วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

พฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Ethical Behaviors among Nursing Students, School of Nursing, Rangsit University


บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายแบบเปรียบเทียบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมจริยธรรมและเปรียบเทียบพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 - 4 จำนวน 245 คน ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิโดยอิงสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษา ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ และหาความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ Kruskal – Wallis H test และสถิติ Mann Whitney U test

ผลการวิจัย พบว่า

1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมจริยธรรมโดยรวมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 มีค่าอยู่ระหว่าง 3.02 - 5.59 คะแนน (mean= 4.77 S.D.= .775) เป็นระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์ ขั้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้น 5 ยึดหลักทำตามสัญญาสังคมทำเพื่อส่วนรวม

2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมจริยธรรมรายด้านที่มีคะแนนสูงที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์ ขั้น 6 การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ยึดหลักทำตามอุดมคติสากล เป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางจริยธรรม ได้แก่ 1) ด้านเคารพสิทธิ คุณค่า ความแตกต่าง และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (mean= 5.59) และ 2) ด้านเคารพในสิทธิผลงานทางวิชาการและลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้อื่น (mean=5.40) รองลงมาเป็นพฤติกรรมจริยธรรมรายด้าน ซึ่งอยู่ในระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์ ขั้น 5 การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ยึดหลักทำตามสัญญาสังคมทำเพื่อส่วนรวม  ได้แก่ 1) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต (mean= 4.93)  2) ด้านทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพการพยาบาล (mean= 4.91)  3) ด้านตระหนักในคุณค่าวิชาชีพและสิทธิของพยาบาล (mean=4.83)  4) ด้านความรับผิดชอบ (mean=4.80) และ 5) ด้านระเบียบวินัย (mean=4.70) แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า พฤติกรรมจริยธรรมรายด้านอยู่ในระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์ ขั้น 3 การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ยึดหลักทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ คือ ด้านจิตสาธารณะ คำนึงถึงส่วนรวมและสังคม (mean=3.02)

3. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมจริยธรรมโดยรวมเปรียบเทียบระหว่างนักศึกษา 4 ชั้นปี พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สูงที่สุด รองลงมาเป็นชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 ตามลำดับ (mean=4.80; 4.78; 4.77; 4.74 ตามลำดับ) และทุกชั้นปีมีระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์ ขั้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นที่ 5 ยึดตามหลักการทำตามคำมั่นสัญญา แต่ทดสอบความแตกต่าง พบว่า ไม่แตกต่างกัน (p = .947)

4. เปรียบเทียบพฤติกรรมจริยธรรมรายด้านระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 พบว่า 1) ด้านระเบียบวินัย 2) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 3) ด้านจิตสาธารณะ คำนึงถึงส่วนรวมและสังคม 4) ด้านเคารพสิทธิ คุณค่า ความแตกต่าง และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 5) ด้านตระหนักในคุณค่าวิชาชีพและสิทธิของพยาบาล  และ 6) ด้านเคารพในสิทธิผลงานทางวิชาการและลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้อื่น ไม่แตกต่างกัน (p = .801, p = .377, p = .783, p = .556, p = .378, p = .161, ตามลำดับ) แต่พบว่า ด้านความรับผิดชอบ และด้านทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพการพยาบาล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .011, p = .021 ตามลำดับ) โดยด้านความรับผิดชอบ ชั้นปีที่ 1 สูงกว่า ชั้นปีที่ 3 (p = .003) ชั้นปีที่ 4 สูงกว่าชั้นปีที่ 3 (p = .008) และด้านทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพการพยาบาล ชั้นปีที่ 1 สูงกว่า ชั้นปีที่ 3 (p = .018) ชั้นปีที่ 1 สูงกว่าชั้นปีที 4 (p = .009)

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรพิจารณาปรับกระบวนเรียนการสอนทั้งในหลักสูตรและเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมด้านจิตสาธารณะ คำนึงถึงส่วนรวมและสังคม ให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น และควรวิจัยติดตามพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาในแต่ละชั้นปี เพื่อติดตามการคงอยู่และการพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง

Abstract

The objectives of this comparative descriptive research were to study ethical behaviors and compare ethical behaviors among the 1st to 4th year of nursing students at School of Nursing, Rangsit university. The sample was composed of 245 nursing students during the first semester of the academic year 2020 applying stratified random sampling.  The research instruments included personal data and ethical behaviors questionnaire. This research instruments were verified by research expert and got reliability of Cronbach’s alpha coefficient .88. Descriptive statistics which consisted of frequency, percentage, standard deviation and Kruskal – Wallis H test and Mann Whitney U test were used to analyze data.

The research results were as follows:

1. The total mean score of ethical behaviors among nursing students were 3.02-5.59 (mean 4.77, S.D.= .775). This mean score was on the fifth post-conventional level of the social contract and legal orientation.

2. The highest mean score of ethical behaviors aspects presented on the level sixth of ethical reasoning level; the universal-ethical principle orientation, as follows: 1) respect rights, value, different and human dignity aspect (mean=5.59) and 2) respect on academic performance rights and intellectual copy rights aspect (mean=5.40). The second highest mean score of ethical behaviors aspects showed on the fifth level of ethical reasoning; the social contract, legalistic orientation, as follows: 1) be honest aspect (mean= 4.93), 2) good nursing professional attitude aspect (mean= 4.91), 3) awareness of professional value and nurses’ rights aspect (mean=4.83),  4) responsibility aspect  (mean=4.80) and, 5) discipline aspect (mean=4.70). However, Public mind and social concern aspect represented on the third level of ethical reasoning, was the interpersonal concordance orientation (mean =3.02).

3. The highest mean scores of ethical behaviors compared among 4 years level of nursing students were respectively 1) the fourth year, 2) the first year, 3) the second year, and 4) the third year of nursing students (mean= 4.80; 4.78; 4.77; 4.74 respectively). All of the nursing students were on the fifth level of ethical reasoning of the social contract, legalistic orientation. However, there were not different in statistical test (p = .947).

4. The comparison results of ethical behaviors among nursing students on the first year to the fourth year found that 1) Discipline aspect 2) Be honest aspect 3) Public mind and social concern aspect 4) Respect rights, value, different and human dignity aspect 5) Awareness of professional value  and nurses’ rights aspect and 6) Respect on academic performance rights and  intellectual copy rights aspect were not different. (p = .801, p = .377, p = .783, p = .556, p = .378, p = .161, respectively). However, responsibility aspect and good nursing professional attitude aspect were significantly different (p= .011, p = .021, respectively). For comparison among nursing students, the first year had significantly   higher responsibility aspect than the third year (p = .003), and the fourth year had significantly higher responsibility aspect than the third year (p = .008). Also, the good nursing professional attitude aspect, the first year had significantly higher than the third year and the fourth year (p = .018, p = .009 respectively).

For research recommendations, this study should be adjusted both of learning processes and the extra-curriculum activities for enhancing public mind and social concern aspect. The next research project should continuously monitor ethical behaviors among nursing students to maintain and develop the sustainable ethical behaviors.

Download in PDF (506.43 KB)

How to cite!

นภัสกรณ์ วิทูรเมธา, วารินทร์ บินโฮเซ็น, & วิลาวรรณ เทียนทอง. (2565). พฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 83-101

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in