วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงกรณีร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิด เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา

Development of an Instructional Model Based on Case-Based Reasoning and Reflective Thinking Approaches to Enhance Digital Media Usage Ability of Primary School Students


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา โดยใช้แนวคิดการให้เหตุผลเชิงกรณีร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิด และประเมินคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และการกำหนดองค์ประกอบของความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัล และ 2) การพัฒนาและประเมินรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสอดคล้องขององค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน และเอกสารประกอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเรียนรู้กรณีเดิม 2) ขั้นเชื่อมโยงสู่กรณีใหม่ และ 3) ขั้นลงข้อสรุปและขยายทางความคิด ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสม ระดับมาก (x = 4.44, SD. = 0.18) และผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิและการทดลองนำร่องพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนนี้สามารถนำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตรงกับแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนด โดยปรับสถานการณ์ที่นำมาใช้ให้มีความใกล้เคียงกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือความสนใจของผู้เรียนมากขึ้น การวางกรอบเวลาการปฏิบัติกิจกรรมที่ชัดเจนเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด และปรับการใช้คำให้สื่อความหมายชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้รูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมมากขึ้นอันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์

Abstract

This research aimed to develop a teaching and studying model to enhance digital media usage ability of primary school students by applying Case-based reasoning approach and Reflective thinking approaches. The quality of the teaching and learning model was done by 1) analysis of basic data to develop a teaching and learning model and identification of the components of the digital media usage ability by experts. The study instruments consisted of the congruence of the elements of the teaching and learning model and the documents. Data were analyzed using frequency and standard deviation.

The findings indicated that the teaching and learning model for digital media usage ability was composed of three stages: 1) studying current/old cases, 2) linking to new cases, and 3) summarizing and enhancing the ideas. The evaluation of the teaching and learning model revealed that the model had a high level of appropriation (x = 4.44, SD. = 0.18). The results of expert opinion and pilot study indicated that the proposed teaching and learning model could be adopted for use in a practical teaching and learning program that matched the learning achievement plan with up-to-date situations and an emphasis on the needs of the learners. Clear timeframe for activities for the purpose of completing the activities within the time available is recommended.  Wording adjustment is suggested in order to convey clear meaning for better understanding resulting in an appropriate teaching and learning model. Consequently, the digital media usage behavior of students could be properly changed for the benefits of the students.

Download in PDF (503.95 KB)

How to cite!

พรศิริ สันทัดรบ, วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า, & ยศวีร์ สายฟ้า. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงกรณีร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิด เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(2), 102-115

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in