วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การสร้างเสริมทักษะการคิดในการจัดการเรียนการสอนวิชาวอลเลย์บอล ของนักศึกษาสาขาพลศึกษาและสุขศึกษา หลักสูตร 5 ปี

Strengthen Thinking Skills in Teaching and Learning of Volleyball for Students in the Field of Physical Education and Health Education a 5-Year Academic


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สาขาพลศึกษาและสุขศึกษา หลักสูตร 5 ปี ที่เรียนวิชาวอลเลย์บอล และเพื่อจัดทำและศึกษาผลการนำชุดฝึกทักษะเสริมสร้างการคิดในการเรียนวิชาวอลเลย์บอล ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาพลศึกษาและสุขศึกษา มหาวิทยาลัยในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 5 คน นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สาขาพลศึกษาและสุขศึกษา หลักสูตร 5 ปี ที่เรียนวิชาวอลเลย์บอล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน ได้มาจากการเจาะจงเลือก (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ระดับลึก มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) เท่ากับ 1.0  2) แบบสอบถามสภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่ควรจะเป็นมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .89 ค่าความเที่ยงตรง (IOC) เท่ากับ 0.67-1.00 การหาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI) การวิเคราะห์เมทริกซ์ (Matrix Analysis) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) 3) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ มีค่าความเชื่อมั่นท่ากับ .86 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .27-.67 ค่าความยาก-ง่ายระหว่าง .27-.80 แบบทดสอบทักษะกีฬาพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 4) แบบประเมินทักษะการคิด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 และค่าความเที่ยงตรง (IOC) เท่ากับ 0.60-0.80 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที (t-test for dependent, t-test One group)

ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการเรียนการสอนเสริมสร้างทักษะการคิดสำหรับนักศึกษา สาขาพลศึกษาและสุขศึกษา หลักสูตร 5 ปี ที่เรียนวิชาวอลเลย์บอล มีสภาพที่เป็นอยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=3.42, S.D.=0.25) มีสภาพที่ควรจะเป็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x=4.65, S.D.=0.13) มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI) ในภาพรวม =0.36 โดยด้านวัดและประเมินผลการเรียนการสอน มีความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงที่สุดเป็นลำดับแรก รองลงมาเป็นด้านการจัดหาสื่อและเลือกแหล่งการเรียนรู้ และด้านการออกแบบกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน ตามลำดับ และการวิเคราะห์เมทริกซ์ในภาพรวม อยู่ในส่วนที่ 3 คือ ผลงานไม่ดีต้องปรับปรุง  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวอลเลย์บอลของนักศึกษาสาขาพลศึกษาและสุขศึกษา หลักสูตร 5 ปี ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะเสริมสร้างการคิดในการเรียนวิชาวอลเลย์บอลสำหรับนักศึกษาสาขาพลศึกษาและสุขศึกษา หลักสูตร 5 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ด้านความรู้ความเข้าใจ และด้านทักษะกีฬาวอลเลย์บอลพื้นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (EI) มากกว่า .50 หรือร้อยละ 50  3) ทักษะในการคิดของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะเสริมสร้างการคิดในการเรียนวิชาวอลเลย์บอล สำหรับนักศึกษาสาขาพลศึกษาและสุขศึกษา หลักสูตร 5 ปี หลังเรียนอยู่ในระดับดี

Abstract

There purposes of research were 1) to study the current and desirable conditions and the need of teaching and learning for students at Yala Rajabhat University in the three southern border provinces, Physical Education and Health Education Major, 5-years curriculum who studied volleyball course, 2) to develop a set for thinking skills in volleyball and 3) to study the results of applying the skill training set to use in teaching and learning activities.

The sample group consisted of 1) teachers specializing in Physical Education and Health Education who were teaching in the universities in the three southern border provinces, total 5 people. 2) 35 students in Physical Education and Health Education Major, 5-years curriculum who studied in volleyball course in the first semester academic year 2018 and 31 students who studied in the second semester academic year 2019 obtained by (purposive sampling) tools used in research were as follows.

1) In-depth interview which had a precision value (IOC) of 1.0

2) The status quo and the expected condition questionnaire which had a confidence factor of .89, validity value (IOC) of 0.67-1.00., Indexing, Priority of Needs (PNI), Matrix Analysis, Content Analysis

3) Cognitive test - there was a confidence value between .86, a power value classified between .27-.67, a difficulty-easy value between .27-.80, a basic sports skill test with a confidence value of .84

4) Thinking skills assessment form with a confidence factor of .84 and an accuracy value (IOC) of 0.60-0.80 and

5) Satisfaction questionnaire with a .90 confidence factor, the statistics used in the analysis of the data were mean (x), standard deviation (S.D.), and t-test for dependent, t-test One group.

The results of the research were as follows;

1.) The results of assessing the need for teaching and learning to strengthen thinking skills for students majoring Physical Education and Health Education, 5-years curriculum who studied volleyball. were at a high level (x=3.42, S.D.=0.25. The overall condition should be at the highest level (x=4.65, S.D.=0.13), with the overall Necessity Priority Index (PNI) = 0.36 by the measurement and evaluation of teaching and learning results at the highest need, followed by the media procurement, the selection of learning sources, and the design aspects of the activities that were brought into the lessons respectively. And overall matrix analysis in part 3 was at the poor performance, which needed to improve.

            2) The study of Volleyball achievement of Physical Education and Health Education students for the 5-years curriculum by applying a set of skills training to enhance thinking in volleyball courses for students in Physical Education and Health Education, a 5-years curriculum at Yala Rajabhat University, cognitive and basic volleyball skills for students after study was significantly higher than before study at the .01 level. Moreover, the skill after studying was higher than the required criteria which was set at 70% at the .01 level statistically with an Effectiveness Index (EI) greater than .50 or 50 percent.

3) Thinking skill of students after studied with the Thinking Enhancement Skill Set in Volleyball Class for students in Physical Education and Health Education courses, 5 years academic was at a good level.

Download in PDF (499.61 KB)

How to cite!

มนัสภูมิ ศาสนศาสตร์ (2565). การสร้างเสริมทักษะการคิดในการจัดการเรียนการสอนวิชาวอลเลย์บอล ของนักศึกษาสาขาพลศึกษาและสุขศึกษา หลักสูตร 5 ปี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 119-137

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in