, 2) study the results of STEM education integration in schools that affect learners, and 3) make policy recommendations on STEM education projects. This research adopted a mixed-methods approach. The informant groups included 750 people consisting of teachers, students, representing STEM studies centers, lecturers from nanny universities, and qualified persons form all regions nationwide. The data collection instruments contained interviews, and focus group discussion issues and questionnaires. The collected data were analyzed by mean, standard deviation, and content analysis.
The results of the research showed that: 1) Based on the issue of STEM education management conditions in schools, it was found that management and budgeting in organizing learning activities for teachers; media, technology and learning resources as well as measurement and evaluation had an overall level of practice at a high level. The mean values were 4.19, 4.14, 4.03 and 4.17, respectively. 2) Based on the results of STEM education integration in schools that affect learners, it was found that students had the ability to communicate. The levels of thinking ability, problem-solving ability and the ability to use technology as a whole was at a high level. The mean values were 3.99, 4.09, 4.09 and 3.93, respectively. 3) Policy recommendations for STEM education projects at all levels comprised clear policy formulation, curriculum restructuring, teacher production and development, networking, supporting educational factors, and supervision, monitoring and evaluation.
Keywords
How to cite!
ศศิธร กาญจนสุวรรณ, ทิวัตถ์ มณีโชติ, & สมคิด พรมจุ้ย. (2566). ผลการบูรณาการองค์ความรู้แบบสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(1), 90-104
Indexed in