การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ส่งเสริมคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ของบุคลากรทางการศึกษาและเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนนทบุรี
Development of a Lifelong Learning Model Enhancing Thais’ Desirable Characteristics of Educational Personnel and Juveniles in Nonthaburi Educational Service Area
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา 1) รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตในบริบทของครูและนักเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนนทบุรี เขต 2 ที่ส่งเสริมคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ 2) รูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการวิจัยเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ตามแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ 3) รูปแบบการบูรณาการทักษะแห่งอนาคตกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในการฝึกอบรมและการนำไปใช้ในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ และ 4) รูปแบบกิจกรรมสัมพันธ์ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์สำหรับครูและนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัยร่วมกับการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยใช้การวิจัยและพัฒนาแบบผสมผสานดำเนินการวิจัย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจความต้องการในการจัดการปัญหา 2) การร่างรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตฯ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ 4) พัฒนาร่างรูปแบบฯ 5) ทดลองใช้ 6) พัฒนารูปแบบฯ รอบที่สอง 7) การประเมินการจัดกิจกรรมและคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ และ 8) เผยแพร่ กลุ่มที่ศึกษา ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 111 คน และเยาวชน(นักเรียน) จำนวน 1,776 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการ แบบประเมินความเหมาะสม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ แบบประเมินคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีองค์ประกอบ ได้แก่ การส่งเสริมให้ครูใช้เทคโนโลยีและนำนวัตกรรมการวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ตามบริบทของตนเอง บูรณาการทักษะแห่งอนาคตและคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ตามแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติในการเรียนรู้และนำไปจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสัมพันธ์ในการฝึกอบรม กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูและการนำไปใช้ในการปฏิบัติการสอนแก่นักเรียนจริงในสถานศึกษา หลังกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถส่งเสริมคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ของบุคลากรทางการศึกษาและเยาวชนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการวิจัยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ตามแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ มีองค์ประกอบ ได้แก่ การบอกเล่าถึงปัญหาที่แท้จริงจากการสอนเพื่อปรับเปลี่ยนความเชื่อและกรอบความคิดโดยนำการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและการหากลยุทธ์ เทคนิควิธีสอนจากงานวิจัยเพื่อที่จะนำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ของตนเอง และ นำผลงานมาสะท้อนการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกัน 3) การพัฒนารูปแบบการบูรณาการทักษะแห่งอนาคตกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในการฝึกอบรมและการนำไปใช้ในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา มีองค์ประกอบ ได้แก่ กระตุ้นประสบการณ์ร่วมในองค์ความรู้หรือแนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้นในวงการการศึกษาโดยการลงมือปฏิบัติกิจกรรมและวิเคราะห์นักเรียนสู่การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยมีอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นโค้ชและเพื่อนครูร่วมแลกเปลี่ยนให้ข้อเสนอแนะ ประเมินผลเพื่อสะท้อนผลที่เกิดขึ้นกับตนเอง ความสำเร็จ ความล้มเหลว ประเด็นที่เกิดการเปลี่ยนแปลง และ 4) การพัฒนารูปแบบกิจกรรมสัมพันธ์ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู มีองค์ประกอบ ได้แก่ กระตุ้นให้ครูค้นพบปัญหาและความต้องการในการพัฒนาตนเองที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในบริบทการทำงานในสถานศึกษาของตนเอง พัฒนาทักษะที่จำเป็นในการทำงานตามแนวคิดของการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้เกิดการ Reskills/Upskills ปฏิบัติในสถานศึกษาพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ โดยมีคณาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นโค้ช
Abstract
This action research aimed to develop 1) a lifelong learning model in the teacher and student context in Nonthaburi Educational Service Area 2 enhancing Thais’ desirable characteristics, 2) a model on knowledge transfer, technology, and research innovation to enhance Thais’ desirable characteristics based on royal initiatives into practices, 3) an integrative model between future skills and lifelong learning management technique for training and application into teaching within schools to enhance Thais’ desirable characteristics, and 4) a lifelong learning relationship activity model through professional learning community (PLC) to enhance Thais’ desirable characteristics for teachers and students. The participants were 111 educational personnel and 1,776 youths (students). The research instruments included the questionnaire, the evaluation form on suitability, the focus group record form, the Thais’ desirable characteristics observation form, and the Thais’ desirable characteristics evaluation form. The quantitative data was analyzed by percentage, mean, standard deviation, and dependent t-test. The qualitative data was analyzed by inductive process and content analysis. The research was designed using mixed methods with eight research steps: 1) surveying needs in problem management, 2) outlining a lifelong learning model, 3) evaluating model suitability, 4) model development, 5) try-out, 6) 2nd round model development, 7) evaluation of the activity and Thais’ desirable characteristics, and 8) dissemination. The findings revealed that: 1) lifelong learning model development included promoting teachers’ technological use and their application of research innovation to create body of knowledge in their own contexts, integrating future skills and Thais’ desirable characteristics in accordance with the royal initiatives into learning practice and organizing learning activities related to the training, and implementing professional learning community to real teaching in schools. After lifelong learning promotion activities, Thais’ desirable characteristics of the educational personnel and juveniles were enhanced resulting in higher averages before the participation at the statistical significance level of .05. 2) model development on knowledge transfer, technology, and research innovation to enhance Thais’ desirable characteristics based on royal initiatives into practices was comprised of clarifying authentic teaching problems to change beliefs and conceptual frameworks by action research, finding strategies and teaching techniques from research papers for adaptation in particular learning management, and sharing through reflection. 3) The integrative model development between future skills and lifelong learning management for training and application in teaching within schools included stimulating common experiences in the body of knowledge or new ideas appeared in educational setting by organizing the activities and analyzing learners leading to lesson plan development and active learning coached by university lecturers with fellow teachers who shared knowledge and providing suggestions and evaluation in order to reflect the outcomes as well as success, failures, or changing issues, and 4) lifelong learning relationship activity model development through professional learning community was comprised of stimulating teachers to discover problems and self-development needs related to the operation in the context of particular schools, developing required skills in accordance with lifelong learning concept for reskills/upskills, and practicing in schools along with sharing the body of knowledge as well as experiences coached by university lecturers.
Keywords
คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์; รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต; บุคลากรทางการศึกษา; เยาวชน; Thais’ Desirable Characteristics; Lifelong Learning Model; Educational Personnel; Juveniles
How to cite!
เจนศึก โพธิศาสตร์, สุรยศ ทรัพย์ประกอบ, & พัดชา ดอกไม้. (2566). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ส่งเสริมคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ของบุคลากรทางการศึกษาและเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(1), 34-54
Indexed in