วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สำหรับนิสิตวิชาชีพครู

Development of Instructional Model Based on Active Learning to Promote the Ability to Design Social Study Learning Management for Student Teacher


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สำหรับนิสิตวิชาชีพครู และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตปริญญาตรี สาขาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการสอนเฉพาะสาขา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจรายวิชาการสอนเฉพาะสาขา 3) แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบไม่อิสระ

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น ได้แก่ เร่งเร้าการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา เรียนรู้แนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ระดมสมองออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา เปิดเผยการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ปรับปรุงการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา และประเมินผลการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา และ (4) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ 2) ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า (1) นิสิตมีความรู้ความเข้าใจรายวิชาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (2) นิสิตมีความสามารถในการคิดออกแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 3.90 (3) นิสิตมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 1.37 และ (4) นิสิตมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบที่ระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this study were 1) to develop an instructional model based on active learning concept to enhance ability of social studies learning management design for student teachers and 2) to study the effectiveness of an instructional model by the target group, 29 undergraduate students of social studies, faculty of Education at Thaksin University who have enrolled in a specific teaching course for Semester 1, Academic Year 2020, as 1 classroom. Research instruments included 1) learning management plan based on active learning concept 2) knowledge and understanding test of specific teaching 3) ability assessment of social studies learning management design and 4) student satisfaction assessment towards instructional model. Data were analyzed by using mean score, standard deviation and independent t-test.

The findings were as follows: 1) the instructional model based on active learning concept consisted of  (1) principles, (2) objectives, (3) 6 stages of instructional procedures including, stimulate social studies learning management, learn how to design social studies learning management, brainstorm the design of the social studies learning process, disclose the design of the social studies learning process, improve the design of the social studies learning process and evaluate of the design of the social studies learning process; and (4) conditions of model implementation. 2) The effectiveness of instructional model revealed that (1) students have more knowledge and understanding after studying, (2) students have ability of thinking, designing, and managing social studies learning management higher than the criterion 3.90%, (3) students have ability of writing social studies learning management plan higher than the criterion 1.37% and (4) students have satisfaction towards instructional model at the highest level.

Download in PDF (390.93 KB)

How to cite!

วิภาพรรณ พินลา, & วิภาดา พินลา. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สำหรับนิสิตวิชาชีพครู. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 155-168

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in