วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาความรู้ในเนื้อหาชีววิทยาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยีของนักศึกษาครูชีววิทยา ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านกรณีตัวอย่าง

Development of Biology Student Teachers’ Technological Pedagogical Biology Content Knowledge (TPACBIOK) Using The Case Method Learning Model


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาความรู้ในเนื้อหาชีววิทยาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี (TPACBIOK) ของนักศึกษาครูชีววิทยาด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านกรณีตัวอย่าง กำหนดวัตถุประสงค์วิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ผ่านกรณีตัวอย่าง 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ในเนื้อหาชีววิทยาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยีของนักศึกษาครูชีววิทยาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้ผ่านกรณีตัวอย่าง และ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่นในตนเองเกี่ยวกับ TPACBIOK ของนักศึกษาครูชีววิทยาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้ผ่านกรณีตัวอย่าง ในระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาครูชีววิทยา จำนวน 13 คน รูปแบบการพัฒนาความรู้ TPACBIOK ที่เน้นการเรียนรู้ผ่านกรณีตัวอย่าง ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ 1) กรณีตัวอย่างที่มีข้อมูลแผนการจัดการเรียนรู้และการสอนแบบจุลภาค 2) กระบวนการใช้กรณีตัวอย่าง และ 3) กระบวนการประยุกต์ใช้กรอบแนวคิด TPACBIOKเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความรู้ TPACBIOKจากแผนการจัดการเรียนรู้และการสอนแบบจุลภาค ตรวจสอบความเที่ยงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา จำนวน 15 ท่าน (IOC อยู่ในช่วง 0.73-1.00) ความเชื่อมั่นของเกณฑ์ประเมินโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่า 0.99 2) แบบประเมินความเชื่อมั่นในตนเองเกี่ยวกับ TPACBIOKและ 3) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ ข้อมูลวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบคือ Paired Sample t-Test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ในระหว่างการเรียนรู้ผ่านกรณีตัวอย่าง นักศึกษาครูชีววิทยาสามารถพัฒนาความเข้าใจในกรอบแนวคิด TPACBIOKและสามารถนำกรอบแนวคิดไปใช้วิเคราะห์จุดเด่น และจุดควรพัฒนาของกรณีตัวอย่างแต่ละกรณีได้ด้วยตนเอง ข้อมูลแบบประเมินความรู้ TPACBIOKแสดงให้เห็นว่า หลังการเรียนรู้นักศึกษาครูชีววิทยามีระดับความรู้ TPACBIOKอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนอยู่สองระดับในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับความเชื่อมั่นในตนเองเกี่ยวกับ TPACBIOKของนักศึกษาครูชีววิทยาอยู่ในระดับมากทั้งก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้ผ่านกรณีตัวอย่าง

Abstract

This research focused on developing biology student teachers’ Technological Pedagogical Biology Content Knowledge (TPACBIOK) by using the case method learning model. The research objectives were to 1) investigate learning situation during implementation of the case method learning model, 2) compare the student teachers’ understanding of TPACBIOK before and after using the model and 3) compare the teachers’ self confidence level in TPACBIOK, before and after using the model for 1 semester. The research participants were 13 biology student teachers. The development of TPACBIOK through the case method learning model consisted of 3 components which were; 1) cases; providing lesson plan and micro teaching information, 2) case method process and 3) applying TPACBIOK conceptual framework process. The research instruments consisted of 1) a TPACBIOK understanding assessment form based on the lesson plan and micro-teaching performances, validated the content by 15 science education experts (IOC = 0.73-1.00) with Cronbach’s alpha reliability coefficient of the criteria at 0.99, 2) a self-confidence assessment in TPACBIOK and 3) participant classroom observations and informal interviews. The data were analyzed by using mean, standard deviation, paired sample t-test and content analysis.

            The results of this research were as follows: during implementation of case method learning, the biology student teachers were able to establish their own understanding of TPACBIOK and using as a framework to analyze the strengths and weaknesses of the 4 cases by themselves. The data from the TPACBIOK understanding assessment form revealed that the biology student teachers’ TPACBIOK was at the highest level after using the model, with the statistically significant level of .05. In overall, it was two level higher then before using the model. Their self-confidence assessment in TPACBIOK was at very high level both before and after using the case method learning model.

Download in PDF (834.61 KB)

How to cite!

อรอุมา พันธ์เกตุ, นันทรัตน์ เครืออินทร์, & ทัศตริน วรรณเกตุศิริ. (2565). การพัฒนาความรู้ในเนื้อหาชีววิทยาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยีของนักศึกษาครูชีววิทยา ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านกรณีตัวอย่าง. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 216-240

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in