วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การประเมินความพร้อมของนักศึกษาก่อนการทำปฏิบัติการฟิสิกส์พื้นฐาน สำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพโดยใช้ Socrative

The Formative Assessment of Students’ Readiness in Fundamental Physics Laboratory for Health Science by Using Socrative


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของการใช้ Socrative เป็นเครื่องมือในการประเมินความพร้อมของนักศึกษาก่อนการทำปฏิบัติการฟิสิกส์พื้นฐานสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้ Socrative กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 13 คนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาฟิสิกส์พื้นฐานสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบก่อนการทำปฏิบัติการ 10 เรื่อง เป็นแบบทดสอบปรนัยจำนวน 10 ข้อ ในแต่ละปฏิบัติการ ใน 5 ด้านคือ ด้านที่ 1 ความเข้าใจเกี่ยวกับจุดประสงค์ของการทำปฏิบัติการ ด้านที่ 2 ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการ ด้านที่ 3 ความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกแยะตัวแปรและการคำนวณ ด้านที่ 4 ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในการทดลอง และด้านที่ 5 ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกระทำกับข้อมูลและการวิเคราะห์ผลจากการทดลอง แบบสำรวจความพึงพอใจต่อการใช้ Socrative โดยแบ่งระดับความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ เป็นข้อคำถามทัศนคติเชิงบวก 10 ข้อ และข้อคำถามทัศนคติเชิงลบจำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการวิจัยพบว่า Socrative มีความเหมาะสมสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินความพร้อมของนักศึกษาก่อนการทำปฏิบัติการฟิสิกส์พื้นฐานสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ

Abstract

The purposes of this research were to study 1) the use of Socrative as a tool for formative assessment of students’ readiness in fundamental physics laboratory for health science and 2) students’ satisfaction of using Socrative. The target group consisted of 13 freshmen, enrolled in the Fundamental Physics laboratory for Health Science course in the second semester of the academic year 2020. The research instruments consisted of multiple-choice questions regarding 10 laboratories. The questionnaires towards 5 aspects comprised 1. Understanding of the experiment purposes 2. Understanding of the concepts which are related to experiments 3. Understanding of identifying the variables which must be measured and calculated 4. Understanding of the tool’s specifications and how to use it 5. Understanding of data management and analysis of the experiments. Satisfaction survey of the usefulness of Socrative is considered by 5 Likert-scale questions: 10 of which were positively phrased and 10 negatively phrased. The statistics for data analysis were percentage, average, and standard deviation. This study highlighted that Socrative serves as a suitable tool for formative assessment of students’ readiness in fundamental physics laboratory for health science.

Download in PDF (639.15 KB)

How to cite!

ชาญวิทย์ คำเจริญ, ขวัญหทัย กวดนอก, & พรพิมล แก้วฟุ้งรังษี. (2565). การประเมินความพร้อมของนักศึกษาก่อนการทำปฏิบัติการฟิสิกส์พื้นฐาน สำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพโดยใช้ Socrative. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(2), 35-51

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in