วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ความรู้และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลเด็กของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพเด็ก 2

Knowledge and pediatric nursing practice skills among nursing students of Child Health Nursing Practicum 2


บทคัดย่อ

การวิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบความรู้การปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดแนวทางการเรียนรู้วิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพเด็ก 2 และประเมินทักษะการปฏิบัติการพยาบาลภายหลังการฝึกปฏิบัติงาน รวมทั้งประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน โดยศึกษาจากนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 จำนวน 134 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบประเมินการสอบ OSCE และแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติที (paired t-test) เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ก่อนกับหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.001 การสอบ OSCE มีค่าคะแนนผ่านมากกว่าร้อยละ 60  มีความพึงพอใจมากที่สุดในเรื่องกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ และช่วยให้มีการพัฒนาทักษะทางการพยาบาลเด็ก

Abstract

The classroom research employed the quasi-experimental one group pretest-posttest design, aimed to compare the knowledge and pediatric nursing practice skills, prior to the pediatric nursing practice subject and accomplished practice program. The objective structured clinical examination (OSCE) was used to assess the pediatric nursing practice skills. The students’ satisfaction was inquired to evaluate the teaching process. They were 134, 3rd year nursing students who enrolled in a pediatric nursing practice subject and participated in the study. There were three research tools consisting of 1. the pediatric nursing knowledge pre-posttest, 2. OSCE test and 3. the student’s satisfaction. The data were analysed by the descriptive statistic consisting of frequency, percentage, mean and standard deviation. The paired T-test dependence was analyzed as the mean difference of pediatric nursing knowledge. The qualitative data were analysed by content analysis. Results showed that the effectiveness of pediatric nursing practice knowledge were significantly different between pre and posttest at p ‹ .001 level. All students passed the OSCE over 60%. The students’ satisfaction in the learning and teaching process revealed that the highest items were teaching and learning activities which can promote learning and helping to develop pediatric nursing skills.

Download in PDF (482.29 KB)

How to cite!

แก้วกาญจน์ เสือรัมย์, จุฑามาศ พายจะโปะ, & จุฬาภรณ์ ตั้งภักดี. (2564). ความรู้และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลเด็กของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพเด็ก 2. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(2), 47-64

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in