การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดตามรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการ ของนักศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
Development of a Massive Open Online Course with the Causal Relationship Model of Factors Affecting Entrepreneurial Characteristics to Promote Entrepreneurial Characteristics of Students in Large Private Vocational Colleges in Bangkok
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาอาชีวศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผล 3) พัฒนาหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดตามรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการ 4) เปรียบเทียบคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการก่อนและหลังการใช้หลักสูตรออนไลน์แบบเปิด และ 5) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรออนไลน์แบบเปิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาอาชีวศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง จำนวน 370 คนเพื่อศึกษาปัจจัยและรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาอาชีวศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ 1 แห่ง จำนวน 30 คนเพื่อศึกษาผลการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดตามรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่ต้องการ แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรออนไลน์แบบเปิด และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรออนไลน์แบบเปิด โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติค่า paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการมี 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้เรียน ผู้สอน ผู้บริหาร สถานศึกษาและความตั้งใจในการประกอบการ 2) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมติฐานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยปัจจัยด้านผู้เรียน ผู้สอน ผู้บริหารและสถานศึกษามีอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยด้านความตั้งใจในการประกอบการและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการผ่านปัจจัยความตั้งใจในการประกอบการ โดยปัจจัยด้านความตั้งใจในการประกอบการมีอิทธิพลทางตรงต่อคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการและเป็นตัวแปรคั่นกลางระหว่างปัจจัยอื่นๆ 3) การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดตามรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ เนื้อหาบทเรียน กิจกรรม สื่อ แบบฝึกหัด การประเมินผล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประกาศนียบัตร โดยความเหมาะสมของหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 3.94, SD = 0.703). = 4.52, S.D. = 0.31) ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและได้เสนอแนะให้ปรับเปลี่ยนธีมสีของเว็บไซต์ให้สบายตาและดูทันสมัยยิ่งขึ้น รวมทั้งใช้ธีมสีไปในแนวทางเดียวกัน 4) คุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการหลังการใช้หลักสูตรออนไลน์แบบเปิดสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรออนไลน์แบบเปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 และ 5) ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.87, S.D. = 0.04) ผู้เรียนมีความคิดเห็นว่า หลักสูตรออนไลน์แบบเปิดนั้นดีและเรียนสนุก โดยเสนอแนะให้เพิ่มความน่าสนใจให้กับบทเรียนให้มากยิ่งขึ้น ผลวิจัยสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดอย่างครบทั้ง 7 องค์ประกอบ เหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยู่ และสภาพที่ต้องการตามรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลช่วยเสริมสร้างและพัฒนานักศึกษาอาชีวศึกษาให้มีคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการที่พึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Abstract
The purposes of the study were to: 1) study the causal factors affecting entrepreneurial characteristics, 2) verify the causal relationship model of factors, 3) develop a massive online open course according to the causal relationship model to promote entrepreneurial characteristics, 4) compare entrepreneurial characteristics before and after the course use, and 5) study student satisfaction towards the course. The sample group consisted of 370 vocational students in 8 large private vocational colleges in Bangkok to study causal factors and the casual relationship model and 30 students in one selected college to study the course use. Research instruments were causal factors questionnaire, current and desirable conditions of a massive open online course questionnaire, course appropriateness questionnaire, and satisfaction questionnaire. Statistical methods used were means, standard deviation, structural equation model (SEM) analysis, content analysis, and paired t-test.
The research results were 1) there were 5 causal factors affecting entrepreneurial characteristics covered student, teacher, administrator, institution, and entrepreneurial intention factors 2) the causal relationship model was valid with the empirical data. The student, teacher, administrator and institution factors had indirect effects to entrepreneurial characteristics through entrepreneurial intention factor and the entrepreneurial intention factor had direct effects to entrepreneurial characteristics. 3) the course development according to the causal relationship model consisted of 7 components, that is, content of entrepreneurial characteristics, learning tasks, visual aids, exercises, evaluation, knowledge exchange, and certificate. The course appropriateness was at a very high level (x̄= 4.52, S.D. = 0.31) according to experts’ opinions. They also recommended color adjustment of the website to look easy on the eye and modern. All colors should go in the same direction. 4) the entrepreneurial characteristics after the course use were significantly higher than the entrepreneurial characteristics before the course use at 0.05 level of significance and 5) the course satisfaction was at a very high level (x̄ = 4.87, S.D. = 0.04). Students felt that the course was good and fun. However, adding attractive designs would be more interesting. In conclusion, developing a massive online open course with 7 components, right conditions, and right causal relationship model helped promote and develop vocational students to efficiently obtain desirable entrepreneurial characteristics.
Keywords
หลักสูตรออนไลน์แบบเปิด ; รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ; ปัจจัยที่ส่งผล ; คุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการ; Open Online Course; Causal Relationship Model; Causal Factors; Entrepreneurial Characteristics
How to cite!
พัชรา วาณิชวศิน (2566). การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดตามรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการ ของนักศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(1), 72-89
Indexed in