วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

The Effects of Active Learning on The 21St Century Skills Among Mahidol University International College Students


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในชั้นเรียนของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และเปรียบเทียบการได้รับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาจากการเรียนรู้เชิงรุกด้วยวิธีที่แตกต่างกัน จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุกจากผู้สอนซึ่งเป็นอาจารย์ประจำของวิทยาลัยนานาชาติจำนวน 100 คน พบวิธีการเรียนรู้เชิงรุกหลักที่ใช้ในวิทยาลัยฯ จำนวน 8 วิธี จึงสุ่มกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยฯ ที่เรียนรู้ด้วยวิธีเชิงรุกวิธีละ 10 คน รวมจำนวน 80 คน ในแต่ละวิธีผู้วิจัยสุ่มเลือก 2 รายวิชาขึ้นมาเพื่อทำการศึกษา จากนั้นแบ่งนักศึกษาตามชั้นปีคือ ปีที่ 1 จำนวน 2 คน : ปีที่ 2 จำนวน 3 คน : ปีที่ 3 จำนวน 3 คน : ปีที่ 4 จำนวน 2 คน เพื่อประเมินตนเองเกี่ยวกับการได้รับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากรายวิชาที่จัดการเรียนรู้เชิงรุกและสอบถามระดับความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค แยกทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (.903) ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (.845) และทักษะชีวิตและอาชีพ (.939) แล้ววิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนด้วย One-way ANOVA และค่าความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบความแตกต่างของคะแนนการประเมินตนเองของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการได้รับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่แตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติ โดยวิธีการเรียนรู้โดยใช้การออกแบบเป็นฐาน วิธีการเรียนรู้แบบเน้นการเขียนสรุปความ และวิธีการเรียนรู้แบบใช้การทดลอง ได้รับคะแนนการประเมินสูงสุด ในขณะที่วิธีการเรียนรู้แบบการอภิปรายในชั้นเรียน และวิธีการเรียนรู้แบบการอภิปรายกลุ่มย่อย ได้คะแนนการประเมินน้อยที่สุดในทุกรายทักษะ นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ของระดับความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้กับคะแนนการประเมินตนเองเกี่ยวกับการได้รับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) โดยไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับผลการเรียนแต่อย่างใด

Abstract

The purpose of this study was to investigate active learning methods used by the lecturers of Mahidol University International College and to compare the level of 21st Century skills that learners received from different types of the methods. First, a hundred MUIC lecturers were asked to fill out a questionnaire about their adopted teaching methods and 8 main active learning methods emerged. Next, a sample group comprising 80 MUIC students was further divided into 10 per method to complete a self-rating survey of the level of 21st Century skills that they received from class using the active learning methods. The components of the sample for each method were 2 first-year students, 3 second-year students, 3 third-year students, and 2 fourth-year students from two random classes. The questionnaire reliability by using Cronbach’s Alpha Coefficient was .903 for Learning and Innovation skills, .845 for Information, Media and Technology skills, and .939 for Life and Career skills. The data was analyzed by using means, standard deviation, One-way ANOVA, and Pearson's Correlation.

The results revealed significant differences between the self-rating scores and the 21st Century skills that the learners received from different types of the methods. The findings showed Design-based Learning, Short Writing Exercise, and Experiment were the methods that received the highest scores for 21st century skills, while that Class Discussion, and Small Group Discussion were the methods that received the lowest scores. Additionally, there was a significant positive relationship between the satisfaction of the activities used in the learning process and the self-rating scores for the skills and (p<.01), but no relationship between the satisfaction and GPA was found.

Download in PDF (651.3 KB)

How to cite!

ดวงเดือน แสงแพร้ว, & สกล วิแก้วมรกต. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(2), 52-72

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in