กระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงบวกของนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา
Development Process on Positive Identity of The Disabled Students in Higher Education Institutions
บทคัดย่อ
การศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงบวกของนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษามีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงบวกของนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา และเพื่อวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงบวกของนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาอัตลักษณ์ของนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษากับกลุ่มนักศึกษาพิการที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด 6 แห่ง จำนวน 367 คน โดยใช้แบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 2 ทำการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงบวกของนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษาด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม คือนักศึกษาพิการที่มีอัตลักษณเชิงบวกและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) และขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงบวกของนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษาด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) โดยใช้การหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) และหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analytical Induction) ผลการศึกษาพบว่า
- นักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ คือจำนวนร้อยละ 75.00 ของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นผู้มีอัตลักษณ์เชิงบวก โดยในจำนวนนี้แบ่งออกเป็นนักศึกษาพิการที่มีอัตลักษณ์ในระดับดีมาก ร้อยละ 18.75 และนักศึกษาพิการที่มีอัตลักษณ์ในระดับดี ร้อยละ 56.25 และพบว่าไม่มีนักศึกษาพิการที่มีอัตลักษณ์ในระดับน้อยและระดับน้อยที่สุด เมื่อวิเคราะห์ตามแนวคิดของ Jennifer Gibson (2006) เกี่ยวกับอัตลักษณ์คนพิการ 3 ขั้น พบว่ามีนักศึกษาพิการมีอัตลักษณ์อยู่ในขั้นที่ 3 ยอมรับและเข้าใจในความพิการของตนเอง (Acceptance Stage) มากที่สุด
- ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงบวกของนักศึกษาพิการ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือปัจจัยภายใน ได้แก่ ประเภทความพิการ ระดับความพิการ อายุที่ได้รับความพิการ สาเหตุของความพิการและประสบการณ์ในชีวิตที่ได้รับ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ วิธีการเลี้ยงดูจากครอบครัว รูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับ ระบบความช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษา สวัสดิการและความช่วยเหลือจากรัฐและหน่วยงานต่าง ๆ และแนวคิดการพัฒนาอัตลักษณ์คนพิการ (Disability Identity Development Model) ของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
- กระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงบวกของนักศึกษาพิการเป็นกระบวนการต่อเนื่องโดยมีช่วงพัฒนาการสำคัญ 2 ระยะ คือระยะการพัฒนา “แก่นของอัตลักษณ์ (Core Identity)”คือช่วงอายุ 13-19 ปี และระยะการเสริมสร้าง “ความแข็งแกร่งของอัตลักษณ์" คือช่วงอายุ 20-24 ปี โดยมีกระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงบวก 5 ขั้น คือขั้นที่ 1 ค้นหาบทบาททางสังคมของตนเอง ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน ขั้นที่ 3 ผสานตนเองกับสังคมกลุ่มเล็กที่ใกล้ชิดที่สุด ขั้นที่ 4 ขยายตัวสู่สังคมกลุ่มใหญ่และกว้างขึ้น และขั้นที่ 5 เห็นคุณค่าในตนเองและมีจิตสำนึกที่ต้องการทำประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น
Abstract
The objectives of the study on the development process on positive identity of the disabled students in higher education institutes are to study the identity of the disabled students in higher education institutes, to study the factors that affect the development on positive identity of the students with disabilities and to analyze the development process on positive identity of the disabled students in higher education institutes. The research is divided into 3 steps. The 1st step is to study the identity of the disabled students in Thai higher education institutes by using the questionnaires on the group of 367 disabled students currently studying in 6 higher education institutes. After that, the 2nd step is to study the factors that affect the identity of the disabled students by using the semi-structured interview. There are 2 groups of key informants consisting of the disabled students with positive identity. And The 3rd step is to analyze the development process on positive identity of the disabled students in higher education institutes by using the focus group discussion. The statistical measurements for analyzing the quantitative data are frequency, percentage, mean and standard deviation. Analytic induction method will be used to analyze the qualitative data. The research results reveal as follows.
- The disabled students in most of higher education institutes which are 75.00 percent of the questionnaire respondents are the persons with positive identity. Among these, 18.75% of the disabled students have identity at very good level, 56.25% of the disabled students have identity at good level. No disabled student is found to have the identity at the poor and the poorest level. When analyzing the results following the concept of Jennifer Gibson (2006) about the identity of the disabled in 3 stages, it is found that most of the disabled students have the identity in the 3rd stage which is the Acceptance Stage.
- Factors related to the development on positive identity of the students with disabilities are divided into 2 parts. The internal factors are, for example, disability type, disability level, age of being disabled, causes of disability, and received experience in life. The external factors include methods of raising by family, received basic education forms, system of assistance and learning support in higher education institutes, welfares and assistance from the government and various agencies, and the concept of Disability Identity Development Model of the involving persons.
- The development process on the positive identity of the disabled students is an ongoing process with two important development stages. The development phase of "Core Identity" is between the ages of 13-19 years and the development phase of "Strength of identity" is between the ages of 20-24 years. There are 5 stages of positive identity development; Step 1: Find your own social roles, Step 2: Understand your roles, Step 3: Merge yourself with the smallest and closest society, Step 4: Expand into a larger and broader society, and Step 5: Have self-esteem and consciousness to benefit oneself and the others.
Keywords
อัตลักษณ์ ; อัตลักษณ์คนพิการ ; อัตลักษณ์เชิงบวก ; นักศึกษาพิการ ; ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ; Identity; Disability Identity; Positive Identity; Disabled Students; Related Factors
How to cite!
รัตนลักษณ์ มณีรัตนโชติวงศ์, & จรูญศรี มาดิลกโกวิท. (2564). กระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงบวกของนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(2), 186-200
Indexed in